โดย New Economy เป็นระบบเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งนำเสนอสินค้า และบริการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยกลุ่มธุรกิจที่จัดอยู่ในรูปแบบของ New Economy ต่างเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง และเป็นธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์และกระแส อย่างเช่น กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ใส่ใจสุขภาพตัวเองมากขึ้น หรือกลุ่มธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเติบโตขึ้นมาก ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 จนทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อของผ่านออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทยเอง ก็ได้มีความพยายามในการปรับตัวเข้าสู่ New Economy อย่างจริงจัง จากการสนับสนุนของรัฐบาลยุคปัจจุบัน ซึ่งเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีจุดแข็งสำคัญ ที่สามารถทำให้ธุรกิจในยุค New Economy มีความน่าสนใจในระดับนานาชาติ ทั้งในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทำให้สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้จำนวนมาก จนเกิดการผลักดันโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมด้านนี้โดยเฉพาะ อย่างเช่นการจัดตั้งสถาบันอุตสาหกรรมเกษตร ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ากับการเกษตรกรรม เพื่อสร้าง Smart Farming ที่ตอบสนองกับความเป็น New Economy โดยตรง
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีจุดแข็งสำคัญอยู่ที่ความเชี่ยวชาญการผลิตรถยนต์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยขึ้นแท่นเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก และทำยอดส่งออกได้กว่า 688,531.24 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา ความเชี่ยวชาญตรงนี้เอง จึงทำให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ผลิต ในการปรับตัวเข้าสู่ตลาดการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังเติบโตอย่างมาก ภายใต้การสนับสนุนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่มีการส่งเสริมความรู้และให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อเข้าสู่ธุรกิจ New Economy อย่างต่อเนื่อง
แน่นอนว่าการเสริมสร้างจุดแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีระดับโลก เพื่อให้กลุ่มธุรกิจ New Economy ของไทยมีแนวโน้มในทางที่ดีเป็นอย่างมาก จากการจัดอันดับ World Digital Competitiveness Ranking 2023 ที่ผ่านมา ไทยอยู่ในอันดับที่ 35 ของโลก และอันดับ 3 ของอาเซียน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการปรับตัวและการแข่งขันด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับ New Economy ของไทยที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และนอกเหนือจากการสนับสนุนของรัฐบาลไทยแล้ว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม New Economy เช่นกัน ผ่านการผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดโอกาสทางการแข่งขัน และเพิ่มศักยภาพของประเทศโดยตรง ซึ่งมีทั้งหมดด้วยกัน 10 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่
ซึ่งปัจจุบันนี้บริษัทในไทย มีมากกว่า 160 บริษัท ที่เริ่มมีการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยมี 2 อุตสาหกรรมที่โดดเด่นมากเป็นพิเศษ นั่นก็คือ
1.Advanced Healthcare Service
ธุรกิจด้านสุขภาพ หรือ Healthcare Service ของไทยโดดเด่นอย่างมากในระดับภูมิภาค เนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะและคุณภาพสูง จนได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ทั้งด้านการรักษาโรคร้าย การศัลยกรรมความงาม ในการรักษาที่มาพร้อมกับบริการที่ดี ในราคาที่เหมาะสม
ปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ดึงดูดให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับบริการด้านสุขภาพในประเทศไทยมากขึ้น จนเกิดธีมใหม่อย่างการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) ของประเทศไทยที่เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยคาดการณ์ว่าปี 2570 มูลค่าของ Medical Tourism ในไทยจะสูงถึง 838,000 ล้านบาท เลยทีเดียว
นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มากถึง 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือเท่ากับ 13 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ตลาดของ Healthcare เกิดการเติบโตเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ทางเศรษฐกิจและการลงทุน ที่น่าจับตามองด้วยเช่นกัน
ซึ่งมี 2 กลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของเมกะเทรนด์ทางด้านนี้โดยตรง ได้แก่
1.1 อุตสาหกรรมการบริการ (SERVICE) ซึ่งครอบคลุมทั้งธุรกิจการแพทย์และการท่องเที่ยว
โดยอุตสาหกรรมการบริการในปัจจุบันมีมูลค่าตลาดมากถึง 4.48 ล้านล้านบาท และมีกำไรในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.47 แสนล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมนี้มี P/E Ratio อยู่ที่ 34.59 เท่า (ข้อมูลอ้างอิง SETSMART วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 - 24 พฤษภาคม 2567)
1.2 อุตสาหกรรมเทคโนโลยี (TECH) ที่จัดอยู่ในหมวดธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี Telemedicine
ซึ่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.5 ล้านล้านบาท และมีกำไรในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาถึง 7.6 หมื่นล้านบาท นั่นทำให้ P/E Ratio ของอุตสาหกรรมนี้อยู่ที่ 29.17 เท่า (ข้อมูลอ้างอิง SETSMART วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 - 24 พฤษภาคม 2567)
แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน นักลงทุนจำเป็นต้องวิเคราะห์ผ่านปัจจัยสำคัญด้วย เช่น ควรมองหาและศึกษารายละเอียดตามนี้
2. Advanced Agriculture & Food 🥙
ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เพราะเป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านวัตถุดิบชีวภาพ ซึ่งในปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้ส่งออกสินค้าเกษตรไปมากกว่า 1.69 ล้านล้านบาท จากผลิตภัณฑ์การเกษตรและการแปรรูปอาหาร
สิ่งนี้เองที่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยมีความได้เปรียบกับเทรนด์ Advanced Food ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยผลิตอาหาร และเพิ่มศักยภาพทางเกษตรกรรม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ต้องการอาหารที่มีโภชนาการสูงและมีคุณภาพ ซึ่งกำลังเกิดความต้องการทั่วโลก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมากในอนาคต หลังจากที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่าในปี 2593 ประชากรโลกจะมีมากขึ้นถึง 10 พันล้านคน ที่จะทำให้อุปสงค์ด้านอาหารเพิ่มขึ้นไปกว่า 70% ด้วยกัน
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของกลุ่ม Advanced Agriculture & Food หลัก ๆ แล้วมี 2 อุตสากรรม คือ
2.1 อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (AGRO) ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจการเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม
โดยมูลค่าทางการตลาดของอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยนั้นสูงถึง 1.07 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิตลอดปี 2566 ที่ผ่านมาคือ 1 หมื่นล้านบาท ส่วน P/E Ratio อยู่ที่ 68.31 เท่า (ข้อมูลอ้างอิง SETSMART วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 - 24 พฤษภาคม 2567)
2.2 อุตสาหกรรมด้านการบริการ (SERVICE) ที่ได้รับประโยชน์จากธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์
อ้างอิงจากข้อมูลในข้อที่ 1.1 มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมการบริการนั้นคือ 4.48 ล้านล้านบาท และมีกำไรในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.47 แสนล้านบาท P/E Ratio ของอุตสาหกรรมนี้จึงอยู่ที่ 34.59 นั่นเอง (ข้อมูลอ้างอิง SETSMART วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 - 24 พฤษภาคม 2567)
แต่ก่อนลงทุนก็ควรวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐานสำคัญด้วยไม่ว่าจะเป็น
จะเห็นได้ว่าธุรกิจที่เป็น New Economy ล้วนเป็นธุรกิจแห่งอนาคต💡 ที่มีโอกาสจะพัฒนาและเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของประชากรโลกซึ่งนับเป็นหัวใจสำคัญมากต่อธุรกิจในเวลานี้