หากเป็นเด็กที่ชื่นชอบการเล่นเกม เชื่อว่าต้องเคยครอบครองหรืออย่างน้อยก็เคยเล่นเครื่องเกมยอดนิยมอย่าง Game Boy และ Nintendo Switch หรือเคยเล่นเกม Super Mario มาแล้วอย่างน้อย 1 ภาค และผู้ที่รัก Mario จะมีความสุขมากกว่าเดิมเมื่อได้เล่นภาคอื่น ๆ และใครที่เพิ่งเคยสัมผัสกับ Mario ก็จะหลงรักเขาทันที ขณะที่หลายคนผ่านการไล่จับ Pokemon รวมถึงการเป็นเจ้าของเครื่องเกมพกพา (Console) ซึ่งเจ้าของเกมเหล่านี้มีชื่อว่า Nintendo และแน่นอนหากเป็นนักลงทุนก็ใฝ่ฝันต้องการซื้อหุ้นผู้ผลิตเกมมาริโอและเกมอื่น ๆ วันนี้ฝันได้เป็นจริงแล้วเมื่อสามารถเป็นเจ้าของหุ้นเกมจอย Nintendo ผ่านตลาดหุ้นไทย
Nintendo ก่อตั้งขึ้นในปี 1889 โดยมารุฟุกุ (Marufuku Company) เริ่มต้นจากการผลิตไพ่ดอกไม้หรือฮะนะฟุดะ (Hanafuda Cards) และได้รับความนิยมไปทั่วโลก ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น Nintendo ในปี 1970 โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพื่อเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้กลายเป็นแบบดิจิทัล
Nintendo เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิต IP เกมและจำหน่ายเครื่องเกมต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์ Nintendo โดยกว่าครึ่งศตวรรษ ได้ผลิตเครื่องเกมออกมาสู่ตลาดมากมาย โดยเริ่มตั้งแต่เครื่อง Nintendo Family (FAMICOM), Super Famicom, Nintendo 64, Gamecube, Gameboy, Gameboy Advanc, Nintendo DS/3DS, Nintendo WII/WIIU และเครื่องเกมรุ่นล่าสุดอย่าง Nintendo Switch รวมถึงเป็นเจ้าของ Character และ IP เกมอย่าง Mario, Pokemon, Zelda, Kirby, Animal Crossing, Fire Emblem เป็นต้น
สำหรับประเภทธุรกิจ Nintendo มีรายได้จาก 3 ภาคส่วน ได้แก่
สินค้าหลักของ Nintendo คือ เกมแบบ Exclusive บนแพลตฟอร์มของบริษัท เครื่องเล่นเกมคอนโซล และสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเล่นเกมคอนโซลหลักของบริษัท คือ เครื่อง Nintendo Switch โดยผลประกอบการปี 2566 (สิ้นสุด ณ เดือนมีนาคม 2567) มียอดขายทั้งสิ้น 1,671,865 ล้านเยน เพิ่ม 4.4% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยทำกำไรสุทธิได้ 490,602 ล้านเยน เพิ่มขึ้น 13.4% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีสัดส่วนรายได้แบ่งตามภูมิภาค ดังนี้
นอกจากนี้ Nintendo ยังเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งที่สุดในญี่ปุ่น โดยไม่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย แต่มีเงินสดในมือราว 2.25 ล้านล้านเยน
โดยปีที่ผ่านมา Nintendo ได้รับประโยชน์จากค่าเงินเยนที่อ่อนลง ช่วยให้ทำกำไรได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเกมอย่าง The Legend of Zelda: Tears of the Kingdom และภาพยนตร์ Super Mario ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงช่วยดันรายได้และกำไร
สำหรับปัจจัยที่จะช่วยสร้างรายได้ให้เติบโตได้ในระยะยาว คือ การมุ่งเน้นไปที่การขยายธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจเกมเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้มากขึ้น เพราะเชื่อว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Brand Power ประสบความสำเร็จมากขึ้น เช่น จากผลงานของภาพยนตร์ The Super Mario Bros ก็ทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้ออกมาสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความสำเร็จของกลยุทธ์ที่ใช้ในการต่อยอดจากตัวการ์ตูนต่าง ๆ ที่สร้างมา
นอกจากนี้การวางขายเครื่องเล่นเกมคอนโซลรุ่นใหม่ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้รายได้เติบโต โดยเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Nintendo ได้มีการประกาศเปิดตัวเครื่องเล่นเกมคอนโซล Nintendo Switch รุ่นใหม่ภายในมีนาคม ปี 2568 เพื่อทดแทนเครื่องรุ่นเดิมที่มีการวางขายเมื่อ 7 ปีก่อน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่หนุนการฟื้นตัวของรายได้และราคาหุ้นในช่วง 1 - 3 ปีข้างหน้า
นักวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่ามีโอกาสสูงที่กลุ่มผู้ใช้งานเดิมจะมีการเปลี่ยนมาใช้เครื่องเล่นเกมรุ่นใหม่ที่พร้อมรองรับเกมระดับ A-list ที่ใช้กราฟิกสูง ๆ ได้ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลย้อนหลังนับตั้งแต่ปี 2543 พบว่าในช่วง 6 ครั้งหลังสุดที่ Nintendo มีการวางขายตัวเครื่องเล่นเกมคอนโซลรุ่นใหม่ หุ้นมีการปรับตัวขึ้น 4 จาก 6 ครั้ง (คิดเป็นโอกาสราว 67%) ภายในระยะเวลา 12 เดือนหลังการวางขายและปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 38% เมื่อประกอบกับการที่เครื่อง Nintendo Switch ได้รับความนิยมสูงนับตั้งแต่ช่วงเปิดตัว จึงมองว่ามีโอกาสสูงที่การเปิดตัวครั้งดังกล่าวจะมีผลตอบรับที่ดีจากทั้งกลุ่มลูกค้าและนักลงทุน
หากนักลงทุนไทยสนใจ ซื้อหุ้น Nintendo สามารถลงทุนหุ้นตัวนี้ผ่าน DR (Depositary Receipts) หรือตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยผู้ออก DR คือ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จะเป็นคนไปซื้อหุ้น Nintendo แล้วนำมาเสนอขายให้กับนักลงทุนไทยในรูปสกุลเงินบาทอีกต่อหนึ่ง โดย DR มีชื่อย่อในการซื้อขายคือ “NINTENDO19” อ้างอิงหุ้นของบริษัท Nintendo ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยข้อดีของการซื้อ DR คือ
นักลงทุนที่สนใจ ลงทุนใน DR “NINTENDO19” สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> คลิกที่นี่
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน