นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่ มักเจอข้อจำกัดบางอย่างที่คล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะเรื่องของเวลาที่มีจำกัด จนไม่สามารถติดตามภาวะตลาดได้ตลอดทั้งวัน หรือการปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล จนเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือการลงทุนที่มาทลายข้อจำกัดต่าง ๆ และช่วยเพิ่มความสะดวกในการลงทุนมากขึ้นกว่าเดิม อย่างตลาดหลักทรัพย์ฯ เอง ก็มีเครื่องมือหรือฟังก์ชันมากมายให้นักลงทุนได้เลือกใช้งานกัน ผ่านแอป Streaming
โดยในวันนี้ เราจะพาไปทำความรู้จักกับ 3 ฟังก์ชันยอดฮิต ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนไปอีกขั้น ได้แก่
แล้วแต่ละฟังก์ชันจะน่าสนใจมากเพียงใด เราไปเริ่มต้นทีละฟังก์ชันกันเลย..
นักลงทุนหลายคนอาจมีหุ้นที่ชื่นชอบกันอยู่แล้ว และคงอยากครองสัดส่วนการถือหุ้นไว้จำนวนมาก ๆ แต่ถ้าจะให้ทุ่มเงินก้อนลงทุนเพียงครั้งเดียว ก็ดูสุ่มเสี่ยงเกินไป เพราะหากซื้อในช่วงที่ราคาหุ้นสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน ก็อาจทำให้ได้ต้นทุนที่ค่อนข้างแพง
ซึ่งการ DCA (Dollar-Cost Averaging) หรือการทยอยลงทุนเป็นงวด ๆ ด้วยจำนวนเงินครั้งละเท่า ๆ กัน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการลงทุนที่ช่วยลดความเสี่ยง จากการเข้าซื้อผิดจังหวะได้ และไม่ต้องกังวลกับช่วงตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง เนื่องจากการ DCA จะมีการลงทุนในทุก ๆ เดือน หรือทุก ๆ สัปดาห์ ทำให้มีการถัวเฉลี่ยต้นทุนได้ในระยะยาวนั่นเอง
วิธีการใช้งานฟังก์ชัน DCA Order บนแอป Streaming
- เลือกหุ้นที่ต้องการลงทุนแบบ DCA (โดยหุ้นที่สามารถลงทุนแบบ DCA ได้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการให้บริการของแต่ละโบรกเกอร์ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET50 และ SET100
- กำหนดจำนวนเงินที่ต้องการ DCA
- เลือกวันและระยะเวลาที่ต้องการลงทุน
จะเห็นได้ว่า ฟังก์ชัน DCA Order จะช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นอัตโนมัติโดยไม่ต้องกลัวลืม อีกทั้งยังเป็นการสร้างวินัยในการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการบ่มเพาะอุปนิสัยของการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวอีกด้วย
นักลงทุนหลายคนมักตกม้าตาย เพียงเพราะปล่อยให้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการซื้อขาย อย่างเวลาที่ราคาหุ้นตกลงมาถึงจุด Cut Loss แทนที่จะกดคำสั่งขายตามแผนที่วางไว้ แต่กลับเพิกเฉย เพราะเกิดการ Bias คิดว่าเดี๋ยวราคาก็คงเด้งขึ้น จนสุดท้ายทำให้ขาดทุนหนักกว่าเดิม
แต่มีเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่เข้ามาแก้ไขปัญหานี้โดยเฉพาะ นั่นคือฟังก์ชัน Conditional Order ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อได้ทั้ง Take Profit และ Cut Loss แบบล่วงหน้า โดยที่นักลงทุนไม่ต้องนั่งเฝ้าจอ จึงช่วยป้องกันอารมณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการซื้อขายได้
เช่น เมื่อราคาหุ้นตกลงมาที่จุด Cut Loss ระบบก็จะทำการทันที เป็นต้น
วิธีการใช้งานฟังก์ชัน Conditional Order บนแอป Streaming
เลือกรูปแบบคำสั่งที่ต้องการ ซึ่งประกอบไปด้วย
- Stop Order มักถูกใช้ในกรณีตัดขาดทุน เมื่อราคาหุ้นถึงจุดที่เราตั้งไว้ ก่อนที่ราคาหุ้นจะลดลง จนขาดทุนหนักกว่าเดิม
- Trailing Stop คำสั่งซื้อขายหุ้นล่วงหน้า โดยระบบจะ “ซื้อ” เมื่อราคากลับตัวเป็นขาขึ้น หรือ “ขาย” เมื่อราคากำลังกลับตัวเป็นขาลง
- Bracket Order คำสั่งซื้อขายหุ้นอัตโนมัติ โดยระบบจะ “ซื้อ” หรือ “ขาย” เมื่อราคาหุ้น มาถึง “กรอบราคา” ที่วางไว้ โดยใช้ได้ทั้งหุ้นขาขึ้นและขาลง
นักลงทุนคนไหนที่เป็นสายเทรด หรือมีแบบแผน กลยุทธ์การลงทุนต่าง ๆ บอกเลยว่าฟังก์ชันนี้มีประโยชน์มาก เพราะเพียงแค่ตั้งเงื่อนไข แล้วให้แอปส่งคำสั่งอัตโนมัติ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ตรงตามแผนที่วางไว้ โดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไป
เนื่องจากในตลาดหุ้นนั้น มีหุ้นหลากหลายสไตล์เต็มไปหมด ซึ่งถ้าให้เรามานั่งวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัว ก็คงเสียเวลามาก ๆ อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ได้พัฒนาเครื่องมือที่มีชื่อว่า Stock Screener ขึ้นมา เพื่อช่วยคัดเลือกหุ้นที่ตรงตามสไตล์การลงทุนของนักลงทุนแต่ละคน ได้อย่างตอบโจทย์มากขึ้น
วิธีการใช้งานฟังก์ชัน Stock Screener บนแอป Streaming
นักลงทุนคัดเลือกหุ้นที่สนใจ ประกอบไปด้วย 2 รูปแบบ คือ
- Dividend Play คัดเลือกหุ้นที่มีฐานะการเงินมั่นคง และจ่ายปันผลสม่ำเสมอ
- Value Stock คัดเลือกหุ้นที่มีราคาถูก ฐานะการเงินมั่นคง และมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี
- Break 52 weeks High คัดเลือกหุ้นที่มีราคาสูงของวันนี้ สูงกว่าราคาปิดสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแนวต้านที่สำคัญ
ทั้งนี้แล้ว ลักษณะการคัดเลือกหุ้น จะแบ่งออกเป็น 3 สไตล์ ประกอบไปด้วย
- V (Value) หุ้นที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัท
- G (Growth) หุ้นของบริษัทที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
- M (Momentum) หุ้นที่มีทิศทางราคา และปริมาณการซื้อขายที่อยู่ในเกณฑ์ดี
เพียงเท่านี้ นักลงทุนก็จะได้หุ้นที่ตรงกับสไตล์การลงทุนของตัวเองง่ายขึ้น และยังช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก
ถึงตรงนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ฟังก์ชันที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เปรียบเสมือนเครื่องมือดี ๆ ที่ช่วยยกระดับการลงทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากทั้ง 3 ฟังก์ชันนี้แล้ว นักลงทุนคนไหนที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วอยากนำแนวคิดในการซื้อขายหุ้นของตัวเอง มาปรับใช้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็สามารถทำได้ ผ่านบริการ Settrade Open API (Application Programming Interface) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนออกแบบกลยุทธ์ การส่งคำสั่งอัตโนมัติได้ด้วยตัวเอง ด้วยการนำข้อมูลทางปัจจัยพื้นฐาน และทางเทคนิคมาวิเคราะห์ รวมถึงสร้างอินดิเคเตอร์ของตัวเองได้ด้วย
โดยข้อดีของ Open API ก็มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เช่น
- มีอิสระในการออกแบบ
- มีระบบ Risk Management ที่ช่วยคัดกรองคำสั่งซื้อขายตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ
- มี Sandbox เพื่อทดสอบระบบเทรด ก่อนเทรดจริง
- รองรับ SDK ได้ถึง 3 ภาษา ได้แก่ Python, AmiBroker และ VBA
สำหรับนักลงทุนที่สนใจใช้เครื่องมือ Open API สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ทั้งนี้แล้ว บริการ Open API ค่อนข้างครอบคลุมทั้งในเรื่องของการดึงข้อมูล, การส่งคำสั่งซื้อขาย รวมถึงการยกเลิกหรือเปลี่ยนคำสั่งต่าง ๆ จึงช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานเป็นอย่างมาก และเชื่อว่าถ้านักลงทุนได้ลองสัมผัสกับเครื่องมือนี้สักครั้ง ก็อาจทำให้การลงทุนของคุณ เป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ในสถานการณ์การลงทุนที่ผันผวน จะดีกว่าไหม หากจะมีเครื่องมือที่ช่วยให้การลงทุนสะดวกมากขึ้น และสามารถปรับเปลี่ยนให้ตรงความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องมือทั้ง 3 ฟังก์ชัน และ Settrade Open API จะเป็นตัวช่วย ให้การลงทุนง่ายขึ้น
และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการลงทุนในยุคนี้ ถึงต้องมีเครื่องมือดี ๆ ติดตัวไว้เสมอ..