โดยเฉพาะการเลือกกลยุทธ์หรือวิธีการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะแม้จะวางแผนมาดีขนาดไหน แต่หากเลือกวิธีการลงทุนที่ไม่เหมาะกับสไตล์การลงทุนของตนเอง ก็อาจไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งวิธีการลงทุนในหุ้นมีหลายรูปแบบ
อย่างนักลงทุนที่เน้นการจับจังหวะการลงทุน หรือเล่นหุ้นเป็นรอบ อาจใช้เทคนิคการจับทิศทางตลาด หรือ Market Timing ซื้อขายหุ้นเป็นรอบตามกราฟเทคนิคหรือนักลงทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี เติบโตสม่ำเสมอ ลงทุนระยะยาวแบบสะสมไปเรื่อยๆ และเพิ่มเงินลงทุนใหม่เข้าไปทุกเดือน โดยไม่สนใจว่าหุ้นจะราคาเท่าไหร่ ก็อาจใช้กลยุทธ์แบบ DCA (Dollar-cost Averaging)
แล้วลงทุนด้วยเงินก้อนครั้งเดียวแบบ Market Timing VS ลงทุนสม่ำเสมอแบบ DCA ... เลือกแบบไหนดีนะ?
เราลองมาทำความเข้าใจลักษณะสำคัญของการลงทุนแบบ Market Timing และ DCA กันดีกว่า เผื่อจะช่วยให้เราตัดสินใจลงทุนได้เหมาะกับไลฟ์สไตล์มากขึ้น
เป็นการลงทุนโดยเน้นจับจังหวะตลาด ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์เศรษฐกิจมาประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยต้องการจะซื้อหุ้นให้ได้ในราคาที่ถูกที่สุด และขายในราคาที่แพงที่สุด
Market Timing เหมาะกับนักลงทุนที่
• วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและภาวะเศรษฐกิจได้ดี
• มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค
• มีเงินก้อนและรอคอยเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนได้
ส่วน การลงทุนสม่ำเสมอแบบ DCA (Dollar Cost Average) เป็นการ “ซื้อหุ้นด้วยจำนวนเงินที่เท่าๆ กันทุกเดือน โดยไม่สนใจว่าหุ้นราคาเท่าไหร่” ซึ่งจะทำให้ได้ราคาต้นทุนแบบถัวเฉลี่ย จึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว แม้ว่าจะไม่ได้กำไรสูงสุด แต่ก็ไม่มีทางขาดทุนแบบกู่ไม่กลับ
DCA เหมาะกับนักลงทุนที่
• มีวินัยในการลงทุน
• มีเงินเริ่มต้นลงทุนไม่มาก
• ไม่มีเวลาในการติดตามข่าวสารการลงทุน
รู้แบบนี้แล้ว... ก็ลองไปชั่งใจ และเลือกดูว่าการลงทุนแบบ Market Timing หรือ DCA เหมาะกับเรามากกว่ากัน โดยการลงทุนแบบ Market Timing มีโอกาส “สร้างผลตอบแทนได้มากกว่า” การลงทุนแบบ DCA แต่ผู้ลงทุนต้องสามารถจับจังหวะลงทุนได้เบื้องต้น ส่วนการลงทุนแบบ DCA แม้จะ “ได้ผลตอบแทนน้อยกว่า” แต่ก็แลกกับการถัวเฉลี่ยความเสี่ยงในการจับจังหวะลงทุนผิดได้ หากพิจารณาแล้วว่าการลงทุนแบบไหนเหมาะสมกับตนเอง ก็อย่าลืม... หาความรู้เติมความมั่นใจก่อนการลงทุนด้วย
นอกเหนือจากเลือกวิธีการลงทุนที่เหมาะกับตนเองแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่นักลงทุนไม่ควรละเลย เมื่อเลือกหุ้นผิดตัว หุ้นไปผิดทาง หรือเริ่มที่จะขาดทุนหนักมากขึ้น คือ เราต้องทบทวนปัจจัยพื้นฐานของหุ้น และอาจเลือกใช้วิธีการ Stop Loss
เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยกำหนดเงื่อนไขในการหยุดขาดทุน
เช่น หากราคาหุ้นลดลงมา 10% หรือ 15% จากราคาที่ซื้อ หรือหากหลุดสัญญาณเทคนิคที่เราเฝ้าสังเกตการณ์ ก็ขายหุ้นออกทันที เพียงเท่านี้... เราก็จะสามารถลงทุนเพื่อเป้าหมายในระยะยาวได้อย่างมีความสุขแล้ว