การลงทุนแบบที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Investment) ที่กลายเป็นกระแสมาแรงทุกวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความตระหนักว่าโลกกำลังเสื่อมโทรมทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งธุรกิจควรมีส่วนรับผิดชอบด้วย โดยไม่ควรมุ่งแต่แสวงหากำไรสูงสุดเพื่อตอบสนองต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น
ที่สำคัญนักลงทุนแนวนี้ก็มีเพิ่มขึ้นทุกวัน ซึ่งพลังของนักลงทุนที่เป็น Responsible Investor อาจจะค้นหาหุ้นด้วยตัวเองหรือลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายเลือกลงทุนในบริษัทที่ดูแลใส่ใจมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงนำเสนอแนวคิดและวิธีการที่เรียกว่า ESG Investing ซึ่งสรุปได้จาก ESG Investing for Dummies โดย Brenden Bradly (2021)
ที่มาและความสำคัญ
คำว่า ESG (Environmental, Social, Governance) นี้ คาดว่าน่าจะเริ่มต้นขึ้นในโลกการเงินการลงทุนในปี 2005 เมื่อ United Nation ออก Global Compact Report ที่ระบุว่าการลงทุนในตลาดทุนควรพิจารณาจาก ESG Factors ของบริษัทต่าง ๆ เข้าไปด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจ
หลังจากนั้นในวงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็เริ่มตื่นตัวกับคำ ESG โดยในปี 2006 มีการจัดตั้งเครือข่ายนักลงทุนที่ออกหลักการ Principle for Responsible Investment (PRI) โดยมีผู้จัดการกองทุนเข้าร่วมในตอนเริ่มต้น 63 ราย บริหารสินทรัพย์มูลค่า 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเติบโตมาเป็นผู้จัดการกองทุนเข้าร่วม 3,000 คน ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ที่บริหารสูงถึง 103 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากนั้นเพียงเวลาไม่กี่ปี มีการคิดค้นหลักการเทคนิคในการบริหาร ESG Portfolios กันอย่างมากมาย จนในปัจจุบัน ESG Investing ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า A Niche Investment อีกต่อไปแล้ว
ยิ่งในยุคการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หุ้นของบริษัทที่บริหารโดยคำนึงถึงความเสี่ยงด้าน ESG จะสามารถต่อสู้กับความผันผวนนี้ได้อย่างแข็งแรง ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกก็กำลังตามล่าหาหุ้นแบบนี้ที่อาจจะมีกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
นอกจากนี้ ในยุคต่อไปธุรกิจก็ยังเผชิญกับเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น Climate Change, Biodiversity , Social Diversity, Technology Disruption เป็นต้น บริษัทที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนจึงต้องเป็นบริษัทที่มีการปรับตัวได้ดี ซึ่งการที่จะรู้ว่าใครปรับตัวได้ดี จึงต้องสามารถวัดผลที่เกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งในมิติผลการดำเนินงาน (Output) และผลลัพธ์ทางสังคม (Outcomes) รวมทั้งการนำไปเปิดเผย (Disclose) ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบอย่างชัดเจน โดยข้อมูลที่เปิดเผยจะต้องออกจากกรอบ ไม่เพียงการส่งรายงานงบการเงินเท่านั้น แต่ข้อมูลต้องเป็นเชิง Descriptive และในยุคต่อไปจะมีความต้องการทราบข้อมูล ESG Development กันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ความหมายของ ESG
ESG กลายเป็นคำสากลที่ใช้เรียกการลงทุนแบบ Social Responsible Investment โดยในมิติของบริษัทหรือธุรกิจ เป็นการดูว่าบริษัทได้บริหารความเสี่ยงชนิดใหม่เวลาทำธุรกิจหรือไม่ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้บางทีเรียกว่า ESG Risk ส่วนในมิติของนักลงทุนก็นำ ESG ไปใช้เป็นกลยุทธ์การลงทุนชนิดหนึ่ง โดย ESG อาจเกิดจากการผสมผสานของคำ 2 คำ คือ Corporate Sustainability และ Corporate Social Responsivity (CSR)
ในมิติการลงทุน นักลงทุนก็จะแสวงหาและคัดเลือกบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยมี Financial Performance ที่ดี และมี ESG Performance ที่ดีไปด้วยพร้อมกัน โดยอาจพยายามหาหุ้นที่เป็น Best-in-class จาก ESG Scores ที่ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้น
นักลงทุนที่เคร่งครัดมากอาจกำหนดนโยบายที่ชัดเจนว่าไม่มีนโยบายการลงทุนใน Sin Stocks เช่น หุ้นของบริษัทยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ซึ่งในบทวิจัยของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ในอนาคตจะต้องมีส่วนขยายของ ESG Analysis ในบทวิจัยเพิ่มเติมให้กับนักลงทุนที่มีความต้องการข้อมูลเหล่านี้เพิ่มขึ้น การเขียนรายงานวิเคราะห์ก็จะต้องมีส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ESG ที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งในการแยกวิเคราะห์ทีละส่วนของ E, S, G และการสรุปรวม
ในการสร้าง ESG Portfolio อาจสรุปได้ว่าผู้จัดการกองทุน (Fund Managers) จะพิจารณาอย่างน้อย 3 มิติ ดังต่อไปนี้
กรณีของกลุ่มอุตสาหกรรม (Industry Sector) อาจศึกษาได้จาก The Sustainability Accounting Standard Boards (SASB) ซึ่งมี Materiality Map แยกตามรายอุตสาหกรรม ได้แก่
สำหรับกรณีของ Material Indicators ของแต่ละบริษัทที่เป็น ESG Stocks อาจพิจารณาจาก
ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้
จะเห็นได้ว่าทั่วโลกยังเผชิญปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกมาก และเริ่มเข้าขั้นรุนแรงที่สามารถย้อนกลับมากระทบต่อการใช้ชีวิต การแก้ไขก็กำลังรอคอยอย่างเร่งด่วน ดังนั้น “วิถีใหม่การลงทุนอย่างยั่งยืน” จึงจะเป็นคำตอบที่นักลงทุนทุกคนสามารถใช้เป็นกลไกและแรงกดดันให้ภาคธุรกิจหันมาปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจที่ไม่หวังสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความรับผิดชอบที่จะไม่สร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมด้วย เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวของสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และอนาคตที่ดีต่อไปของลูกหลานที่รักของเรา
สำหรับนักลงทุนหรือผู้ที่สนใจการลงทุนอย่างยั่งยืน และต้องการสร้างโอกาสการลงทุนในหุ้นยั่งยืน หรือ หุ้น ESG สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “รอบรู้ลงทุนหุ้น ESG ฉบับมือใหม่” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่
หรือดูรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment: THSI) ปีล่าสุด >> คลิกที่นี่