หุ้นที่ปันผลสม่ำเสมอสามารถสร้างรายได้ประจำได้ จึงเป็นหุ้นที่นิยมในวงกว้างของนักลงทุนที่มุ่งหวังการลงทุนในบริษัท ที่สามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอในอัตราที่เติบโต ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของกิจการอย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยนักลงทุนจะมองหาหุ้นที่จ่ายเงินปันผลได้ต่อเนื่องทุก ๆ ปี อีกทั้ง ยังเป็นหุ้นที่ลงทุนแล้วสบายใจในระยะยาว โดยไม่จำเป็นต้องขายหุ้นออก โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ราคาหุ้นมีความผันผวนสูง
หมายความว่า หุ้นปันผลจะสร้างรายรับได้โดยไม่ต้องคอยจับจังหวะในการซื้อขายหุ้นตลอดเวลา ยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้จากปันผลแม้จะอยู่ในช่วงตลาดขาลงหากบริษัทมีศักยภาพในการกำไร สะท้อนให้เห็นว่าเป็นหุ้นที่มีความผันผวนน้อยกว่าหุ้นที่ไม่จ่ายเงินปันผล ดังนั้น นักลงทุนจึงเต็มใจที่จะเก็บหุ้นไว้ในช่วงตลาดเป็นขาลงหรือภาวะเศรษฐกิจซบเซา เพราะถึงแม้ราคาหุ้นจะมีโอกาสปรับลดลงแต่ก็ยังได้ผลตอบแทนจากเงินปันผล
สำหรับหุ้นที่จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ เหมาะสมกับนักลงทุนประเภทไหน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า เหมาะกับนักลงทุนระยะยาว เนื่องจากหุ้นที่พื้นฐานธุรกิจดีมีอนาคตเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงควรมีช่วงระยะเวลาเพียงพอที่จะรอให้กิจการเติบโต และรอเก็บผลตอบแทนจากเงินปันผลในอนาคต อีกทั้ง ยังเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่อง เพราะเงินปันผลที่นักลงทุนได้รับจะช่วยสร้างสภาพคล่องระหว่างการถือครองหุ้นของนักลงทุนอีกด้วย หากต้องการผลตอบแทนสม่ำเสมอเป็นเงินสดทุก ๆ ปี ในรูปของ Passive Income
สำหรับหุ้นปันผลที่ดี อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่าควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
โดยอาจจะใช้หลักเกณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจจ่ายเงินปันผลเข้ามาประกอบด้วย ทั้งนโยบายการจ่ายเงินปันผล ซึ่งสามารถประเมินการจ่ายเงินปันผลจากตัวเลขรายได้และกำไร รวมถึงความสามารถในการจ่ายเงินปันผล เพราะมีบางบริษัท พยายามจ่ายเงินปันผลโดยการกู้เงินหรือขายสินทรัพย์บางอย่าง ซึ่งไม่มีความสามารถจ่ายปันผลที่ยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม อาภาภรณ์บอกว่า การตัดสินใจเลือกหุ้นปันผลอาจไม่ได้ง่าย เพราะมีหลายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายและรับเงินปันผล ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหุ้นปันผลจากข้อมูลพื้นฐาน ดังนี้
1. เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend Per Share : DPS) เป็นเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับต่อหุ้นในแต่ละปี โดยมาจากเงินปันผลจ่ายหารจำนวนหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลในงวดนั้น ๆ โดยเงินปันผลต่อหุ้นจะนำไปคำนวณเพื่อหาอัตราผลตอบแทนจากอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อไป อย่างไรก็ตาม หากบริษัทมีการจ่ายเงินปันผลเป็นกรณีพิเศษก็ต้องหักเงินปันผลดังกล่าวออกก่อน จึงจะเห็นเงินปันผลปกติ
เงินปันผลต่อหุ้น = เงินปันผล/จำนวนหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในงวดนั้น ๆ |
กรณีมีการจ่ายเงินปันผลพิเศษ
เงินปันผลต่อหุ้น = (เงินปันผล – เงินปันผลพิเศษ)/จำนวนหุ้น |
ตัวอย่าง หุ้น ABC จ่ายเงินปันผลประจำปี 2566 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2 ล้านบาท โดยมีจำนวนหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผลทั้งสิ้น 1 ล้านหุ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงกลางปีได้จ่ายเงินปันผลเป็นกรณีพิเศษ 5 แสนบาท ดังนั้น เงินปันผลต่อหุ้น
เงินปันผลต่อหุ้น = (2,000,000 – 500,000)/1,000,000
ดังนั้น เงินปันผลต่อหุ้นเท่ากับ 1.50 บาทต่อหุ้น
กำไรต่อหุ้น = กำไรสุทธิรอบ 12 เดือนล่าสุด/ส่วนของผู้ถือหุ้น |
อัตราการจ่ายเงินปันผล = (สัดส่วนเงินปันผลต่อหุ้น/กำไรสุทธิต่อหุ้น) x 100 |
อัตราการจ่ายเงินปันผลเป็นอัตราส่วนที่บอกว่าบริษัทมีเงินจำนวนเท่าใดและจะแบ่งจ่ายกลับไปให้ผู้ถือหุ้นในรูปเงินปันผลมากน้อยแค่ไหน
4. อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) คำนวณจากมูลค่าปันผลต่อหุ้นเทียบกับราคาหุ้น หากหุ้นตัวใดมีอัตราดังกล่าว “สูง” หมายความว่าให้ผลตอบแทนเงินปันผล “สูง” (สามารถเปรียบเทียบกับหุ้นในธุรกิจเดียวกัน) ซึ่งอัตราผลตอบแทนดังกล่าวช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหุ้น ยิ่งหุ้นให้อัตราผลตอบแทนสูง จะได้รับความนิยมจากนักลงทุนสูงเช่นเดียวกัน
อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล = (เงินปันผลต่อหุ้นต่อปี/ราคาหุ้น) x 100 |
ตัวอย่าง หุ้น YYY จ่ายเงินปันผล 3 บาท วันที่คำนวณ (1 มกราคม 2566) ราคาปิด 40 บาท ผลลัพธ์มีอัตราปันผลตอบแทน 7.5% ขณะที่หุ้น ZZZ จ่ายเงินปันผล 3 บาท วันที่คำนวณ (1 มกราคม 2566) ราคาปิด 60 บาท ผลลัพธ์มีอัตราปันผลตอบแทน 5%
สังเกตว่า ถึงแม้หุ้นทั้งสองจะมีเงินปันผลเท่ากัน (3 บาทต่อหุ้น) แต่หุ้น YYY มีอัตราปันผลตอบแทนสูงกว่าหุ้น ZZZ เพราะมีราคาหุ้นต่ำกว่า หมายความว่า หากลงทุนซื้อหุ้น YYY ได้ในราคา 40 บาท และจ่ายเงินปันผล 3 บาทต่อหุ้นเท่าเดิม จะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงถึง 7.5% ต่อปี
5. การคาดการณ์เงินปันผล คือ ประมาณการเงินปันผลต่อหุ้นในอนาคต ซึ่งต้องมีประมาณการกำไรต่อหุ้นและนโยบายการจ่ายเงินปันผล รวมทั้งพิจารณาอัตราการจ่ายปันผลที่จ่ายในงวดล่าสุดประกอบด้วย จากนั้นประเมินว่าในปีข้างหน้า บริษัทจะจ่ายปันผลมากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่าง ปัจจุบันหุ้น XYZ ซื้อขายที่ราคา 10 บาท โดยจ่ายเงินปันผลไตรมาส 1 ปี 2566 จำนวน 25 สตางค์ และนักลงทุนประเมินว่าทุกไตรมาส บริษัทจะจ่ายเงินปันผลเท่ากัน หมายความว่า ปี 2566 จะจ่ายเงินปันผลทั้งสิ้น 1 บาท หมายความว่า มีการประเมินอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลประจำปี 2566 เท่ากับ 10%
การพิจารณาลงทุนในหุ้นปันผล อาภาภรณ์อธิบายว่า นอกจากจะวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแล้ว ควรให้ความสำคัญกับจังหวะเวลา (Timing) ในการลงทุนด้วย โดยช่วงตลาดขาขึ้น (Bull Market) หุ้นปันผลมักจะให้อัตราผลตอบแทนในการลงทุนที่ต่ำกว่าตลาด (Underperform Market) เมื่อพิจารณาอัตราส่วนต่างกำไรจากราคาหุ้นบวกอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล
สำหรับช่วงที่ตลาดแกว่งตัวแคบ ๆ (Sideways) หรือมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอน หุ้นปันผลจะได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะมีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูง ช่วยหนุนราคาหุ้นเอาไว้ ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนโดยรวมสูงกว่าตลาด (Outperform Market) ได้
ทั้งนี้ ต้องวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ว่าหุ้นนั้น ๆ ยังสามารถจ่ายปันผลสูงได้ในช่วงที่ตลาดขาดปัจจัยบวกทางด้านพื้นฐานเข้ามากระตุ้นหรือไม่ หากมีแนวโน้มว่าจะจ่ายไม่ได้หรือจ่ายได้แต่น้อยลงมาก ราคาหุ้น (ที่เคยเป็นหุ้นปันผลดีในอดีต) ก็มีโอกาสที่จะลดลงมากกว่าตลาด (Underperform Market)
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน