หากพูดถึง สินทรัพย์ดิจิทัล เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะคุ้นชินกับคำว่า Cryptocurrency เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันมีสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นหลากหลายประเภทและหลากหลายรูปแบบ โดยหนึ่งในนั้นคือการลงทุนใน Digital Token ซึ่งเป็นการลงทุนรูปแบบใหม่ที่จะช่วยให้การลงทุนเป็นเรื่องใกล้ตัว และเข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
แม้จะถูกเรียกว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเหมือนๆ กัน แต่ Digital Token และ Cryptocurrency ก็ยังมีความแตกต่างกัน โดยจะแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ในบทความนี้จะชวนมาหาคำตอบไปพร้อมกัน
สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีความซับซ้อนสูงยากต่อการแบ่งประเภท ดังนั้นแล้วเพื่อให้ง่ายสำหรับนักลงทุน ในประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดหลักในการแบ่งสินทรัพย์ดิจิทัลออกเป็น 2 ประเภท
1. Cryptocurrency มีรูปแบบเป็น สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ เช่น Bitcoin, Ethereum หรือ Ripple
2. Digital Token มีรูปแบบเป็น ตัวแทนของ “สิทธิ” ที่ได้รับจากการถือโทเคนดิจิทัล ซึ่งสิทธินั้นๆ จะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลกำหนดเอาไว้นั้นเอง โดยหลักๆ แล้ว Digital Token ยังสามารถแบ่งย่อยตามวัตถุประสงค์ลงไปได้อีก 2 ประเภท คือ
คำถามคือ หากนักลงทุนสนใจลงทุนใน Digital Token จะรู้ได้อย่างไรว่าประเภทไหนเหมาะกับเรา? หลักการง่ายๆ คือ ต้องตอบให้ได้ว่า “สิทธิ” ที่โทเคนนั้นให้ตรงกับ “สิทธิ” ที่เราต้องการหรือไม่ ดังนั้นแล้ว อยากชวนทุกคนมาเจาะลึก Digital Token ทั้ง 2 ประเภทเพื่อทำความเข้าใจว่าหากเราจะเลือกลงทุน Digital Token ประเภทไหนที่เหมาะกับเรา
ประเภทที่ 1 Investment Token สำหรับผู้ต้องการ “สิทธิ” จากการร่วมลงทุน
Investment Token หรือ โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ผู้ถือโทเคนดิจิทัลจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ แต่จะได้รับสิทธิในการร่วมลงทุนและได้รับผลตอบแทนต่างๆ ตามที่ตกลงกันไว้จากผู้ออกโทเคนดิจิทัล เช่น ส่วนแบ่งกำไร ส่วนแบ่งรายได้ หรือสิทธิในการโหวต ฯลฯ โดยในประเทศไทยมีตัวอย่างประเภทธุรกิจที่มีการออก Investment Token ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ดังนี้
ประเภทที่ 2 Utility Token สำหรับผู้ต้องการ “สิทธิ” ในการแลกรับสินค้าและบริการ
Utility Token หรือ โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ พูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือโทเคนที่ไม่ได้มีเป้าหมายในการในร่วมลงทุน แต่การถือโทเคนเปรียบเสมือนการถือคูปองดิจิทัล ที่สามารถนำไปแลกเป็น “สิทธิ” เพื่อใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ ตามจำนวนที่ผู้ออกโทเคนดิจิทัลกำหนดไว้ได้ เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เช่น การให้คะแนนสะสม หรือบัตรเข้าร่วมงานต่างๆ โดยมีการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และตรวจสอบได้อยู่เบื้องหลัง ซึ่ง Utility Token ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็น 2 ประเภท
ซึ่งนอกจากความพร้อมในการใช้สิทธิที่แตกต่างกันแล้วยังมีความแตกต่างกันในมิติอื่นอีก เช่น การเสนอขาย หรือการให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และแน่นอนว่า Utility Token ทั้ง 2 ประเภทจะต้องไม่ใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการตามเกณฑ์ของ ธปท.
ตามคำพูดที่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้วว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกิจการร้านค้า หุ้น หรือ กองทุน ดังนั้นแล้วการลงทุนใน Digital Token ก็ย่อมมีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน ผู้ลงทุนจึงควรศึกษาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน โดยความเสี่ยงจากการลงทุนใน Digital Token ที่มักจะพบบ่อย ตัวอย่างเช่น
ปัจจุบันทางเลือกการลงทุนใน Digital Token มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ละโทเคนก็มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกันไปในแต่ละโทเคน นักลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนใน Digital Token สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้แล้วที่ TDX ศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัล เป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายโทเคนดิจิทัลซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. และเป็นบริษัทในกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หรือดาวน์โหลดแอป TDX และเปิดบัญชีได้แล้ววันนี้ผ่าน https://www.set.or.th/tdx/download.html