หากมองย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2567 ถึงกลางเดือนสิงหาคม ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาพจำที่ย่ำแย่ เพราะให้ผลตอบแทนพ่ายแพ้ต่อดัชนีตลาดหุ้นอื่นทั่วโลก จากสารพัดปัญหาโดยเฉพาะความฝืดเคืองด้านกำลังซื้อของผู้คนในประเทศ และความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย ทั้ง ๆ ที่ในปีที่แล้ว (ปี 2566) ตลาดหุ้นไทยก็เคยให้ผลตอบแทนย่ำแย่ติดอันดับโลกมาแล้ว พอมาปี 2567 ช่วงเวลาประมาณ 8 เดือนแรกก็ยังปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีกกว่า -10% สร้างความเจ็บปวดแก่นักลงทุนหุ้นไทยอยู่ไม่น้อย
จาก 8 เดือนที่หม่นหมอง มาสู่ปลายปีอย่างมีหวัง
ภาพดัชนี SET Index ที่ย่ำแย่ก็ดูเหมือนจะพบกับจุดเปลี่ยนเกมในกลางเดือนสิงหาคม นับตั้งแต่ทราบผลการตัดสินคดีคุณเศรษฐา ทวีสิน ต่อเนื่องมาที่การเสนอชื่อคุณแพรทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างรวดเร็ว และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พร้อมทำงานในช่วงกลางเดือนกันยายน ปัจจัยการเมืองไทยที่เคยเศร้าสร้อยก็พลอยดูดีขึ้น ความมั่นใจในการลงทุนเริ่มเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการ Cover Short ในหุ้นใหญ่หลาย ๆ ตัว นักลงทุนต่างชาติเริ่มมี Fund Flow กลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยเป็นสถานะ Net Buy รายวันอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่มักจะเป็นฝ่ายขายสุทธิ Net Sell มาโดยตลอด
นอกจากนี้เรายังได้รัฐมนตรีคลังท่านเดิมที่สานต่อนโยบายกองทุนวายุภักษ์และเพิ่มวงเงินกองทุนประหยัดภาษี Thai ESG เข้ามาเพิ่มเติมสภาพคล่องในตลาดหุ้นไทย ซึ่งช่วย Market Sentiment ในการลงทุนหุ้นไทยอย่างชัดเจน ส่งผลให้ดัชนี SET Index วิ่งขึ้นจาก 1,290 จุด มาสู่ระดับ 1,450 จุด ในช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน กลายเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในโลกประจำเดือนสิงหาคม นับจากต้นปีถึงปัจจุบัน ให้ผลตอบแทนพลิกกลับจากจุดต่ำสุดที่ -10% เป็น +2.75% โดยแรงส่งทางการเมืองในประเทศและการแถลงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ที่มีความชัดเจนในการจัดสรรงบประมาณอัดฉีดกระตุ้นในหลากหลายโครงการ
คำถามใหญ่สำหรับนักลงทุนหุ้นไทยคือ จากนี้ไป ยังไงต่อ ?
คำตอบคือ เราได้มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั่วโลก นั่นคือ การตัดสินใจ “ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5%” ของ เฟด (ธนาคารกลางสหรัฐฯ) เป็นการยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น 11 ครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2565 ถึง 26 ก.ค. 2566 และค้างอัตราดอกเบี้ยระดับสูงที่ 5.5% ไว้นานถึง 14 เดือน สุดท้ายแล้วเฟด ก็ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2567 เป็นการเริ่มต้นวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงอย่างเป็นทางการ การวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญนี้ จะส่งผลต่อภาพการลงทุนในช่วงถัดไปอย่างมีนัยสำคัญ
เพราะการปรับลดดอกเบี้ยของเฟด 0.5% นี้ เป็นการปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลงเพียง 0.25% โดยสำนักข่าวต่างประเทศถึงกับพาดหัวข่าวว่า “The Fed just made a jumbo rate cut” นอกจากนี้เฟดยังส่งสัญญาณว่าจะปรับลดดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องในการประชุมที่เหลือของปี 2567 นี้อีก ซึ่งผลของทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ย จะเปิดทางให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำลง ตั้งแต่กู้เงินซื้อบ้านไปจนถึงหนี้บัตรเครดิต และเป็นการสื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ รู้สึกถึงความเร่งด่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูง และแน่นอนว่า เมื่อเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ธนาคารกลางทั่วโลกก็จะพิจารณาปรับลดลงตามเช่นกัน วัฏจักรของการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขาลงกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) เป็นการเริ่มต้นวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงอย่างมีพลัง
แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่างๆ จะทำให้ต้นทุนทางการเงินลดต่ำลง ส่งผลให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
บริษัทที่มีหนี้สินจะได้รับประโยชน์จากการลดดอกเบี้ย เพราะต้นทุนการกู้ยืมจะลดลง ส่งผลให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น บริษัทที่ขายสินค้าขนาดใหญ่ (เช่น บ้าน) ที่ลูกค้าจะต้องก่อหนี้เพื่อมาซื้อ ลูกค้าจะกู้ผ่านมากขึ้น บริษัทก็จะมีโอกาสขายได้มากขึ้น ส่วนบริษัทไฟแนนซ์ปล่อยกู้เช่าซื้อ เมื่อลูกค้าของพวกเขามีต้นทุนการเงินลดลง โอกาสการเกิดหนี้เสียจะมีแนวโน้มลดลง เป็นต้น รวมถึงบริษัทที่มีรายได้เป็นกระแสรายรับที่ค่อนข้างแน่นอน (เช่น โรงไฟฟ้า ธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ กองรีท) การปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำให้อัตราการคิดลดหรือ Discount Rate ลดลง ส่งผลให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดดังกล่าวเพิ่มขึ้น
.
มุมมองการลงทุนตลาดหุ้นไทย
แน่นอนว่า ตลาดหุ้นไทยก็จะมีความผันผวนหลังจากการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด เพราะนอกจาก
ในไตรมาส 4 ปี 2567 ถือว่าตลาดหุ้นไทยมีปัจจัยหนุนอยู่หลายประการ ได้แก่
เทคนิคเลือกหุ้น Value ในตลาดหุ้นไทย
สำหรับนักลงทุนรายย่อย โอกาสของการลงทุนมาจากการมองหาหุ้นที่จะมีผลประกอบการฟื้นตัวได้ตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัว หรือได้ประโยชน์โดยตรงจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และยังเป็นหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่า (หรือ ราคาถูกเป็นพิเศษ) นั่นคือ หุ้น Value แล้วเข้าลงทุนถือไว้อย่างมั่นใจ หากเราเข้าลงทุนหุ้นรายตัวในปีนี้ หุ้นบางตัวอาจจะต้องรอถึงต้นปี 2568 เพื่อให้เห็นผลประกอบการไตรมาสสี่ฟื้นตัว หุ้นบางตัวอาจต้องรอถึงสิ้นปี 2568 เพื่อให้ถึงจุดที่กิจการทำได้ตามแผนกลยุทธ์ธุรกิจและผลประกอบการทยอยฟื้นตัว QoQ ตัวอย่างเช่น
นักลงทุนต้องมองภาพให้ออกและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม ทั้งในมุมการฟื้นตัวจากผลประกอบการที่ย่ำแย่มาเป็นปกติ และในมุมผลประกอบการปกติกลายมาเป็นเติบโต ในช่วงที่กำลังจะฟื้นตัวของประเทศไทย เราควรจะมองหาว่ากิจการใดที่จะอยู่กับเราต่อไปในอนาคต จะฟื้นตัว และจะเติบโต เราต้องมองให้ออกว่าใครคือผู้ชนะจากการฟื้นตัวของประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น แล้วโอกาสในการทำกำไรในตลาดหุ้นไทยก็จะอยู่กับเรา
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน