ติดตามผลการดำเนินงานของกองทุน

“จะตรวจสอบผลการดำเนินงานของกองทุนอย่างไรดี?”

“จะตรวจสอบผลการดำเนินงานของกองทุนอย่างไรดี?”

หลังจากซื้อกองทุนไปแล้ว หลายคนคิดว่ามีมืออาชีพคอยดูแลการลงทุนให้ เลยไม่เคยกลับมาติดตามผลการดำเนินงานของกองทุน ไม่เคยรู้ว่ากองทุนสร้างผลตอบแทนได้อย่างที่เราคาดหวังหรือไม่ จะกลับมาเจอกันอีกทีก็ตอนที่จะขายกองทุนนั่นแหละ 

ใครที่เลือกกองทุนได้ดี ได้กำไรจากการลงทุน ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ใครที่เลือกกองทุนตามเค้าบอกมา หากขาดทุนยับ คงน่าเสียดายแย่ ซึ่งการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสขาดทุน แถมยังสามารถซื้อกองทุนเพิ่มเติม เมื่อเห็นโอกาสทำกำไรได้ ซึ่งปัจจุบันการติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนทำได้ง่ายมากจากหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น หรือรายงานผลการดำเนินงานที่ บลจ. ส่งให้กับผู้ลงทุน 

แต่ไม่ว่าผลการดำเนินงานของกองทุนจะเป็น “บวก” หรือ “ลบ” ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า บลจ. นั้นเก่งหรือไม่เก่ง เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาด้วย เช่น สภาวะการลงทุนในตลาดทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนเห็นภาพชัดขึ้น ว่า บลจ. นั้นมีฝีมือใช้ได้หรือไม่
คือ การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนนั้นๆ กับ

วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนเห็นภาพชัดขึ้น ว่า บลจ. นั้นมีฝีมือใช้ได้หรือไม่ คือ การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนนั้นๆ กับ

img-fund-5-01

ดัชนีมาตรฐาน (Benchmark)

img-fund-5-03

อัตราผลตอบแทนของกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์ และนโยบายการลงทุนคล้ายกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน (Peer Performance)

img-fund-5-04

หากกองทุนทำผลตอบแทนได้ดีกว่า Benchmark เช่น SET Index ปิดบวกที่ 10% แต่กองทุนหุ้นที่เราถืออยู่ได้ผลตอบแทนมากกว่า คือ 15% ก็แสดงว่าผู้จัดการกองทุนสามารถเอาชนะ Benchmark ได้ และหากเอาชนะได้บ่อยๆ หรือว่าชนะได้อย่างสม่ำเสมอ แสดงว่าเราได้กองทุนที่ดีมาอยู่ในมือแล้ว 

ในทางตรงข้าม หากกองทุนที่เราถืออยู่ได้ผลตอบแทนน้อยกว่า 10% ก็แปลว่าฝีมือของผู้จัดการกองทุนยังไม่เก่งเท่าไหร่ บริหารกองทุนแพ้ Benchmark ... ให้หมายหัวไว้ก่อน อย่าเพิ่งรีบร้อนขายทันที

จากนั้นอาจลองเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ที่มีนโยบายคล้ายกันว่ามีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร หากกองทุนที่เราถืออยู่เป็นกองทุนผู้นำที่มักจะติด Top10 หรือ Top20 อยู่บ่อยๆ แสดงว่ากองทุนทำผลตอบแทนได้ดีอย่างสม่ำเสมอ 

แต่หากพิจารณาดูแล้ว มีกองอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า สม่ำเสมอกว่า แถมยังชนะ Benchmark บ่อยครั้งกว่า เราก็อาจเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนนั้นได้เช่นกัน แต่อย่าลืมคำนึงถึง “ค่าธรรมเนียม” ในการซื้อขายเปลี่ยนกองทุนไปมาด้วย เพราะถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ


ฝากทิ้งท้ายเอาไว้ การติดตามผลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ควรถี่เกินไปจนกลายเป็นความวิตกกังวล ทางที่ดี... ควรติดตามทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี หรือเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติที่จะกระทบกับผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนในระยะยาว

จำให้ขึ้นใจว่า... “การตัดสินใจขายกองทุนรวมบ่อยๆ” นอกจากจะเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนได้แสดงฝีมือแล้ว ยังทำให้เราต้องเสียค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายกองทุน บ่อยๆ โดยไม่จำเป็นอีกด้วย