ในอดีต “การลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainability Investment)” อาจเป็นเครื่องหมายคำถามคาใจของนักลงทุนว่าจะส่งผลบวกต่อการลงทุนได้ยังไง แต่ระยะทางพิสูจน์ม้า...กาลเวลาพิสูจน์คน วันนี้“การลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainability Investment)” ได้เป็นเทรนด์การลงทุนที่น่าสนใจไปเรียบร้อยแล้วและกำลังขยายวงกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว ประโยชน์ที่นักลงทุนสัมผัสได้ชัดเจน คือ หุ้นที่คำนึงถึงเรื่อง ESG จะช่วย ‘ลดความเสี่ยง’ จากปัญหาที่อาจเข้ามากระทบกับบริษัทแบบคาดไม่ถึง เช่น การถูกฟ้องร้องจากการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม หรือการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อราคาหุ้นของบริษัทนั้นได้เช่นกัน
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืน โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social)
และธรรมาภิบาล (Governance)หรือ ‘ESG’ ได้กลายมาเป็นหนึ่งใน ‘เมกะเทรนด์’ ที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน
ทั่วโลก โดยสะท้อนผ่านเม็ดเงินการลงทุนที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความมุ่งมั่นจากทางภาครัฐและ
ภาคเอกชนทั่วโลกที่หันมาตระหนักถึงความสำคัญของ ‘ความยั่งยืน’ ในการลงทุนไปจนถึงการออกเกณฑ์โดย
หน่วยงานกำกับดูแลที่เข้ามามีส่วนสนับสนุนและส่งเสริมทำให้ ‘ธีมการลงทุนอย่างยั่งยืน’ สร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาวและมีศักยภาพการเติบโตได้ต่อไปในอนาคตอีกนานเลยทีเดียว
ในประเทศไทยก็มีการพัฒนาต่อแนวการลงทุนในธุรกิจที่สนับสนุนด้าน ESG มาอย่างต่อเนื่อง เช่น ปี 2558 ในส่วนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเอง ก็มีการสนับสนุนด้าน ESG ด้วยการจัดทำรายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment: THSI) เพื่อเป็นข้อมูลให้กับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นของธุรกิจที่มีนโยบายดำเนินธุรกิจ ESG รวมทั้งจัดทำดัชนี ‘SETTHSI’ ขึ้น เพื่อเป็นดัชนีที่สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาของกลุ่มหลักทรัพย์ดังกล่าวสำหรับด้านกองทุนรวม ก็มีการเปิดตัว ‘กองทุนรวมธรรมภิบาลไทย (Thai CG Fund)’ ของ 11 บลจ. โดยอิงปัจจัยด้าน ‘ธรรมาภิบาล (Governance)’ เป็นหลัก (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ CG Fund) จวบจนปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 3/64 ‘กองทุนรวมยั่งยืน’ มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น จำนวน 58 กองทุน คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินรวมอยู่ที่ 5.7 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้น 96% จากต้นปี (ที่มา: สมาคมบริษัทจัดการลงทุน)
“อย่างไรก็ตามในจำนวน 58 กองทุน นั้น ส่วนใหญ่เป็น ‘กองทุนที่ลงทุนต่างประเทศ’ ในส่วนที่กองทุนมีการลงทุนในประเทศปัจจุบันมีเพียง 5 บลจ. ได้แก่ บลจ.เกียรตินาคินภัทร, บลจ.กรุงไทย, บลจ.บัวหลวง, บลจ.ทิสโก้ และ บลจ.เอ็กซ์สปริง มีมูลค่าทรัพย์สินรวมกันประมาณ 2.1 พันล้านบาท คิดเป็นเพียง 3.6% ของมูลค่าการลงทุนยั่งยืนทั้งหมดเท่านั้น (ที่มา: บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย)) เหตุผลสำคัญเพราะกระแสการลงทุนนี้เกิดขึ้นมานานแล้วในต่างประเทศที่มีจุดเริ่มต้นจากยุโรปก่อนจะกระจายไปในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกในระยะถัดไปนั่นเอง แต่กระแสหลักของการลงทุนในกลุ่มESG ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเมกะเทรนด์ที่มาแรง แม้การลงทุนในหุ้นไทยก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าซื้อเก็บเข้าพอร์ตลงทุน”
เมื่อพูดถึง ‘กองทุน ESG’แล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่คงนึกเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของ ‘ผลตอบแทน’ ที่มาพร้อมกับ ‘การดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)’ ควบคู่กันไป เรียกว่า เป็นการลงทุนที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่ของ ‘การลงทุน’ และ ‘รักษ์โลก’ ไปพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว
โดยบางกองทุนเมื่อดูจากชื่อแล้วก็พอจะนึกได้เลยว่าจัดอยู่ในประเภทของ “กองทุน ESG” เช่น กองทุนที่เกี่ยวกับพลังงานสะอาด, กองทุน Climate Change เป็นต้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว อาจดูจากชื่อกองทุนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องลงลึกไปดูถึง “กระบวนการลงทุน” ของกองทุนนั้น ๆ ว่ามีการนำเรื่องของ ESG มาอยู่ในกระบวนการลงทุนด้วยหรือไม่
‘การลงทุนแบบยั่งยืน’ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก
“การลงทุนแบบยั่งยืน” เป็นภาพรวมซึ่งยังสามารถแยกย่อยลงไปได้อีก ทาง ‘มอร์นิ่งสตาร์’ ได้จัดแบ่งประเภทของกลุ่ม “กองทุนแบบยั่งยืน” แตกย่อยลงเป็น 3 ประเภท ได้แก่
“จะเห็นว่าในภาพรวมของ ‘การลงทุนอย่างยั่งยืน’ ไม่ว่าจะจัดอยู่ในประเภทไหนก็ตาม จะวางบนแนวคิดที่ ‘ESG Integration (Risk Adjusted Return)’ เพื่อให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยผู้จัดการกองทุนจะนำปัจจัยด้าน ESG เข้ามาประกอบการตัดสินใจลงทุนด้วย ไม่ได้มองเพียงมิติในด้านการเงินเพียงอย่างเดียวเช่นในอดีต”
‘ESG’ตอบโจทย์ผู้เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร... ‘ลดความเสี่ยง’ ในระยะสั้น-ตอบโจทย์ธุรกิจในระยะยาว
ประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของ ‘การลงทุนแบบยั่งยืน (ESG)’นั้นเรียกว่ามีผลกระทบเป็นลูกโซ่ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำเลยก็คงไม่ผิดนัก เป็นกระแสหลักที่ช่วยผลักดันให้โลกหันมาสนใจในเรื่องนี้แบบครบวงจร เมื่อบริษัทที่มีการลงทุนในเรื่องของ ESG ได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่เข้ามาร่วมลงทุนก็จะส่งผลบวกต่อบริษัทอย่างปฏิเสธไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาลงทุนใน “หุ้น” หรือ “ตราสารหนี้” ก็ตาม ทำให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นด้วยต้นทุนที่ดีกว่าในอนาคตในขณะที่บริษัทที่ให้ความสำคัญเรื่องของ ESG น้อยหรือไม่มากนัก อาจจะไม่ได้เข้ามาอยู่ในเรดาร์ของการลงทุนอีกต่อไป
“ในมุมของนักลงทุนเอง การลงทุนในเรื่องของ ESG ไม่ได้กลายเป็น ‘ต้นทุน’ ที่อาจกระทบผลประกอบการของบริษัทอย่างที่เคยมองกันในอดีตอีกต่อไป แต่เป็น ‘การลงทุน’ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตในระยะยาว แน่นอนว่าเมื่อบริษัทเหล่านี้คำนึงถึงเรื่อง ESG ย่อมจะส่งผลกระทบในเชิงบวกออกไปถึงชุมชนรอบข้างด้วยเช่นกัน ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจในระยะสั้นจากปัจจัยเรื่อง ESG ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวนี้มากขึ้นตามลำดับ ซึ่งย่อมจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทในระยะยาว ซึ่งแน่นอนว่าในท้ายที่สุดแล้วก็จะสะท้อนมาสู่ราคาหุ้นของบริษัทนั้นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นกลุ่ม ‘กองทุน ESG’ จึงมีคำแนะนำการลงทุนที่มุ่งหวังผลตอบแทนในระยะยาวเป็นสำคัญ”
อย่างไรก็ตาม หากดูภาพรวมของผลตอบแทนของกลุ่ม “กองทุนแบบยั่งยืน” ในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าสามารถทำผลตอบแทนได้ในระดับที่ดีแม้จะอยู่ในช่วงของวิกฤติ COVID-19 ก็ตาม (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 64,
บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย)) ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเฉลี่ย 15.7% และย้อนหลัง 1 ปี เฉลี่ย 31.1%
“สำหรับผลตอบแทนของ ‘กองทุนแบบยั่งยืน’ นั้น ไม่ได้ด้อยกว่า ‘กองทุนหุ้นแบบปกติ’ แต่ประการใด และหาก
ผลกระทบในเชิงบวกจากการลงทุนแบบ ESG ที่บริษัทได้ลงทุนไปสะท้อนกลับมา ก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ESG Premium’ ที่จะบวกเพิ่มกลับมาอยู่ในผลตอบแทนระยะยาวอีกทางหนึ่งด้วยเช่นกัน”
หากคุณกำลังมองหา‘เมกะเทรนด์’ ที่เป็นการลงทุนแห่งอนาคต กลุ่ม ‘กองทุน ESG’ ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สามารถตอบโจทย์การลงทุนของคุณได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากที่จะได้ ‘ผลตอบแทน’ แล้วยังได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้บริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญและตระหนักถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้นในทุกๆ มิติทั้ง ‘สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)’ ควบคู่กันไป
>>สนใจเปิดบัญชีกองทุนรวม: คลิกเลย!!
คำเตือน: ผลตอบแทนในอดีต มิได้รับประกันถึงผลตอบแทนในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน