การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนไม่ใช่เพียงแค่การมองตัวเลขบนกระดาษ แต่เป็นการเปิดประตูสู่โลกแห่งการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง เมื่อนักลงทุนเชื่อมโยงข้อมูลทางการเงินเข้ากับกิจกรรมต่าง ๆ ในบริษัท ก็จะเห็นภาพรวมที่ชัดเจนและเข้าใจปัญหาที่แท้จริงได้อย่างลึกซึ้ง
ลองนึกภาพว่างบกำไรขาดทุน คือ แผนที่ที่บอกเล่าเรื่องราวของบริษัท แต่ละรายการ คือ จุดสำคัญที่ต้องสำรวจ ยอดขายที่เพิ่มขึ้นอาจสะท้อนถึงกลยุทธ์การตลาดที่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่ต้นทุนที่สูงขึ้นอาจบ่งบอกถึงปัญหาในห่วงโซ่อุปทานหรือกระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์เชิงลึกเช่นนี้ช่วยให้เห็นโอกาสและความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอาจไม่ใช่เรื่องน่ากังวล หากนำไปสู่การเติบโตของรายได้ในระยะยาว แต่หากไม่ส่งผลต่อยอดขายอาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข
นอกจากนี้ การวิเคราะห์แนวโน้มและการเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน ช่วยให้เห็นภาพที่กว้างขึ้น อาจพบว่าบริษัทกำลังเผชิญกับความท้าทายที่เป็นปัญหาร่วมของอุตสาหกรรม หรือกำลังก้าวล้ำหน้าคู่แข่งในบางด้านการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขทางการเงินและการดำเนินงานจริง ไม่เพียงแต่ช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา แต่ยังนำไปสู่การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ดีมากขึ้น นักลงทุนที่เข้าใจความเชื่อมโยงนี้จะสามารถประเมินศักยภาพและความเสี่ยงของบริษัทได้แม่นยำขึ้น
รายได้และต้นทุนขาย
รายได้และต้นทุนขายจะมาคู่กัน และแยกไปแต่ละประเภทธุรกิจ เนื่องจากแต่ละธุรกิจมีวิธีบันทึกรายได้ไม่เหมือนกัน ลักษณะต้นทุนจึงไม่เหมือนกันด้วย
ตัวอย่าง การวิเคราะห์รายได้และต้นทุนขาย
ธุรกิจดังกล่าวจะเติบโตด้วยการขยายสาขา โดยช่วงเปิดให้บริการแรก ๆ ตัวเลขกำไรไม่มาก เนื่องจากรายได้ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ประกอบกับเป็นช่วงการลงทุน ทำให้ต้นทุนคงที่เยอะตามไปด้วย เช่น ธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่งใช้เวลาราว 2 ปีถึงจะเริ่มคุ้มทุน สังเกตได้จากอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มสูงขึ้น
ธุรกิจดังกล่าวจะเติบโตด้วยการขยายสาขาเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายให้มากขึ้น และกำไรจะเติบโตเมื่อสินค้าอยู่ในกระแส เช่น อุปกรณ์ไอทีขายได้ดีในช่วง COVID-19 ทำให้กำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่สิ่งที่ต้องดูคู่กัน คือ ระยะเวลาการเก็บหนี้และระยะเวลาขายสินค้าต้องสม่ำเสมอ เพราะหากขายสินค้าได้ แต่เก็บเงินไม่ได้ รวมถึงมีสินค้าค้างสต็อก อาจมีปัญหาในอนาคตได้
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (Selling, General, and Administrative Expenses: SG&A)
คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถขายสินค้าหรือบริการได้ และบริหารจัดการองค์กรให้ราบรื่น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้รวมอยู่ในต้นทุนการผลิตสินค้าโดยตรง แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง
ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าโฆษณาและการตลาด ค่าใช้จ่ายในการโปรโมตสินค้าหรือบริการ ค่าคอมมิชชัน ค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับพนักงานขายหรือตัวแทนจำหน่ายตามยอดขายที่ทำได้ ค่าขนส่งสินค้า เงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานขาย รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ (เช่น ประกันสังคม โบนัส)
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เช่น เงินเดือนและสวัสดิการของพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานในฝ่ายบริหาร ค่าเช่าสำนักงาน ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายด้านกฎหมายและบัญชี ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา ค่าเสื่อมราคา
ความสำคัญของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารมีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ เพราะเป็นตัวบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนของธุรกิจ หากธุรกิจสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันได้
ตัวอย่าง การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ต้นทุนทางการเงิน
ในอดีต เรียกว่า ดอกเบี้ย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินหรือการใช้เงินของผู้อื่น โดยเป็นค่าตอบแทนที่ผู้ให้กู้ได้รับจากการให้ผู้อื่นยืมเงินไปใช้ ซึ่งต้นทุนทางการเงินมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจลงทุนและการดำเนินธุรกิจ โดยเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลต่อกำไรสุทธิของธุรกิจ หากต้นทุนทางการเงินสูงเกินไปอาจทำให้มีผลประกอบการที่ไม่ดี และอาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในโครงการต่าง ๆ ด้วย
จากตัวอย่าง เป็นหุ้นที่นักลงทุนชื่นชอบ เนื่องจากยอดขายอยู่ในระดับน่าประทับใจ ขณะที่ต้นทุนเพิ่มเพียงน้อย จากการประหยัดต่อขนาด โดยหุ้น ABC ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้า ส่วนหุ้น XYZ ดำเนินธุรกิจโรงพยาบาล เป็นตัวแทนธุรกิจบริการ
หุ้น ABC มียอดขายในไตรมาส 1 ปี 2567 เพิ่มขึ้น 9.94% จากการควบคุมต้นทุนที่ดีและใช้กำลังการผลิตมากขึ้นจึงเกิดการประหยัดต่อขนาด ทำให้สัดส่วนของต้นทุนขายลดลงเหลือ 59.26% อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 40.74% ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมถึงต้นทุนทางการเงินไม่ต่างจากเดิมมากนัก ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 77.37% มากกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น
หุ้น XYZ มียอดขายในไตรมาส 1 ปี 2567 เพิ่มขึ้น 7.70% จากจำนวนคนไข้ที่เพิ่มขึ้นและการขึ้นราคาค่ารักษาพยาบาล ซึ่งผลจากการประหยัดต่อขนาดทำให้สัดส่วนของต้นทุนการให้บริการลดลงเหลือ 47.84% อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 52.16% สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร และต้นทุนทางการเงินไม่ต่างกันมาก ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 25.36% มากกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น
ประโยชน์การวิเคราะห์ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายและบริหาร
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
สำหรับนักลงทุนมือใหม่หรือผู้ที่สนใจ เรียนรู้โครงสร้างและเทคนิคในการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เพื่อเพิ่มโอกาสค้นหาหุ้นพื้นฐานดี น่าลงทุน ผ่าน e-Learning หลักสูตร “Statement of Comprehensive Income” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่