อุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคมถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศ บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ก็มักจะเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมมากที่สุด และมักจะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งบริษัทในอุตสาหกรรมนี้มีการดำเนินธุรกิจทั่วโลก ทำให้สามารถเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ทำให้มีศักยภาพในการเติบโต มีโอกาสในการเพิ่มมูลค่าหุ้นอย่างมาก ดังนั้นการลงทุนในหุ้นของอุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคมสามารถเป็นวิธีที่ดีในการเข้าถึงศักยภาพในการเติบโตและนวัตกรรมในยุคดิจิทัลที่เราอยู่ในปัจจุบัน และหนึ่งในนั้นก็คือ Singtel
Singtel หรือ Singapore Telecommunications Limited เป็นบริษัทเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีฐานที่มั่นในประเทศสิงคโปร์ โดยมี Temasek Holdings รัฐวิสาหกิจเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุด ด้วยสัดส่วน 51.96% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2024) บริษัทประกอบธุรกิจให้บริการด้านการสื่อสารและดิจิทัลที่หลากหลาย ให้แก่ผู้บริโภคและภาคธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา และประเทศสหรัฐอเมริกา นับรวมเป็นฐานลูกค้าของกลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 780 ล้านคนใน 21 ประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) อย่าง อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และแอฟริกา
สิงคโปร์มีอุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็วมาก
ประเทศสิงคโปร์มีอุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็วมาก รวมทั้งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดย Mordor Intelligence บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาด ประเมินว่าอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าตลาดในปี 2024 ราว 2.84 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 1.41% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า เป็น 3.04 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2029
ทั้งนี้สิงคโปร์จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (Penetration Rates) สูงที่สุดในโลก โดยมากกว่า 90% ของประชากรสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ก็ยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดในโลกเช่นกัน มากกว่า 200 Mbps หนุนการเติบโตในหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น ฟินเทค อีคอมเมิร์ซ และดิจิทัลมีเดีย
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศมีการแข่งขันที่สูง นอกจากมี Singtel เป็นผู้นำตลาด ยังมีผู้เล่นอย่าง StarHub ที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมาที่ 23% และที่เหลือมี M1, SIMPA Telecom และ Nexwave Telecom โดยสิงคโปร์มีหน่วยงานคือ Info-communication Media Development Authority (IMDA) มากำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมภายในประเทศ โดยโครงข่ายสื่อสาร 5G ของสิงคโปร์มีความรุดหน้าอย่างมาก จากการสนับสนุนของ IMDA ส่งผลให้สิงคโปร์เป็นชาติแรกของโลกที่มีเครือข่าย 5G ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของประเทศตั้งแต่กลางปี 2022 เร็วกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ปลายปี 2025 และส่งผลบวกต่อผู้ประกอบการโทรคมนาคมรวมทั้ง Singtel จากความต้องการการเชื่อมต่อความเร็วสูง เพื่อรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จากการเข้ามาของการใช้งานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมทั้ง IoT (Internet of Thing) และการเป็นนครอัจฉริยะ (Smart City)
Singtel เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์
Singtel เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ โดยมีลูกค้าจำนวน 4.6 ล้านราย คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 46.3% โดยบริการด้านการสื่อสารของบริษัท ได้แก่ บริการโทรศัพท์มือถือ บริการอินเทอร์เน็ตแบบไฟเบอร์ (Fiber Broadband) บริการโทรทัศน์ (TV Services) ส่วนในประเทศออสเตรเลีย บริษัทดำเนินธุรกิจการผ่าน Optus บริษัทในเครือที่ถือหุ้นทั้งหมด มีลูกค้าจำนวน 10.5 ล้านราย มีส่วนแบ่งตลาด 30.9% มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ
สำหรับประเทศไทยและอินเดีย Singtel ถือหุ้นในสัดส่วนที่มีนัยของบริษัท AIS และ Bharti Airtel ตามลำดับ ซึ่งต่างก็เป็นผู้ให้บริการด้านสื่อสารที่มีฐานลูกค้ามากสุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รวมทั้งยังลงทุนในบริษัทสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศอินโดนีเซีย Telkomsel และ Globe บริษัทสื่อสารของประเทศฟิลิปปินส์
ในปีการเงิน 2024 ที่ผ่านมา (สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2024) Singtel รับรู้รายได้จาการดำเนินงานหลักมาจาก
โดย NCS (Singtel ถือหุ้น 100%) ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
รายได้และโครงสร้างจากการดำเนินงาน
นอกจากนี้ Singtel ยังรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนบริษัทในเครือและบริษัทร่วมทุน (ส่วนแบ่งกำไร) ที่ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจสื่อสารในต่างประเทศ และถือว่ามีนัยเมื่อเปรียบเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานในสิงคโปร์ ทั้งนี้ในปีการเงินที่ผ่านมา Singtel บันทึกส่วนแบ่งกำไรจาก
และเมื่อรวมจากกำไรที่มาจาก Optus แล้วในปีการเงิน 2024 Singtel มีกำไรจากธุรกิจในต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 76% ของกำไรสุทธิรวม
ความน่าสนใจของ Singtel
1) การลงทุนของ Singtel สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วง 3 ปีการเงินที่ผ่านมา อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (ROIC)* ของ Singtel เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 7.3% ในปีการเงิน 2022 มาเป็น 8.3% ในปีการเงิน 2023 และเพิ่มขึ้นเป็น 9.3% ในปี 2024 ชี้ให้เห็นว่า ความสามารถของบริษัทในการสร้างผลตอบแทนจากเงินลงทุนของกิจการ และสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการเงิน (WACC) ของบริษัทที่ 5.55% (ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2024) ซึ่งถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการ อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและส่งผลบวกต่อราคาหุ้นของบริษัท
2) บริษัทมีกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกมาตลอด
Singtel เป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกมาตลอดอย่างน้อยนับตั้งแต่ปีการเงิน 2004 และแม้ต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่สูงในแต่ละปีเพื่อพัฒนาโครงข่าย แต่ Singtel ก็ยังมีกระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow - FCF)* เป็นบวกมาตลอดในช่วงเดียวกัน ทำให้ Singtel มีศักยภาพที่จะจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ รวมทั้งการเข้าไปซื้อกิจการที่คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่ม หรือซื้อหุ้นตัวเองคืน
*กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow - FCF) คือกระแสเงินสดจากการดำเนินการมาลบเงินลงทุนสำหรับการขยายธุรกิจ (Capital Expenditure, CAPEX) ออก บริษัทที่สร้างกระแสเงินสดอิสระได้มากและมีการเติบโตของกระแสเงินสดอิสระสูงจะทำให้มูลค่าบริษัทสูงตามไปด้วย
Singtel เป็นบริษัทที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นมาเป็นเวลายาวนานติดต่อกันทุกปี อย่างน้อยนับตั้งแต่ปีการเงิน 2001 โดยปีการเงิน 2024 บริษัทได้ปรับนโยบายการจ่ายเงินปันผลสำหรับอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout Ratio) จากกำไรหลักหักภาษีเป็น 70% – 90% จากเดิมที่จ่ายในอัตรา 60% - 80% ซึ่งทำให้ในปีการเงินที่ผ่านมาบริษัทมีการจ่ายเงินสดปันผลในอัตราหุ้นละ 0.15 เหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ สูงกว่ากำไรสุทธิต่อหุ้นในปีการเงินเดียวกันที่ 0.13 เหรียญดอลลาร์สิงคโปร์
4) บริษัทยังมีมูลค่าเพิ่มซ่อนอยู่อีกมากในเงินลงทุน
เงินลงทุนของ Singtel ในบริษัทในเครือและบริษัทร่วมในปัจจุบัน ถือว่ามีมูลค่าเพิ่มที่ซ่อนอยู่ และมีโอกาสที่ Singtel จะขายออกไปหากได้ราคาที่เหมาะสม อย่างปีการเงิน 2022 Singtel มีการขายหุ้นสัดส่วน 3.3% ใน Airtel เป็นมูลค่า 2.25 พันล้านเหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ คิดเป็นกำไรจากการขายเงินลงทุน 0.6 พันล้านเหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ และในปีการเงิน 2024 ก็มีการขายหุ้นตัวเดียวกันนี้ออกไป 0.8% คิดเป็นมูลค่าเกือบ 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ เทียบเป็นกำไรจากเงินลงทุนราว 700 ล้านเหรียญดอลลาร์สิงคโปร์
*ROIC (Return on invested capital) หรือ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุนได้มาจากกำไรหลังหักภาษี หารด้วย มูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินงาน ซึ่งบอกถึงความสามารถในการสร้างผลตอบแทนจากเงินลงทุนของกิจการ มักใช้คู่กับ WACC (Weighted average cost of capital) เพื่อดูว่าผลตอบแทนที่ได้มานั้นมากกว่าเงินที่ลงไปหรือไม่ หาก ROIC มากกว่า WACC คือผลตอบแทนได้สูงกว่าต้นทุนที่ต้องจ่าย
ปัจจุบัน นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ซื้อขายบนกระดานตลาดหุ้นไทย เช่น DR (Depositary Receipt) ซึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยผู้ออก DR จะเป็นคนไปซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุนต่างประเทศ แล้วนำมาเสนอขายให้กับนักลงทุนไทยในรูปสกุลเงินบาทอีกต่อหนึ่ง ซึ่งผู้ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เสมือนลงทุนหุ้นหรือหน่วยลงทุนต่างประเทศโดยตรง
ล่าสุด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศของบริษัท Singapore Telecommunications Limited หรือ Singtel (Z74.SI) ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) มีสัญลักษณ์ซื้อขายคือ SINGTEL80 เพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถซื้อขายหุ้น Singtel ได้บนกระดานตลาดหุ้นไทย (SET)
โดยมีข้อดีคือ ไม่ต้องยุ่งยากในการไปลงทุน Singtel ในต่างประเทศโดยตรง ซื้อขายได้ด้วยเงินบาท ใช้บัญชีเดียวกันกับการซื้อขายหุ้นไทย ซึ่งหากนักลงทุนมีบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่แล้ว ก็สามารถซื้อขายได้เลย ไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่ และเทรดได้สะดวกผ่านแอปพลิเคชัน Streaming เช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้น สามารถซื้อขายได้ในเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยไม่มีพักกลางวัน อย่างไรก็ตามธนาคารจะทำหน้าที่รักษาสภาพคล่องในช่วงเวลาที่ SGX และ SET เปิดทำการพร้อมกันเท่านั้น
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน