หากเอ่ยถึง “หุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท” เข้าใจกันดีว่า... เป็นหุ้นราคาถูก บริษัทขนาดเล็ก มาร์เก็ตแคปไม่มาก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสนามการลงทุนของนักลงทุนรายย่อย รวมถึงนักลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่สูง เนื่องจากการซื้อขายแต่ละครั้งจะใช้เงินจำนวนไม่มาก และสังเกตได้ว่ามักมีการซื้อขายในระยะสั้นๆ หรือลักษณะเก็งกำไร
ด้วยเหตุนี้ ทำให้หุ้นราคาต่ำ 10 บาท มีความคึกคักในการซื้อขาย เพราะนักลงทุนพร้อมขายทำกำไร แล้วไปหาหุ้นที่มีราคาต่ำตัวอื่นๆ ลงทุนต่อ แถมหุ้นบางตัวมักจะได้รับความสนใจแค่บางช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วงที่มีกระแสข่าว ทำให้การซื้อขายคึกคักและสร้างสีสันได้ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งการซื้อขายในแต่ละครั้งจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์กราฟเทคนิคเข้าช่วยในการตัดสินใจลงทุน
เป้าหมายของนักลงทุนในหุ้นที่มีราคาต่ำ คือ การทำกำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain) ด้วยการซื้อราคาถูกและรอจังหวะขายเมื่อราคาปรับขึ้น ซึ่งเมื่อคิดเป็นอัตราการเพิ่มของราคาจะสูงมาก
ตัวอย่างเช่น ซื้อหุ้น BAC ราคา 2 บาท สัปดาห์ถัดมาราคาหุ้นปรับขึ้นไป 3 บาท หากขายทำกำไรก็จะได้ผลตอบแทน 1 บาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรถึง 50%
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนไม่ควรเหมารวมว่า... หุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาททุกตัว เป็นหุ้นที่เหมาะกับการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น ยังมีหุ้นที่มีราคาต่ำกว่า 10 บาท หลายตัวมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีแนวโน้มการเติบโตด้านการดำเนินธุรกิจที่สดใส และมีความสามารถในการสร้างผลกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่อง และสามารถลงทุนในระยะยาวได้
อัตรากำไรสุทธิ... กำไรขั้นสุดท้ายที่บริษัททำได้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาหุ้นที่จะปรับขึ้นไปได้นั้น ต้องมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และปัจจัยสำคัญที่สะท้อนได้ชัดเจนที่สุด ก็คือ กำไรสุทธิควรเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเมื่อกำไรเติบโต “อัตรากำไรสุทธิ” ก็ควรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือในช่วงวิกฤติ (เช่น วิกฤติ COVID-19) อัตราดังกล่าวปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงภาวะปกติ
โดยอัตรากำไรสุทธิ จะเป็นการเทียบระหว่างผลกำไรสุทธิกับยอดขาย ซึ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไร รวมไปถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความสามารถของทีมผู้บริหาร
หากอัตรากำไรสุทธิอยู่ในระดับสูง แสดงว่า... ความสามารถในการดำเนินงานและสินค้าของบริษัทมีคุณภาพสูง ขายแล้วได้กำไรดี แต่หากอยู่ในระดับต่ำ อาจแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีปัญหาด้านการดำเนินงาน เช่น ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ หรือมีการแข่งขันสูง จึงไม่สามารถเพิ่มราคาขายในตลาดได้
ตัวอย่างเช่น ปี 2562 บริษัท XYZ มียอดขาย 250,000 บาท กำไรสุทธิ 50,000 บาท จะมีอัตรากำไรสุทธิ 20% หมายความว่า ทุกการลงทุน 100 บาท บริษัท XYZ จะทำกำไรได้ 20 บาท
จากนั้นก็นำอัตราส่วนนี้ไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน เพื่อดูว่าบริษัทใดมีประสิทธิภาพในการทำธุรกิจมากกว่า
ROE... อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ การเลือกหุ้นที่น่าลงทุน ควรเลือกหุ้นที่มีความสามารถในการทำกำไรมากกว่าบริษัทคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน ด้วยการใช้อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) มาช่วยในการพิจารณา
ROE หรือ Return on Equity เป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารงาน เพื่อให้เกิดผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ช่วยบอกนักลงทุนให้ทราบว่าบริษัทใดเป็นเครื่องจักรทำเงิน
ประโยชน์ของ ROE จะอธิบายว่าเงิน 1 บาทของผู้ถือหุ้น บริษัทนำไปทำธุรกิจแล้วทำให้เป็นกำไรได้กี่บาท ยิ่งสร้างกำไรได้มากก็ยิ่งดี แสดงว่าผู้บริหารมีความสามารถในการจัดสรรเงินลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้ผู้ถือหุ้นได้
ตัวอย่างเช่น ปี 2562 บริษัท BAC มีกำไรสุทธิ 150,000 บาท มีสินทรัพย์รวม 300,000 บาท และมีหนี้สินรวม 20,000 บาท
ส่วนของผู้ถือหุ้น = สินทรัพย์รวม – มีหนี้สินรวม
= 300,000 – 20,000 = 280,000 บาท
ROE = (กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้น) × 100
= (150,000 / 280,000) × 100 = 54%
หมายความว่า... บริษัท BAC สามารถใช้ส่วนของผู้ถือหุ้น 100 บาท ในการทำกำไรได้ 54 บาท
หาก ROE เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หมายความว่า บริษัทมีความสามารถในการบริหารจัดการและทำกำไรจากส่วนของผู้ถือหุ้นได้ดี แต่หาก ROE ปรับลดลง อาจสะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารเงินลงทุนที่ลดลง
Dividend Yield... อัตราเงินปันผลตอบแทน
นอกจากอัตรากำไรสุทธิและอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) แล้ว นักลงทุนควรดูความสม่ำเสมอของ “อัตราเงินปันผลตอบแทน” (Dividend Yield) ด้วย โดยเราสามารถเลือกได้ว่าต้องการลงทุนในบริษัทที่ให้อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ระดับใดต่อปี เช่น 5% 8% หรือ 10% เป็นต้น
หากลองคัดเลือกหุ้นประเภทเล็กพริกขี้หนูที่มีราคาซื้อขายไม่เกิน 10 บาท (ข้อมูล ณ 18 ธันวาคม 2563) โดยตั้งเงื่อนไขว่า... กำไรสุทธิต้องเป็นบวกตลอด (ห้ามขาดทุนสุทธิ) ในรอบ 5 ปีล่าสุด (ปี 2558 – 2562) อัตรากำไรสุทธิควรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือในช่วงวิกฤติควรปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงภาวะปกติ รวมไปถึงอัตราเงินปันผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 5% ในรอบ 5 ปีล่าสุด (ปี 2558 – 2562) และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นตลอด 5 ปีล่าสุด (2558 – 2562) ต้องทำได้ไม่ต่ำกว่า 15% จะได้รายชื่อหุ้นผู้เข้ารอบจำนวน 2 หุ้นด้วยกัน ดังนี้
เงื่อนไขในการคัดกรอง
สำหรับใครที่สนใจอยากคัดกรอง “เล็กพริกขี้หนู” ด้วยตนเอง ลองเข้าไปที่เว็บไซต์ www.setsmart.com ซึ่งตอนนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดโอกาสให้เราได้ทดลองใช้งาน SETSMART ฟรี 15 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงแค่สมัครเป็นสมาชิก SET Member เท่านั้น และหากใครที่ต้องการใช้ต่อ ค่าใช้จ่ายก็ถูกมากๆ แค่ 250 บาทต่อเดือน ซึ่งเมื่อเทียบกับข้อมูลที่จะได้รับ เช่น ภาวะการซื้อขาย เทรนด์นักลงทุนต่างชาติ หรือข้อมูลหุ้น อนุพันธ์ และกองทุนรวม ครบจบในเว็บเดียว ก็ถือว่าคุ้มค่ามากเลย!!!
หรือใครที่สนใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น และกำลังมองหาโอกาส แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม ผ่าน e-Learning หลักสูตร “ลงทุนหุ้นฉบับมือใหม่” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน