เมื่อพูดถึง DW ต้องยอมรับว่า... นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้ DW เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไร ทั้งตลาดหุ้นขาขึ้นและขาลง แต่ความจริงแล้ว DW มีประโยชน์มากกว่านั้น โดย DW สามารถใช้ในการบริหารความเสี่ยง เพื่อลดผลกระทบของพอร์ตลงทุนในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนได้ด้วย
มูลค่าของ DW เป็นสิ่งที่นักลงทุนดูเพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนใน DW ว่าควรจะซื้อ-ถือ- หรือขาย ซึ่งราคาของ DW จะเคลื่อนไหวตามราคาของสินค้าอ้างอิง
มูลค่าของ DW ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
ในการซื้อขาย DW เราจะได้ผลตอบแทนจากราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอัตราทด (Gearing) ของ DW นั้นๆ นอกจากความเสี่ยงในเรื่องของค่าเสื่อมทางเวลา (Time Decay) ที่ต้องติดตาม
ยังมีความเสี่ยงที่ควรคำนึงถึงก่อนลงทุนใน DW ได้แก่
DW มีอายุจำกัด
และมูลค่าทางเวลาจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงวันใกล้ครบกำหนดอายุ
Price Risk
ความเสี่ยงจากความผันผวนราคาของ DW เปลี่ยนแปลงได้จากปัจจัยหลายประการรวมทั้งความต้องการซื้อ-ขาย DW ในตลาด ซึ่งผู้ออกสามารถออก DW เพิ่มเติม หรือทยอยเสนอขาย DW ในตลาดได้ผ่านระบบ Direct Listing
Gearing Risk
เนื่องจาก DW มีอัตราทด (Gearing) ซึ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงราคาของ DW เปลี่ยนแปลงได้มากกว่าราคาของสินค้าอ้างอิง และส่งผลให้นักลงทุนมีโอกาสกำไรหรือขาดทุนในอัตรามากกว่าการลงทุนในสินค้าอ้างอิงโดยตรง
Liquidity Risk
สภาพคล่องของ DW ขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อ-ขาย DW ในตลาด และความสามารถในการรักษาสภาพคล่องของผู้ดูแลสภาพคล่อง รวมถึงข้อกำหนดในการดูแลสภาพคล่องของผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) แต่ละราย นักลงทุนควรซื้อขาย DW ในปริมาณที่เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณ Bid และ Offer ณ เวลานั้นๆ ตลอดจนศึกษาแนวทางการดูแลสภาพคล่องและข้อจำกัดต่างๆ ประกอบกัน
ดังนั้น การจะเทรด DW เราต้องเข้าใจความเสี่ยง รวมถึงความคาดหวังของกำไร เพื่อให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการเทรด ที่สำคัญ... ต้องรู้จักการควบคุมเงินหน้าตัก (Money Management) ให้ดี และทุกครั้งที่ผิดทาง ต้องรู้จัก Cut Loss เพื่อป้องกันความเสียหายด้วย