“ไม่มีอะไรในโลกที่ไม่มีความเสี่ยง การเป็นมนุษย์เงินเดือนก็เสี่ยงพอๆ กับทำอาชีพอิสระนั่นแหละ
ถ้าอยู่ดีๆ บริษัทเกิดขาดทุน เจ๊งขึ้นมา เคยคิดกันหรือเปล่าว่า ถึงเวลานั้นจะทำอย่างไรกัน”
ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี อาจจะทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนเกิดความกังวล และรู้สึกถึงความเสี่ยงในการถูกออกจากงาน ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนั้นจริงจะทำอย่างไร จะเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่าย หากเราไม่ได้มีการวางแผนทางการเงินที่ดีก็จะทำให้ลำบากได้ เพราะฉะนั้นแล้วในช่วงเวลาที่เราสามารถทำงานได้อย่างปกติก็ควรเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงเรื่องการตกงานด้วย ลองมาดู “4 เคล็ดลับช่วยวางแผนคุ้มครองรายได้” ดังนี้
1. วางแผนคุ้มครองรายได้จากเงินออม
ควรออมเงินเอาไว้เผื่อช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี และตั้งงบประมาณสำรองเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน โดยการคำนวณค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของตัวเองและสำรองเงินไว้ตามที่กำหนด ลองเขียนออกมาดูเลยว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างในแต่ละเดือน เช่น
นั่นหมายความว่า หากเราเกิดตกงานขึ้นมาแล้วไม่เงินสำรองเลย จะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในช่วงที่กำลังหางานใหม่ ดังนั้น ควรเก็บเงินสำรองอย่างน้อย 3 – 6 เดือนเอาไว้ คิดเป็นประมาณ 48,000 - 96,000 บาท ด้วยการทยอยออมเงินจากรายได้ในแต่ละเดือนให้ครบตามที่กำหนด
เราควรเลือกรูปแบบการเก็บเงินสำรองฉุกเฉินที่มีความปลอดภัยและมีสภาพคล่องสูง เช่น เงินฝากออมทรัพย์ หรือกองทุนรวมตลาดเงินที่นอกจากจะได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์แล้ว ยังมีสภาพคล่องสูงกว่าบัญชีเงินฝากประจำ สนใจเปิดบัญชีกองทุนรวม >> คลิกที่นี่
คงเป็นเรื่องยากสำหรับมนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนที่จะแบ่งเวลาไปประกอบอาชีพอื่น แต่เราสามารถให้เงินทำงานแทนเราได้ด้วยการนำเงินออมที่มีอยู่มาลงทุนในกองทุนรวมหุ้นหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีการจ่ายเงินปันผล อย่างน้อยเวลาตกงานจะได้มีเงินสดเอาไว้ใช้ยังชีพ หรือถ้ามีความรู้และประสบการณ์มากพอ ก็อาจหาโอกาสลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีความมั่นคงและมีศักยภาพในการเติบโตต่อไปในอนาคต เพื่อให้เงินลงทุนของเราเติบโตไปพร้อมกับกิจการด้วย
3. ใช้สิทธิเงินทดแทนรายได้จากกองทุนประกันสังคม
หากเราจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย กองทุนประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนให้ โดยเราต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน โดยมีเกณฑ์การได้รับเงินทดแทนดังนี้
ในการตกงานและเลิกจ้างโดยที่เราไม่ได้ลาออกเองโดยสมัครใจนั้น จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานอยู่แล้ว สามารถตกลงกับนายจ้างเพื่อขอรับเงินชดเชยได้ตามอายุการทำงานดังนี้
การวางแผนคุ้มครองรายได้สามารถทำได้หลายทาง ตั้งแต่การวางแผนเงินออมและเงินฉุกเฉินของตัวเอง การมีรายได้ที่มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม และการใช้สิทธิตามกฎหมายของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน เพราะฉะนั้น อย่าลืมวางแผนทางการเงินเพื่อคุ้มครองรายได้เมื่อต้องประสบภาวะวิกฤติของชีวิต