ในโลกของการลงทุน "Leverage" และ "Margin" เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการลงทุนอย่างมหาศาล หากเรียนรู้และใช้อย่างเหมาะสมและรอบคอบจะสามารถช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนได้หลายเท่า แต่ในทางตรงกันข้าม หากใช้อย่างไม่ระวังอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างหนักได้ บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Leverage และ Margin เพื่อการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
กลไกและความสำคัญของ Leverage และ Margin
นักลงทุนสามารถใช้ Leverage ผ่านการกู้ยืมเงินจากบริษัทหลักทรัพย์เพื่อนำเงินดังกล่าวมาใช้ในการลงทุน หรือสามารถใช้ Leverage ผ่านการเข้าลงทุนในอนุพันธ์ที่มี Leverage แฝงอยู่ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนสามารถควบคุมการลงทุนที่มีมูลค่ามากกว่าเงินทุนของตนเองได้ เช่น ถ้าใช้ Leverage 1:10 นักลงทุนสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากกว่าเงินลงทุนที่มีอยู่ได้มากถึง 10 เท่า ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการลงทุนขึ้นอย่างมาก และอาจเป็นได้ทั้งคุณและโทษต่อเงินลงทุนของนักลงทุน
การใช้ Leverage มักมาคู่กับการซื้อขายในรูปแบบการวางหลักประกัน (Margin) พื้นฐานของการซื้อขายแบบมี Leverage คือการที่นักลงทุนต้องวางหลักประกันส่วนหนึ่งของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดเพื่อทำการซื้อขายสินทรัพย์ โดยสำหรับหลักประกันที่นิยมใช้จะสามารถแบ่งออกเป็น หลักประกันขั้นต้น (Initial Margin), หลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) และหลักประกันปิดสถานะ (Force Close Margin) ซึ่งแต่ละหลักประกันจะถูกใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น
นักลงทุนต้องวางหลักประกันขั้นต้นคิดเป็น 10% ของมูลค่าการลงทุน เพื่อเข้าลงทุนในสินทรัพย์ (คิดเป็น Leverage 1:10) และต้องรักษาระดับเงินลงทุนในพอร์ตให้อยู่สูงกว่าหลักประกันรักษาสภาพที่ระดับ 7% ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด (70% ของหลักประกันขั้นต้น) โดยหากต่ำกว่านั้นจะมีการเตือน (Margin Call) เพื่อให้นักลงทุนทำให้เงินลงทุนในพอร์ตกลับมาอยู่สูงกว่าหลักประกันรักษาสภาพอีกครั้ง หรือกรณีที่เกิด Margin Call และเพิ่มเงินลงทุนไม่ทันจนเงินลงทุนลดลงต่ำกว่าหลักประกันปิดสถานะที่ระดับ 2.5% ของมูลค่าเงินลงทุน (25% ของหลักประกันขั้นต้น) จะทำให้บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้ให้กู้ยืม ทำการบังคับขายทรัพย์สินบางส่วน หรือบังคับปิดสถานะอนุพันธ์บางส่วน เพื่อทำให้มูลค่าสินทรัพย์ในพอร์ตกลับมาอยู่สูงกว่าหลักประกันรักษาสภาพอีกครั้ง
Leverage และ Margin เป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องเข้าใจและนำมาใช้อย่างรอบคอบ เพราะ Leverage ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเสี่ยงในการขาดทุน ยิ่ง Leverage สูงเท่าใด ความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนก็ยิ่งสูงขึ้นเช่นกัน
ข้อดีและข้อเสียของการใช้ Leverage
การใช้ Leverage มีทั้งจุดเด่นและข้อจำกัดหลัก ๆ ดังนี้
กลยุทธ์ในการจัดการ Leverage และ Margin อย่างปลอดภัย
การจัดการ Leverage และ Margin อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่สูงเกินไป กลยุทธ์ที่สำคัญคือ การใช้วางจุด Stop Loss และ Take Profit
นักลงทุนลองพิจารณาจากตารางด้านล่าง การขาดทุนที่มากเกินไปจากการใช้ Leverage จะทำให้นักลงทุนต้องการผลกำไรที่มากขึ้นเพื่อชดเชยในส่วนของการขาดทุน
ดังนั้น การใช้ Leverage จึงต้องทำอย่างเหมาะสม การที่บริษัทหลักทรัพย์ให้นักลงทุนใช้ Leverage ได้สูง ไม่ได้หมายความว่านักลงทุนจะใช้ Leverage อย่างเต็มจำนวน แต่ต้องเลือกใช้ในระดับที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ วิธีการง่าย ๆ คือการคำนวณ Risk per Trade ในการเข้าลงทุนแต่ละครั้ง
ตัวอย่างเช่น
นักลงทุนคาดว่าหุ้น A จะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น และประเมินว่าหากหุ้น A ปรับตัวลงมากกว่าจุดที่เข้าซื้อ -1% จะถือเป็นสัญญาณกลับตัว ถ้านักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้ (Risk per Trade) -5% ของเงินลงทุนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท และนักลงทุนตั้งใจจะเข้าเก็งกำไรหุ้น A ผ่านสัญญา Futures ที่มี Leverage แฝงอยู่ 1:20 เท่า และ 1 สัญญาคิดเป็นมูลค่าหุ้น A 1 ล้านบาท หรือต้องวางหลักประกันสัญญาละ 50,000 บาท เพื่อเปิดสถานะ
นักลงทุนท่านนี้จะสามารถหา Leverage ที่ใช้จริง และวางแผนการลงทุนได้ดังนี้
วิธีการข้างต้นถือเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ขาดทุนมากเกินไป และทำให้นักลงทุนไม่ต้องกังวลในเรื่องการบริหารหลักประกัน (Margin Level) มากนักอีกด้วย
สรุปเคล็ดลับการลงทุนแบบมี Leverage ในตราสารอนุพันธ์สำหรับนักลงทุนมือใหม่
นักลงทุนมือใหม่ควรเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Leverage และระดับ Margin ต่าง ๆ ให้เข้าใจ และติดตามการปรับอัตราหลักประกันที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้การคำนวณมูลค่าหลักประกันที่ต้องใช้ให้ชำนาญ และเลือกใช้ Risk per Trade หรือความเสี่ยงในการเก็งกำไรแต่ละครั้งให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดการขาดทุนที่มากเกินไป และยากต่อการทำผลกำไรชดเชย
โดย Leverage ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยย่นรอบของการลงทุนให้เร็วขึ้นได้ และช่วยให้ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้นและไวขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากใช้ Leverage ที่สูงมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดการขาดทุนติดต่อกัน และกลายเป็นการขาดทุนครั้งใหญ่ได้ แม้จะควบคุมความเสี่ยงได้ดีแล้วก็ตาม
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน