ถอดรหัส... ข้อควรรู้ก่อนซื้อขาย DW

DW มีมากมายหลายรูปแบบ การจะใช้ DW ให้เกิดประโยชน์และเหมาะกับเรามากที่สุด ก็ต้องรู้จัก DW ในแต่ละแบบกันก่อน สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นเทรด DW เราลองมาทำความเข้าใจ “ข้อควรรู้ก่อนซื้อขาย DW” กันดีกว่า 

DW คืออะไร

DW (Derivative Warrants) หรือ “ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” คือ เครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่งที่เราสามารถซื้อขายในกระดานหุ้นได้ เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง โดยราคาของ DW จะวิ่งขึ้นลงตามราคาหุ้นหรือดัชนีอ้างอิง (เรียกรวมกันว่า “สินค้าอ้างอิง”) จุดเด่นของ DW คือ ใช้เงินเริ่มต้นไม่มาก ใช้ได้ทั้งในการเก็งกำไรและบริหารความเสี่ยง 

DW มีกี่ประเภท? และมีสินค้าอ้างอิงอะไรบ้าง?

DW แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

img-dw-1-01
Call DW คือ สิทธิในการซื้อหุ้นอ้างอิงในอนาคต
ใช้สำหรับสร้างผลตอบแทนในช่วงตลาดขาขึ้น
img-dw-1-02
Put DW คือ สิทธิในการขายหุ้นอ้างอิงในอนาคต
ใช้สำหรับสร้างผลตอบแทนหรือป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตในช่วงตลาดขาลง

ซึ่งเราสามารถเลือกว่าจะซื้อในฝั่งซื้อ (Call) หรือฝั่งขาย (Put) ก็ได้ ตามการคาดการณ์ราคาของสินค้าอ้างอิง
โดยมีสินค้าอ้างอิง 3 ประเภท ได้แก่

ic-checkหุ้นไทย
หุ้นในดัชนี SET50 และหุ้นในดัชนี SET100 ที่อยู่ในรายชื่อของหลักทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงของ DW ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศกำหนด
ic-checkดัชนีหุ้นไทย
SET Index / SET50 Index / SET100 Index / SETHD Index และดัชนีราคากลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ
ic-checkดัชนีหุ้นต่างประเทศ
เช่น Hang Seng Index (HSI), S&P 500 Index (SPX) และดัชนีดาวโจนส์ (DJI) ของสหรัฐฯ 

สัญลักษณ์ที่ใช้ซื้อขาย DW

ในการซื้อหรือขาย DW แต่ละครั้ง เราต้องเจอกับตัวเลขรหัสบนกระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่อาจสร้างความสับสน ทั้งที่จริงรหัสเหล่านั้นมีความสำคัญกับการซื้อขาย DW มาก เพราะนอกจากจะบอกว่าใครเป็นผู้ออก DW นั้นแล้ว ยังบอกถึงเดือนสุดท้ายที่ DW นั้นจะมีอายุเหลืออยู่ด้วย

เลขรหัสที่ว่านั้น... ก็คือ “สัญลักษณ์หรือชื่อย่อของ DW” นั่นเอง โดยสิ่งที่แสดงในสัญลักษณ์ของ DW ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ

img-dw-1-04

img-dw-1-05   หมายถึง ตัวย่อที่ใช้แทนหุ้นหรือดัชนีที่ DW นั้นใช้อ้างอิง

 

img-dw-1-06   หมายถึง หมายเลขของโบรกเกอร์ผู้ออก DW นั้นๆ

 

img-dw-1-07   หมายถึง ประเภทของ DW โดย C คือ Call และ P คือ Put

 

img-dw-1-08  หมายถึง ปีและเดือนที่ DW นั้นจะหมดอายุ

 

img-dw-1-09   หมายถึง รุ่นของ DW นั้น โดยเรียง A-Z

การจะเทรด DW ต้องสังเกตรหัสของ DW ให้ดี เพราะหากซื้อพลาดไป ดันไปซื้อขายเอาตอนเดือนสุดท้ายของ DW นั้น อาจเกิดความเสี่ยงและความเสียหายตามมา นอกจากนี้ DW แต่ละรุ่นของผู้ออกแต่ละค่าย ทำมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน ก่อนการซื้อขายเราจึงต้องดูมูลค่าและลักษณะของ DW ที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ของเรา เช่น ถือเพื่อเล่นสั้น หรือซื้อเพื่อลงทุนระยะกลางถึงยาว!!

แล้ว DW กับ Warrant ต่างกันอย่างไร?

คำถามยอดฮิตที่หลายคนอยากรู้ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนจะสับสน เพราะทั้ง DW และ Warrant ต่างก็เป็น เครื่องมือลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงและใช้เงินลงทุนต่ำเหมือนกัน ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่สำคัญของทางเลือกลงทุนประเภทนี้ แต่ DW และ Warrant ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถสรุปความแตกต่างระหว่าง DW และ Warrant
ได้ตามนี้ 

img-dw-1-10
1
ผู้ออก

• DW
ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์หรือที่เรียกว่า “โบรกเกอร์” หลากหลายค่ายที่เรารู้จักกันดี โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มทางเลือกในการสร้างผลตอบแทน และบริหารความเสี่ยงให้กับพอร์ตของนักลงทุน
• Warrant
ออกโดย “บริษัทจดทะเบียน” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือระดมทุนจากนักลงทุนและนำเงินทุนไปใช้ในการขยายกิจการ

img-dw-1-11
2
ประเภทของสิทธิ

• DW
จะให้สิทธิในการซื้อ (Call DW) และสิทธิในการขาย (Put DW) ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกและสามารถเก็งกำไรในสินค้าอ้างอิงได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
• Warrant
จะมีเพียงสิทธิในการซื้อ (Call) ให้เลือกลงทุนเท่านั้น

img-dw-1-12
3
สินค้าอ้างอิง

• DW
จะมีความหลากหลายของสินค้าอ้างอิงมากกว่า Warrant คือ มีตั้งแต่หุ้นไทย (แต่จำกัดเฉพาะหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET100) ดัชนีหุ้นไทย และดัชนีหุ้นต่างประเทศ
• Warrant
จะมีสินค้าอ้างอิงเป็นหุ้นไทยเท่านั้น โดยไม่จำกัดว่าต้องซื้อขายอยู่ในดัชนี SET100

img-dw-1-13
4
สัญลักษณ์ที่ใช้ซื้อขาย

• DW
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการซื้อขาย DW จะมี 12 ตัวอักษร ซึ่งจะสะท้อนถึงชื่อสินค้าอ้างอิง บริษัทผู้ออก ประเภทของ DW วันครบกำหนดอายุ และรุ่นของ DW
• Warrant
จะมีแค่ 4-8 ตัวอักษร ที่บอกชื่อสินค้าอ้างอิง และรุ่นของ Warrant ที่ออก

img-dw-1-14
5
การส่งมอบสินค้าอ้างอิง

การส่งมอบและชำระราคาเมื่อถึงวันครบกำหนดอายุมีความแตกต่างกัน 
• DW

จะมีการส่งมอบเป็นเงินสดส่วนต่างระหว่างราคาสินค้าอ้างอิงกับราคาใช้สิทธิ
• Warrant
จะเป็นการชำระเงินสดและส่งมอบหุ้นจริงๆ

img-dw-1-15
6
ผู้ดูแลสภาพคล่อง

สภาพคล่องเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน
• DW

จะกำหนดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ทำหน้าที่ในการดูแลราคา และรับซื้อ-ขาย DW ในราคาที่เหมาะสม เพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขาย DW ได้ตลอดเวลาทำการ
• Warrant
ไม่ได้มีข้อกำหนดให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง