ช่วงต้นปี ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องเตรียมข้อมูลเพื่อยื่นแบบภาษี โดยปัจจุบันสามารถยื่นแบบภาษีได้สะดวก รวดเร็ว ผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากร สำหรับการยื่นภาษีประจำปี 2564 สามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 8 เมษายน 2565 กระนั้นก็ดี แม้จะมีเวลาค่อนข้างมากแต่หลายคนมักจะเตรียมข้อมูลใกล้ถึงวันหมดเขตยื่นภาษี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยคงต้องจัดการเรื่องภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะหากยื่นไม่ทันจะต้องเสียค่าปรับโดยใช่เหตุ
ใครมีหน้าที่ต้องยื่นภาษี
สิ่งที่หลายคนเข้าใจผิด คือ หากคำนวณแล้วไม่ต้องเสียภาษี ก็ไม่ต้องยื่นแบบภาษี แต่ความจริงแล้วเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะต้องเสียภาษีเพิ่มหรือไม่ก็ตามก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ โดย เกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ได้แก่
เตรียมเอกสารอะไรบ้าง
เมื่อประเมินจากรายได้คร่าว ๆ ว่าต้องยื่นแบบภาษีแล้ว สิ่งที่จะต้องทำ คือ การรวบรวมเอกสารเพื่อใช้อ้างอิงข้อมูลในการยื่นภาษี
สำหรับพนักงานบริษัท จะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบทวิ 50) ซึ่งมีข้อมูลรายได้ตลอดทั้งปี ภาษีสะสมที่ได้ถูกหักไว้ ข้อมูลประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถูกหักไว้ระหว่างปีด้วย แต่หากประกอบอาชีพอิสระก็จะได้รับเอกสารจากผู้ว่าจ้างเมื่อมีการจ่ายเงิน และหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และหากมีรายได้หลายทางก็ให้นำรายได้ทุกทางมารวมกัน โดยจัดแยกตามประเภทรายได้ ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นยื่นแบบภาษี อาจไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแยกประเภทรายได้ เพราะว่ารายได้แต่ละประเภทหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน วิธีการคำนวณภาษี คือต้องนำรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน จึงจะได้ตัวเลขเงินได้สุทธิ ที่ต้องนำไปเทียบกับอัตราขั้นบันได โดยหากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษี
นอกจากนี้ การรู้ประเภทรายได้จะทำให้เลือกใช้แบบฟอร์มได้ถูกต้อง ถ้ามีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวจะใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หากมีรายได้อื่น ๆ ด้วยนอกเหนือจากเงินเดือนจะใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.90 และเฉพาะเงินได้ประเภทที่ 5 - 8 หากรวมกันแล้วเกิน 60,000 บาท จะต้องยื่นแบบครึ่งปีด้วย โดยใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.94
เอกสารลดหย่อนมีหลายรายการ สามารถแยกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
แม้การยื่นแบบภาษีอาจจะยังไม่ต้องยื่นเอกสารในทันที แต่การเตรียมเอกสารทุกอย่างให้เรียบร้อย จะช่วยให้มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน เพราะหากขาดเอกสารที่ต้องใช้ลดหย่อนเรื่องใดไป เช่น ลืมกรอกค่าลดหย่อนบุตร ก็จะทำให้เสียภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น และไม่ต้องเสียเวลาค้นหาเอกสารเมื่อสรรพากรขอตรวจสอบเพิ่มเติม ที่สำคัญหากมีเงินภาษีที่ได้คืน ก็จะได้ภาษีคืนเร็วอีกด้วย
ทางเลือกในการยื่นแบบของคู่สามีภรรยา
การยื่นแบบภาษีสำหรับคนโสด เป็นการสรุปรายได้ของคนคนเดียว แต่สำหรับผู้ที่แต่งงานแล้ว (จดทะเบียนสมรส) มี 3 ทางเลือกในการยื่นแบบ แต่ก่อนจะเลือกวิธีใดต้องคำนวณว่าวิธีไหนได้ประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
อาจมีคำถามว่า ถ้าไม่ยื่นแบบภาษีจะเกิดอะไรขึ้น เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยยื่นแบบและไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย หรือหากไม่ยื่นแบบ สรรพากรไม่มีข้อมูลก็ไม่สามารถตรวจสอบภาษีได้ คำถามเหล่านี้ถือเป็นความเข้าใจผิด เพราะข้อมูลรายได้ส่วนใหญ่ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะถูกส่งไปที่กรมสรรพากร (ยกเว้นเป็นรายได้ในรูปแบบของดอกเบี้ย เงินปันผล ที่ถือเป็น Final Tax ไม่ต้องยื่นภาษีได้) ดังนั้น อาจถูกตรวจสอบย้อนหลัง
การไม่ยื่นแบบภาษีโดยเจตนา เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และการไม่ยื่นแบบภาษีเลยเมื่อกรมสรรพากรตรวจสอบและประเมินภาษี กรมสรรพากรมีอำนาจตรวจสอบย้อนหลังได้ถึง 10 ปี ดังนั้น หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบภาษีให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องปวดหัวได้ในอนาคต
สำหรับผู้ที่สนใจ เรียนรู้พื้นฐานและเทคนิคการวางแผนประหยัดภาษี เพื่อให้สามารถวางแผนภาษีและเพิ่มเงินออมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนดี ได้ภาษีคืน ด้วยโปรแกรม Tax Planning” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่
หรือสนใจวางแผนประหยัดภาษีด้วยการออมและการลงทุน ซึ่งจะทำให้เงินออมออกดอกออกผลงอกเงยขึ้น และยังช่วยประหยัดภาษีได้อีกด้วย โดยสามารถคำนวณและวางแผนได้ผ่าน “โปรแกรมวางแผนประหยัดภาษี” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่