ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา
ดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2566 ปรับลดลง 15.2% ขณะที่ในปี 2567 จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ตลาดปรับลดลงอีก 7.0% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยในปี 2566 มูลค่ารวม 192,489 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2567 จนถึงปัจจุบัน ขายเพิ่มอีก 109,349 ล้านบาท สถานการณ์ดังกล่าวทำให้นักลงทุนรู้สึกท้อแท้ และบางส่วนก็หมดหวังกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
อย่างไรก็ดี แทนที่จะท้อแท้และหมดความหวัง เราควรพยายามพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส เมื่อภาวะการลงทุนโดยรวมยากลำบากมากขึ้น นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้หนักมากขึ้น กระจายการลงทุนให้หลากหลาย และเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน รวมถึงแสวงหาหลักคิดใหม่ ๆ ที่จะเติบโตได้ท่ามกลางภาวะตลาดและเศรษฐกิจที่อาจไม่สดใสนัก
แนวคิดการลงทุนในเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ การลงทุนในเรื่องใหม่ ๆ วิธีคิดใหม่ ๆ และการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเติบโตได้โดดเด่นในช่วง 3 - 5 ปีต่อจากนี้ เป็นหัวใจสำคัญของการมองหาหุ้นในธีมเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม (Old Economy) ที่เน้นอุตสาหกรรมที่มีความมั่นคง มีข้อมูลในอุตสาหกรรมที่ชัดเจน สินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และมักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลานาน
ลักษณะสำคัญของธุรกิจในกลุ่ม New Economy
ในมุมมองของผม ธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่จะประสบความสำเร็จต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่
ปัจจัยแรกจะช่วยระบุว่า ผู้เล่นรายใดมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สองสะท้อนถึงศักยภาพที่เป็นไปได้หากสำเร็จ และปัจจัยที่สามสะท้อนว่าแนวคิดที่เราคาดการณ์นั้นเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมและในกลุ่มผู้บริโภคหรือไม่
เสาะหาผู้เล่นในตลาดหุ้นไทยที่เป็นกลุ่ม New Economy
ในตลาดหุ้นไทย ปัจจุบันมีผู้เล่นในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) อยู่บ้าง แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะเติบโตไม่เด่นชัด โดย GDP ในไตรมาสแรกของปี 2567 เติบโตเพียง 1.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน และตลอดทั้งปี 2566 โตเพียง 1.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลายภาคส่วนธุรกิจที่เติบโตโดดเด่นในระดับ 15 - 20% ต่อปี หรืออาจสูงกว่านี้ เนื่องจากการนำเสนอสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด
ตัวอย่างของธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ในประเทศไทย ได้แก่
อย่ามองข้ามผู้เล่นในเศรษฐกิจดั้งเดิมที่กำลังปรับตัว
แม้แต่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจดั้งเดิม (Old Economy) ที่การเติบโตต่ำ การเข้ามาของเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดเดิมก็เป็นปัจจัยที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
ดังนั้น โอกาสในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ในหุ้นไทยจึงยังมีอยู่ทั้งในธุรกิจแบบดั้งเดิม หรือธุรกิจรูปแบบใหม่ ยิ่งภาพรวมเศรษฐกิจเติบโตต่ำ นักลงทุนยิ่งต้องทำการบ้านเจาะลึกลงไปในรูปแบบธุรกิจ (Business Model) และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเติบโตในระยะถัดไป
แนวโน้มใหญ่ (Megatrend) ระดับโลกเป็นโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย
นอกจากการมองหา Business Model รูปแบบใหม่ อีกหนึ่งวิธีในการนำแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ (New Economy Theme) มาใช้คือ การมองหาแนวโน้มใหญ่ (Megatrend) ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกแต่ยังไม่ได้มีผลกระทบในประเทศมากนัก และมองหากลุ่มผู้ประกอบการที่มีโอกาสจะได้รับประโยชน์จากกระแสดังกล่าว
ยกตัวอย่างเช่น การเกิดขึ้นของ Generative AI ทำให้เกิดการตื่นตัวในการใช้งาน AI ในระดับองค์กรและระดับบุคคล ส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้าไอทีทั่วโลกเริ่มนำเสนอสินค้ากลุ่ม Device Enable AI เข้าสู่ตลาด
จากประมาณการของ Canalys ซึ่งเป็น Research House ที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรม คาดว่าสินค้ากลุ่ม AI PC จะเข้ามามีสัดส่วนอย่างน้อย 60% ของตลาด PC ทั้งหมดภายในปี 2570 หรืออีก 4 ปีจากนี้ โดยจุดเริ่มต้นของสินค้ากลุ่ม AI PC จะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 2567
การเข้ามาของ AI ในสินค้าไอทีคือโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกและค้าส่งสินค้าไอทีในประเทศไทย เนื่องจากเป็นโอกาสในการนำเสนอสินค้าและบริการรอบใหม่เข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยที่ทำการผลิตสินค้ากลุ่มดังกล่าว ตัวอย่างของหุ้นเด่นใน Theme ดังกล่าวที่นักลงทุนสามารถศึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ HANA, CCET, SYNEX, SIS, COM7 และ ADVICE เป็นต้น
นอกจากผู้ผลิตในประเทศไทยแล้ว ผู้เล่นในตลาดอื่น ๆ ที่ผลิตสินค้ากลุ่ม Memory, อุปกรณ์ระบายความร้อน หรือกลุ่มพลังงานสะอาดก็มีโอกาสได้รับประโยชน์จากสินค้า AI รอบใหม่นี้เช่นกัน นักลงทุนสามารถมองหา DR หรือ DRX ที่ลงทุนในหุ้นดังกล่าว หรือกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศที่ลงทุนในสินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นอีกทางเลือกในการกระจายการลงทุน
ข้อควรระวังในการลงทุนหุ้น New Economy
เนื่องจากธีมการลงทุนในเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์การเติบโตในอนาคตเป็นหลัก ดังนั้นนักลงทุนจำเป็นต้องมีการป้องกันตัวเอง โดยแนะนำอย่างน้อย 4 ขั้นตอนที่จำเป็นต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน
การทำ Reality Check เพื่อให้รู้รอบการลงทุนที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ตลาด PC ในประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2567 มีมูลค่ารวมลดลง 23% เมื่อเทียบกับปีก่อน เพราะสินค้ากลุ่ม AI ยังไม่เข้าสู่ตลาด ผู้ประกอบการคาดว่าสินค้าส่วนใหญ่จะเข้าสู่ตลาดในครึ่งปีหลังของปี 2567 เป็นอย่างเร็วและจะเริ่มเห็นมากขึ้นในปี 2568
ในกรณีที่กระแสดังกล่าวเกิดขึ้นช้ากว่าคาด นักลงทุนควรพิจารณาว่าหุ้นกลุ่มค้าปลีกค้าส่งไอทีไทยมีโอกาสเติบโตได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
นักลงทุนควรรอคอยระดับ Valuation ที่น่าสนใจ เช่น ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตมาก หรือ ต่ำกว่าหุ้นลักษณะเดียวกันในตลาดอื่น ๆ
ประเมินความเสี่ยงและปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความแข็งแกร่งของงบการเงิน ความสามารถและความมุ่งมั่นของผู้บริหาร ระดับบรรษัทภิบาลของบริษัท ซึ่งเป็นปัจจัยสะท้อนการเติบโตที่ยั่งยืนของกิจการ และความเสี่ยงในด้านอื่น ๆ ให้ครบถ้วน เช่น ความเสี่ยงเศรษฐกิจโดยรวม และความเสี่ยงสงครามระหว่างประเทศ เป็นต้น
การลงทุนมีทั้งภาวะที่ดีและไม่ดี มีความผันผวนแต่ก็มีโอกาส ผมอยากเป็นเสียงหนึ่งที่เป็นกำลังใจให้นักลงทุนมีความสุขกับการลงทุนในทุกภาวะตลาด หากการลงทุนยากเกินไปในช่วงสั้น การศึกษาหาความรู้และรอเวลาเป็นการเตรียมตัวที่ดีเพื่อวันที่โอกาสใหม่ ๆ เกิดขึ้น หลักคิดเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เป็นหลักคิดแห่งความหวังเชื่อว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับการลงทุนและธุรกิจของท่านไม่มากก็น้อย
ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนตามที่หวังไว้ครับ
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน