เทคนิคการเลือก DW ด้วยค่า Sensitivity

โดย MACQUARIE SECURITIES (THAILAND) LIMITED
5 Min Read
15 ตุลาคม 2567
660 views
sensitivity01
In Focus

เทรดเดอร์หลาย ๆ คน ที่เทรด DW อาจพบกับปัญหา จำนวนของ DW ที่มีให้เลือกนั้นเยอะมาก และไม่รู้ถึงความแตกต่างของแต่ละตัว วันนี้ทีมงาน DW28 จะมาแนะนำวิธีการเลือก DW ด้วยค่า Sensitivity อย่างง่าย เพื่อให้เทรดเดอร์ทุกคน นำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการเทรดของตัวเองได้

ก่อนจะไปถึงวิธีการเลือก DW เทรดเดอร์จะต้องรู้จักกับค่า Sensitivity ก่อนค่า Sensitivity คือค่าโดยประมาณที่ใช้วัดความไวในการเปลี่ยนแปลงราคาของ DW เทียบกับราคาหลักทรัพย์อ้างอิง  สำหรับการวัดค่า Sensitivity มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงต้องเปลี่ยนไปเท่าไหร่ เพื่อให้ DW ขยับ 1 tick 
เช่น DW มีค่า Sensitivity 0.50 หมายถึง หากหลักทรัพย์อ้างอิงขยับ 1.0 tick ราคา DW จะขยับ 0.5 tick หรือ 0.005 บาท ซึ่งนักลงทุนจะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา DW ต้องให้หลักทรัพย์อ้างอิงขยับ 2.0 tick ราคา DW ถึงจะขยับ 1.0 tick หรือ 0.01 บาท

sensitivity02

2.
ค่า Sensitivity (จุดดัชนี) เป็นส่วนกลับของการวัดค่า Sensitivity แบบที่ 1 นั่นเอง
เช่น ค่า Sensitivity (จุดดัชนี) เท่ากับ 20 หมายถึง ราคา DW จะขยับ 1 tick ต่อเมื่อดัชนีหลักทรัพย์อ้างอิงขยับ 20 จุด ฉะนั้น หาก HSI Futures บวกประมาณ100 จุด ก็จะส่งผลให้ราคา Call DW จะขยับขึ้น 5 tick หรือ 0.05 บาท
sensitivity03


ค่า Sensitivity (
จุดดัชนี) มักจะใช้กับดัชนีต่างประเทศ เนื่องจากฐานของดัชนีหุ้นต่างประเทศมีค่าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นไทย

เมื่อเทรดเดอร์รู้จักค่า Sensitivity แล้ว ถัดมาคือวิธีการเลือก DW ด้วยค่า Sensitivity 
เริ่มจากการพิจารณามุมมองของเทรดเดอร์ต่อหลักทรัพย์อ้างอิงนั้น ว่ามีทิศทางขึ้นหรือลง และจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ หลังจากนั้นให้ดู DW อ้างอิงหลักทรัพย์รุ่นนั้น ที่มีค่า Sensitivity ที่สอดคล้องกับมุมมอง

ตัวอย่างเช่น นักลงทุนมีมุมมองต่อดัชนีฮั่งเส็งฟิวเจอร์ส จะปรับตัวขึ้น 60 จุด ดังนั้นเมื่อเข้ามาที่หน้า ค้นหา DW ให้ระบุหลักทรัพย์อ้างอิง และทิศทางราคาดังนี้
•    หลักทรัพย์อ้างอิง ให้เลือก HSI
•    ทิศทางราคา มองขึ้นให้เลือก Call หลังจากนั้นกดปุ่มค้นหา

sensitivity04


คอลัมน์ Sensitivity (
จุดดัชนี) จะแสดงค่าไว้ ซึ่งเทรดเดอร์สามารถเลือกจากค่าดังกล่าวได้  โดยค่า Sensitivity (จุดดัชนี) ยิ่งน้อยนั่นหมายความว่า DW รุ่นนั้นจะขยับยิ่งเร็ว เช่น ค่า Sensitivity (จุดดัชนี) ของ HSI28C2407F และ HSI28C2411A เท่ากับ 28.15 และ 74.63 ตามลำดับ นั่นหมายความว่า DW รุ่น HSI28C2407F จะขยับเร็วกว่า HSI28C2411A

sensitivity05


จากตัวอย่างข้างต้นหากเราคาดการณ์ว่า ดัชนีฮั่งเส็งฟิวเจอร์ส จะปรับตัวขึ้น 60 จุด แปลว่า DW รุ่น HSI28C2407F ที่มีค่า Sensitivity (จุดดัชนี) ไม่เกิน 60 ก็จะมีการปรับตัวขึ้นของราคาได้ โดยประมาณ 0.02 บาท ในขณะที่ HSI28C2411A ที่มีค่า Sensitivity (จุดดัชนี) เกิน 60 ก็จะไม่มีการปรับตัวขึ้นของราคา

ค่า Sensitivity (จุดดัชนี) ไม่ใช่ค่าคงที่ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่ปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นต้น เทรดเดอร์ควรเข้ามาตรวจสอบค่า Sensitivity (จุดดัชนี) ก่อนวางแผนเทรดทุกครั้ง

จะเห็นได้ว่ามุมมองและการคาดการณ์ระดับราคาของหลักทรัพย์อ้างอิง เป็นส่วนที่สามารถนำมาใช้ประกอบในการเลือก DW โดยใช้ Sensitivity (จุดดัชนี) เป็นตัวพิจารณาด้วยได้

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ออก DW (URL: https://www.thaidw.com/education/individualtip)

แท็กที่เกี่ยวข้อง: