โดยปกติแล้ว นักลงทุนจะได้กำไรจากการลงทุนในหุ้น ก็ต่อเมื่อราคาของหุ้นตัวนั้นปรับตัวสูงขึ้นกว่าราคาต้นทุนที่มีอยู่
แต่รู้หรือไม่ว่า ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่ง ที่ต่อให้ราคาจะขึ้นหรือลง นักลงทุนก็มีโอกาสทำกำไรได้เสมอ นั่นก็คือ DW (Derivative Warrants) นั่นเอง
แล้วนักลงทุนจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างก่อนเทรด DW
วันนี้เราสรุปมาไว้ให้แล้ว..
DW คืออะไร ?
DW (Derivative Warrants) หรือใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เป็นเครื่องมือทางการเงินที่นักลงทุนสามารถซื้อขายในกระดานหุ้นได้เหมือนหุ้นตัวหนึ่ง
โดยราคาของ DW จะเคลื่อนไหวไปตามหุ้นหรือดัชนีอ้างอิง หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “หุ้นแม่”
จุดเด่นหลัก ๆ ของ DW คือ ใช้เงินลงทุนไม่มาก และสามารถทำกำไรได้มากกว่าการลงทุนในหุ้นทั่วไป
DW มีกี่ประเภท ?
DW แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
โดยราคาของ Call DW จะปรับตัวสูงขึ้น หากราคาหุ้นแม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
เหมาะกับการสร้างผลตอบแทนในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น
โดยราคาของ Put DW จะปรับตัวสูงขึ้น หากราคาหุ้นแม่ปรับตัวลดลง
เหมาะกับการสร้างผลตอบแทนในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง
สัญลักษณ์ของ DW
นักลงทุนหลายคนอาจสับสนกับสัญลักษณ์ DW ที่อยู่บนกระดานซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่อยากบอกว่ามีวิธีทำความเข้าใจสัญลักษณ์ DW ง่าย ๆ โดยองค์ประกอบของสัญลักษณ์ DW มีอยู่ด้วยกัน 5 ส่วน คือ
UUUU II C YYMM A
เมื่อทำความเข้าใจ DW มาดีแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การเลือก DW ที่เหมาะกับสไตล์การลงทุนของตัวเองมากที่สุด โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ
เพราะ DW ไม่มีมูลค่าในตัวเอง ราคาของ DW จึงเคลื่อนไหวตามราคาหุ้นแม่อยู่เสมอ สิ่งสำคัญอย่างแรกคือ ต้องเลือกหุ้นแม่ที่สนใจก่อน ไม่ว่าจะเป็นหุ้นยอดฮิตในกระแส หุ้นที่มีสัญญาณซื้อ/ขาย ทางเทคนิค หรือถ้าเลือกหุ้นไม่ถูก ก็เลือกเป็นดัชนีไปเลยก็ได้ เช่น SET50 หรือ SET100 เป็นต้น
เมื่อเลือกหุ้นหรือดัชนีที่สนใจแล้ว ก็ถึงเวลาเลือกฝั่งว่าจะเลือก Call DW หรือ Put DW ถ้ามองว่าราคาหุ้นแม่จะปรับตัวสูงขึ้น ก็เลือกซื้อ Call DW แต่ถ้ามองว่าราคาหุ้นแม่มีแนวโน้มปรับตัวลง ก็ซื้อ Put DW จะเห็นได้ว่าการอ่านเทรนด์ตลาดและหุ้นให้ขาด เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะขาดทุนหนัก ๆ จากการเทรด DW ได้นั่นเอง
โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ
1) เลือกตามความแรงของการเคลื่อนไหวราคา DW สามารถดูได้จาก
- อัตราทด (Effective Gearing)
เป็นค่าที่บอกว่า ถ้าหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1% ราคาของ DW จะเปลี่ยนแปลงไปกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งค่า Effective Gearing จะมีความแตกต่างกันตามที่ผู้ออกกำหนด โดย Effective Gearing ยังช่วยสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนที่มากกว่าปกติ
ตัวอย่างเช่น Effective Gearing มีค่าเท่ากับ 10 เท่า หมายความว่าถ้าหุ้นแม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1% ราคา DW จะปรับเพิ่มขึ้น 10% จะเห็นได้ว่า DW ช่วยสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าปกติ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเสียหายได้มากกว่าปกติเช่นกัน หากนักลงทุนซื้อขายผิดทาง เช่น ราคาหุ้นแม่ปรับตัวลง 1% นักลงทุนก็จะขาดทุนทันที 10%
- ความอ่อนไหว (Sensitivity)
เป็นค่าที่บอกว่า ถ้าราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลงไป 1 ช่อง ราคา DW จะมีการปรับตัวกี่ช่อง
ตัวอย่างเช่น Sensitivity เท่ากับ 2 หมายความว่า ถ้าราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลง 1 ช่อง ราคาของ DW จะมีการเปลี่ยนแปลง 2 ช่อง
ดังนั้น แม้ DW ที่มีค่า Effective Gearing และ Sensitivity สูง ๆ จะให้ผลตอบแทนที่สูง แต่ก็มีโอกาสขาดทุนสูงเหมือนกัน ทางที่ดีนักลงทุนควรเลือก DW ที่มีค่า Effective Gearing และ Sensitivity เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้
2) เลือกตามความถูกหรือแพงของราคา DW สามารถดูได้จาก
- ค่าเสื่อมทางเวลา (Time Decay)
ยิ่งเวลาผ่านไป ราคา DW ก็ยิ่งลดลง นักลงทุนจึงควรหลีกเลี่ยงการถือ DW ที่มี Time Decay สูง เป็นระยะเวลานาน ๆ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคา DW อาจไม่สอดคล้องกับราคาหุ้นแม่ตามที่ควรจะเป็น
โดยทั่วไปแล้ว DW ที่มีค่า Time Decay สูง มักจะมีอายุคงเหลือไม่มากนัก เช่น น้อยกว่า 2 เดือน เป็นต้น
- ความผันผวนแฝง (Implied Volatility : IV)
คือค่าความผันผวนของราคาหุ้นแม่ที่แต่ละผู้ออก DW คาดไว้ ซึ่ง IV ยิ่งสูง หมายความว่า DW ยิ่งแพง ทั้งนี้ การเปรียบเทียบ IV ควรเปรียบเทียบกับสินค้าอ้างอิงเดียวกัน และมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น อายุคงเหลือ และ Effective Gearing ใกล้เคียงกัน
โดยผู้ออก DW แต่ละรายอาจคาดการณ์ IV ที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย หรือความแตกต่างกันของราคา DW (ผู้ออกบางรายอาจใช้ราคา Last ในขณะที่อีกรายอาจใช้ราคา Offer นำมาคำนวณ) เป็นต้น
- All in Premium
เป็นตัวที่บอกว่า ถ้าเราซื้อ DW แล้วแปลงสภาพเป็นหุ้นแม่ จะมีความถูกหรือแพงกว่าหุ้นแม่เท่าไร
ตัวอย่างเช่น ค่า All in Premium เท่ากับ 5% หมายความว่า หุ้นแม่ต้องปรับตัวขึ้น 5% ถึงจะทำให้ DW ถึงจุดคุ้มทุนในการแปลงสภาพ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่อาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแปลงสภาพ DW เท่าไรนัก แต่นักลงทุนก็จำเป็นที่จะต้องใช้ค่านี้ สำหรับเปรียบเทียบความถูกหรือแพงของ DW ตัวนั้น ๆ นั่นเอง
นักลงทุนสามารถคำนวณราคา DW ได้ที่นี่
https://www.settrade.com/th/equities/dw/calculatorอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าจุดเด่นของ DW คือ ช่วยให้นักลงทุนมีโอกาสทำกำไร เป็นเครื่องมือช่วยลดความผันผวนของพอร์ต ทั้งในช่วงตลาดขาขึ้น โดยซื้อ DW ฝั่ง CALL และตลาดขาลง โดยซื้อฝั่ง PUT
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลสำคัญที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม และควรเรียนรู้วิธีใช้งาน DW เอาไว้..
สำหรับใครที่สนใจเทรด DW แต่ยังไม่มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ สามารถเปิดบัญชีได้แล้ววันนี้
ที่แอป Streaming หรือเปิดแบบออนไลน์ ได้ที่นี่