ในยุคปัจจุบันที่เกือบทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล คงจะไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Google หรือ Search Engine อันดับ 1 ของโลกที่ครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 93% ในธุรกิจการค้นหา แต่หากพูดถึงบริษัท Alphabet ก็อาจจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้จักว่าบริษัทนี้คืออะไร ประกอบธุรกิจอะไร?
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2015 Google ประสบความสำเร็จอย่างมากในธุรกิจการค้นหา แต่บริษัทลูกที่อยู่ภายใต้ Google อาจขยับตัวได้ช้า เนื่องจากโครงสร้างธุรกิจยังไม่เอื้ออำนวย Larry Page และ Sergey Brin ผู้เป็น CEO ในขณะนั้นจึงได้แถลงการณ์ปรับโครงสร้างใหม่และจัดตั้ง Alphabet ขึ้นมาเป็นบริษัทโฮลดิ้งของ Google และย้ายบริษัทต่าง ๆ ในเครือ Google มาอยู่ภายใต้ Alphabet แทน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารและการทำงาน โดยเหตุผลที่ใช้ชื่อ Alphabet ก็เพราะว่าธุรกิจหลักหรือ Search Engine ทำหน้าที่เก็บตัวหนังสือแล้วจัดลำดับเพื่อถ่ายทอดออกมาเป็น Google Search ซึ่งช่วยให้มนุษยชาติเกิดนวัตกรรม รวมทั้งยังมีความหมายถึง Alpha-bet ที่แปลว่าผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอีกด้วย
โดยในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับบริษัท Alphabet ซึ่งปัจจุบันจดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก (Nasdaq) ประเทศสหรัฐอเมริกา จากที่บริษัทฯ เข้าตลาดฯ ในปี 2004 ด้วยมูลค่า 2.3 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันมีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Cap.) อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากบริษัท Apple, Microsoft และ Saudi Aramco
Alphabet ทำธุรกิจอะไรบ้าง?
หากอ้างอิงจากงบการเงินปี 2022 จะสามารถแบ่งตามประเภทธุรกิจได้ดังนี้
รายได้ส่วนนี้มาจาก 3 ส่วนหลัก ได้แก่
2. Google Cloud (9%)
รายได้จากกลุ่มสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบเซิร์ฟเวอร์และการให้บริการคลาวด์ โดยสามารถแบ่งการให้บริการออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ Compute, Storage & Database, Networking, Big Data และ Cloud AI
3. Other (1%)
รายได้ส่วนนี้มาจากธุรกิจอื่นและกำไร/ขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
แม้ในปี 2023 ผลประกอบการของ Alphabet จะมีแนวโน้มชะลอตัวด้วยแรงกดดันจากหลายปัจจัย เช่น แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในธุรกิจโฆษณาและ Cloud ขณะที่ YouTube ยังถูกกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจสตรีมมิ่งและ TikTok อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมองว่าผลประกอบการของ Alphabet มีแนวโน้มฟื้นตัวในปี 2024 หนุนจากธุรกิจการค้นหาและ YouTube ที่อาจเติบโต 9.2% YoY และ 12.8% YoY ตามลำดับ อ้างอิงจาก Bloomberg Consensus หลังคาดว่าบริษัทจะมีการนำเทคโนโลยี Generative AI เข้าไปเสริมประสิทธิภาพการใช้งาน
ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจของ Alphabet
1. อันดับ 1 ในธุรกิจ Search Engine : Google มีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจ Search Engine กว่า 93% ทั่วโลก ทำให้บริษัทมีโครงข่ายผู้ใช้งานขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีรายได้และกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในการพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น เช่น การเผยแพร่โฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ขณะที่สถิติล่าสุดจาก Internet Live Stats ในปี 2022 เผยว่ามีคนค้นหาข้อมูลใน Google Search Engine จำนวน 99,000 ครั้งต่อ 1 วินาที หรือคิดเป็น 8,500 ล้านครั้งต่อวัน2. มี Ecosystem หลากหลาย เสริมความแข็งแกร่งธุรกิจโฆษณา : บริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เช่น Gmail, Google Maps, YouTube เป็นต้น ซึ่งช่วยสร้างความผูกพันของลูกค้า ทำให้บริษัทเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก เช่น พฤติกรรมการค้นหา การตั้งค่าวิดีโอ ความสนใจเนื้อหา เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการโฆษณาและเพิ่มรายได้ อีกทั้งยังทำให้บริษัทมีฐานข้อมูลจำนวนมากเมื่อต้องการขยายกิจการไปยังอุตสาหกรรมใหม่ และยังช่วยเป็นเกราะป้องกันบริษัทคู่แข่งที่จะเข้ามาทำธุรกิจคล้ายกัน (Barriers to Entry) เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ส่งผลให้บริษัทครองส่วนแบ่งการตลาดโฆษณาแบบดิจิทัลเป็นอันดับ 1 ของโลกที่สัดส่วน 28% ในปี 2022 คาดการณ์จาก Bloomberg Consensus เผยว่ารายได้จากค่าโฆษณาของ Google จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 9.5% ในช่วงปี 2023 – 2026
4. โอกาสเติบโตของธุรกิจ Cloud ในตลาดเกิดใหม่ : Google มีการเข้าถึงจากหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบในแง่ของข้อมูลผู้ใช้งานในการขยายธุรกิจ Cloud ของตลาดเกิดใหม่เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการ Cloud อื่น ๆ ที่อาจต้องใช้งบประมาณในการสำรวจตลาดก่อนที่จะขยายธุรกิจไปในแต่ละประเทศ โดยคาดการณ์จาก Bloomberg Consensus เผยว่ารายได้ธุรกิจ Cloud ของ Google จะเติบโตเฉลี่ย 21.6% ในช่วงปี 2023 – 2026
โอกาสลงทุนหุ้น Alphabet ผ่านตลาดหุ้นไทย
ปัจจุบัน นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ผ่านการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่ซื้อขายบนกระดานตลาดหุ้นไทย เช่น DRx (Fractional DR) ซึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยผู้ออก DRx จะเป็นคนไปซื้อหุ้นหรือหน่วยลงทุนต่างประเทศ แล้วนำมาเสนอขายให้กับนักลงทุนไทยในรูปสกุลเงินบาทอีกต่อหนึ่ง ซึ่งผู้ถือ DRx จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เสมือนลงทุนหุ้นหรือหน่วยลงทุนต่างประเทศโดยตรง
ล่าสุด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ออกตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศของบริษัท อัลฟาเบท อิงค์ (Alphabet Inc.) หรือ DRx ของหุ้น Alphabet มีสัญลักษณ์ซื้อขาย คือ GOOG80X เพื่อให้นักลงทุนไทยสามารถซื้อขายหุ้น Alphabet ได้บนกระดานตลาดหุ้นไทย ซึ่งมีข้อดีคือ ไม่ต้องยุ่งยากในการไปลงทุนหุ้น Alphabet ในต่างประเทศโดยตรง มีเงินน้อยก็ลงทุนได้ เนื่องจาก DRx สามารถลงทุนขั้นต่ำโดยเริ่มต้นที่ 0.0001 หน่วยเท่านั้น และสามารถเลือกซื้อขายเป็นจำนวนเงินบาท หรือ จำนวนหน่วยของ DRx ก็ได้
นอกจากนี้ ยังสามารถซื้อขายได้ตามเวลาทำการของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งจะเปิดซื้อขายในเวลา 2 ทุ่มถึงตี 4 ของวันถัดไป ทำให้การเคลื่อนไหวของราคา DRx จะสอดคล้องกับหุ้น Alphabet ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก (Nasdaq) สหรัฐอเมริกา โดยนักลงทุนสามารถซื้อขาย DRx ได้อย่างสะดวกผ่านแอปพลิเคชัน Streaming เช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้น เพียงแค่เปิดบัญชี DRx ซึ่งเป็นบัญชีย่อยภายใต้บัญชีซื้อขายหุ้นเพิ่มเติม หรือนักลงทุนที่มีบัญชีซื้อขายหุ้นอยู่แล้วสามารถขอเปิดบัญชี DRx ด้วยตนเองผ่านแอปพลิเคชัน Streaming ได้
อ่านรายละเอียด เกี่ยวกับ DRx เพิ่มเติม >> คลิกที่นี่
อย่างไรก็ตาม ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ เช่น ลักษณะธุรกิจของหุ้นที่จะลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อที่จะลงทุนได้อย่างมั่นใจและช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการลงทุน
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
สำหรับนักลงทุนมือใหม่และผู้ที่สนใจ เรียนรู้ลักษณะพื้นฐาน หลักการเลือกลงทุน และวิธีการลงทุน DRx ในต่างประเทศผ่านตลาดหุ้นไทย สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “DRx ลงทุนไซซ์เล็ก เพื่อโอกาสใหญ่ในตลาดโลก” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่