“เงินเฟ้อ” เป็นเสมือนมะเร็งร้ายทางการเงิน ที่จะคอยบั่นทอนอำนาจซื้อของเงินชนิดไร้ปรานีไม่มีที่สิ้นสุด
รู้หรือไม่?...ช่วงปี 1974-2020 “เงินเฟ้อ” ของไทยเคยขึ้นไปสูงสุด 24.3% และต่ำสุด -0.9% (ที่มา: The World Bank) แม้ว่าในปัจจุบันกรอบนโยบายเงินเฟ้อจะถูกกำหนดไว้ในช่วง 1-3% แล้วก็ตาม (ที่มา: ข้อมูลเป้าหมายเงินเฟ้อสำหรับระยะปานกลางและสำหรับปี 2564, ธนาคารแห่งประเทศไทย ) แต่อัตราเงินเฟ้อก็ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ จะเห็นได้จากราคาสินค้าที่มีการปรับตัวสูงขึ้น เช่น เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ข้าวผัดกระเพราหมูสับ
ราคาจานละ 15-20 บาท แต่ในปัจจุบันราคาจานละ 40-50 บาท เป็นต้น
หากสมมุติว่า เกิดอัตราเงินเฟ้อที่อัตราเฉลี่ย 3% ต่อปี เงิน 100 บาทของคุณเก็บเอาไว้โดยไม่ได้ทำอะไรเลย
ผ่านไปประมาณ 24 ปี ‘อำนาจซื้อ’ ของเงินจะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
“นั่นหมายความว่า หากคุณเคยซื้อของชิ้นหนึ่งด้วยเงิน 100 บาท ผ่านไปอีก 24 ปี คุณจะซื้อของชิ้นเดิมด้วยเงิน
100 บาทไม่ได้แล้ว แต่ต้องใช้เงินที่มากขึ้น หรือถ้าจะใช้เงิน 100 บาท เท่าเดิม ก็จะซื้อของได้น้อยลง นั่นเอง”
‘ผลตอบแทนที่ดี’...วัคซีนต่อต้าน ‘เงินเฟ้อ’
ตามความหมายของ ‘เงินเฟ้อ’ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าพิจารณาจาก ‘ค่าของเงิน’ เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่ค่าเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ลองคิดตามถึงตั๋วหนังที่ดูในโรงภาพยนตร์ ปัจจุบันมีราคาทะลุ 200 บาท เข้าไปแล้ว จำได้ว่าในอดีตไม่ใช่ราคานี้นะ น่าจะพอเห็นภาพกันแล้วว่า ถ้าคุณมีเงิน 100 บาท เท่าเดิม ในอดีตคุณอาจดูหนังได้ แต่ตอนนี้..ตั๋วหนังก็อาจจะซื้อไม่ได้แล้ว
นั่นล่ะ...ผลกระทบจากเงินเฟ้อล่ะ”
อันตรายของ “เงินเฟ้อ” คือกลไกการทำงานแบบ ‘ส่วนลดทบต้น (Compound discounts)’ นั่นเอง ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงกลไกการทำงานของ ‘ดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest)’ ที่นักลงทุนทุกคนต่างทราบถึงศักยภาพในการสร้างสรรค์ ‘ผลตอบแทน’ ในระยะยาวได้เป็นอย่างดี เป็นเสมือน “แฝดคนละฝา” ที่ฝ่ายหนึ่ง ‘เพิ่มพูน’ มูลค่าของเงิน ในขณะที่อีกฝ่าย ‘บั่นทอน’ มูลค่าของเงิน แต่ผ่านกลไกการทำงานที่เหมือนกัน
“มาถึงตรงนี้...คุณคงตระหนักแล้วว่า ทำไมต้องขยับสู่ ‘การลงทุน’ เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่ดี และอย่างน้อยที่สุดควร ‘ดีกว่าเงินเฟ้อ’ ด้วย เพราะจะไม่เพียงแค่รักษา ‘อำนาจซื้อ’ ของเงินคุณเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มอำนาจซื้อของคุณในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้น ‘ผลตอบแทนสุทธิ (=ผลตอบแทน-เงินเฟ้อ)’ จึงเป็นเป้าหมายที่นักลงทุนทุกคนควรมองมากกว่า”
แล้วมีการลงทุนแบบไหนที่ “เอาชนะเงินเฟ้อ” ได้บ้าง? ปัญหานี้มีคำตอบ...ทางเลือกการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อนั้น มีอยู่ในกลุ่มของ “กองทุนรวม” ซึ่งสามารถแบ่งเลือกลงทุนได้หลากหลายประเภท ในที่นี้ ยกตัวอย่างใน 4 กลุ่มที่น่าสนใจ ได้แก่ กองทุนรวมหุ้น, กองทุนรวมผสม, กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมทองคำ
“กองทุนรวมหุ้น”…ผลประกอบการเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ-ผลตอบแทนเหนือ ‘เงินเฟ้อ’ ในระยะยาว
สำหรับ “กองทุนรวมหุ้น” เป็นกลุ่มกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนต่อสู้กับเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดีในระยะยาว เพราะกองทุนจะนำเงินไปลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งแต่ละบริษัทที่ทำธุรกิจ ย่อมตั้งมาเพื่อปรารถนาผลกำไร ส่วนบริษัทจะทำได้ดีแค่ไหนนั้น..เป็นอีกเรื่อง โดยจะมี ‘ผู้จัดการกองทุน’ ที่มีหน้าที่ต้องไปเฟ้นหาหุ้นของบริษัทที่ดีเพื่อเข้าไปลงทุน
โดยภาพรวมการทำธุรกิจและเป็นเจ้าของกิจการเองนั้น ถือว่ามีความเสี่ยงสูง โอกาสได้รับผลตอบแทนจึงสูงตามไปด้วย การเข้าไปลงทุนในหุ้นซึ่งแม้จะลงทุนผ่าน “กองทุนรวมหุ้น” ก็ยังคงแนวคิดของการเข้าไปลงทุนในกิจการนั้นโดยตรงอยู่นั่นเอง ซึ่งต้องไม่ลืมว่า เมื่อเศรษฐกิจเติบโต บริษัทก็จะมีกำไรมากขึ้น มีกำลังจ่ายค่าจ้าง คนมีกำลังซื้อ
ก็นำเงินออกมาใช้จ่ายหมุนเวียน ธุรกิจก็พร้อมจะขยายการลงทุน ซึ่งโมเมนตัมนี้ย่อมส่งผลดีต่อหุ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้
“กองทุนรวมผสม”…ส่วนผสมของ ‘หุ้น’ ที่ช่วยดึงผลตอบแทนให้ ‘ชนะเงินเฟ้อ’
กลุ่ม “กองทุนรวมผสม” เป็นรูปแบบกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนทั้งในหุ้นและตราสารหนี้ เพื่อโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นและเป็นการกระจายความเสี่ยงไปในเวลาเดียวกัน โดยตามเกณฑ์ของ “สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)” นั้น จะแบ่งเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน โดยใช้เกณฑ์การลงทุนใน “หุ้น” เป็นตัวแบ่ง ได้แก่
ด้วยส่วนผสมของ “หุ้น” ในกลุ่ม “กองทุนผสม” ที่ลงทุนในหุ้น ‘ปานกลาง-สูง’ จึงเป็นอีกกลุ่มกองทุนที่สามารถต่อสู้เงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนกลุ่มนี้ในระยะยาวยังคงลักษณะเด่นของ ‘หุ้น’ เอาไว้ แม้อาจจะไม่สูงเท่ากับ “กองทุนรวมหุ้น” ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นผลตอบแทนที่ดีกว่ากลุ่ม “กองทุนรวมตราสารหนี้” เรียกว่าอยู่กึ่งกลางซึ่งจะขึ้นกับน้ำหนักของหุ้นที่กองทุนนั้นๆ ผสมอยู่ ตามนโยบายการลงทุนเป็นสำคัญ
“นั่นทำให้กลุ่มกองทุนผสม ‘Aggressive Allocation’ ที่มุ่งให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นค่อนข้างสูงจึงเป็นกลุ่มที่ตอบโจทย์การลงทุนเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดีในระยะยาว ซึ่งก็มีให้เลือกลงทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศเช่นเดียวกัน”
“กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์”…ค่าเช่าที่ปรับขึ้นตาม ‘เงินเฟ้อ’
เชื่อว่าถ้ามีโอกาสและศักยภาพที่จะลงทุนแล้ว “อสังหาริมทรัพย์” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจ เพราะการลงทุนประเภทนี้กำไรที่ได้มาจะอยู่ในรูปแบบของการเก็บกิน “ค่าเช่า” ไม่ว่าจะเป็นที่ดินปล่อยเช่า, ตึกปล่อยเช่า, หรือคอนโดปล่อยเช่า เป็นต้น แน่นอนว่าการจะเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แบบทางตรง ต้องใช้เงินทุนค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้สามารถทำได้ ‘สะดวก ง่ายดาย และใช้เงินน้อย’ โดยผ่าน
รูปแบบของ “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” นั่นเอง ที่สำคัญ อสังหาริมทรัพย์บางประเภทยังเป็น “ข้อจำกัด” ที่ต่อให้มีเงินระดับ 100 ล้านบาท ก็ใช่ว่าจะเข้าไปลงทุนได้ เช่น ศูนย์การค้า, โรงไฟฟ้า, นิคมอุตสาหกรรม หรือโรงแรม เป็นต้น แต่ด้วยเครื่องมืออย่าง “กองทุนรวม” สามารถทำได้ เงินน้อยก็ลงทุนได้ในสินทรัพย์คุณภาพ ที่หากจะลงทุนโดยตรงด้วยตัวเองเรียกว่า...แทบเป็นไปไม่ได้เลย !!!
“โดยการลงทุนที่ผ่านกองทุนรวมยังคงคุณสมบัติของการลงทุนใน ‘อสังหาริมทรัพย์’ เอาไว้ทุกประการ เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ด้วยรูปแบบการลงทุนที่มีกระแสรายได้จาก ‘ค่าเช่า’ อย่างสม่ำเสมอ และมาจ่ายคืนผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน ขึ้นกับประเภทของสินทรัพย์และลักษณะของ
การเข้าไปลงทุน ซึ่งปกติ ‘ค่าเช่า’ จากอสังหาริมทรัพย์จะมีการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้ออยู่แล้ว นี่ยังไม่นับรวมกับโอกาสเติบโตจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย”
ปัจจุบัน นอกเหนือจากการลงทุนใน “กลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์” ได้แล้ว ยังมีรูปแบบการลงทุนในกลุ่ม
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ “กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์
(Fund of Property Funds)” ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่จะเข้าไปเลือกลงทุนในกลุ่มกองทุนอสังหาริมทรัพย์อีกครั้งหนึ่ง โดยมี “ผู้จัดการกองทุน” จะทำหน้าที่บริหารจัดการกองทุนให้มีการกระจายการลงทุนที่ดี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่กำหนดไว้ด้วย ซึ่งสามารถลงทุนผ่าน “บลจ.” หรือ “ตัวแทนขาย” ของบลจ. นั้น ๆ ได้เลย
“กองทุนรวมทองคำ”…สินทรัพย์ ‘ต่อสู้เงินเฟ้อ’
สุดท้าย คือ “ทองคำ” ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณสมบัติในการ “ต่อสู้กับเงินเฟ้อ (Inflation Hedge)” อยู่แล้วเพราะมีคุณสมบัติในการ ‘รักษามูลค่าของตัวเอง’ ไม่ให้ถูกเงินเฟ้อกัดกร่อนไปตามกาลเวลา โลกรู้จักทองคำมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลกไม่ว่าชาติไหน ผ่านกาลเวลา ผ่านวิกฤติมานับไม่ถ้วน แต่ทองคำก็ยังไม่ด้อยค่าลงไปแต่ประการใด จึงถูกจัดเป็นสินทรัพย์ที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี
“ดังนั้นถ้าเงินเฟ้อมา ราคาทองคำก็จะปรับตัวสูงขึ้นไปตามอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รักษามูลค่าของตัวเองเอาไว้ได้นั่นเอง ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า เมื่อมีความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อ มักจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำอยู่เสมอ”
ปัจจุบัน การลงทุนใน “ทองคำ” มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะลงทุนเองโดยตรงในทองคำรูปพรรณหรือทองคำแท่ง เป็นต้น แต่หนึ่งในรูปแบบที่น่าสนใจและตอบโจทย์นักลงทุนทั่วไปเป็นอย่างยิ่งก็คือการลงทุนผ่าน “กองทุนรวม”
ที่ไปลงทุนในทองคำ หรือที่เรียกว่า “กองทุนทองคำ” นั่นเอง
“เพราะเป็นการลงทุนที่ใช้เงินลงทุนน้อย หลักร้อยก็ลงทุนได้แล้ว ที่สำคัญ ‘กองทุนทองคำ’ เหล่านี้ก็ไปลงทุนในกองทุนหลักในต่างประเทศที่ลงทุนใน ‘ทองคำแท่ง’ จริงๆ มาตรฐานโลกที่เรียกว่า ‘Four Nine (99.99)’ ที่คุณอาจจะเคยเห็นกันในหนังหรือรูปภาพที่เป็นทองคำแท่งนั่นเอง แท่งหนึ่งหนัก 12.4 กก. หรือประมาณ 400 ทรอยออนซ์ โดยมีเป้าหมายการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนให้ใกล้เคียงกับความเคลื่อนไหวของราคาทองคำโลกให้มากที่สุดนั่นเอง นั่นจึงเสมือนคุณได้เข้าไปลงทุนในทองคำจริงๆ เลยทีเดียว”
ปัจจุบันราคาทองอยู่ที่ประมาณ 1,750-1,800 ดอลลาร์ต่อทรอยออน์ ตกทรอยออนซ์ละ 52,500-54,000 บาท (คำนวณที่ค่าเงิน 30 บาทต่อดอลลาร์) แท่งหนึ่ง 400 ทรอยออนซ์ นั่นคือเงินที่คุณต้องจ่ายเพื่อลงทุน แต่เราสามารถลงทุนในทองคำแท่ง 99.99% ได้ ผ่านกองทุนรวมด้วยเงินแค่หลักร้อยก็ลงทุนได้แล้ว นี่จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว ไม่เพียงเท่านี้การลงทุนในทองคำยังช่วยในเรื่องของ ‘การกระจายความเสี่ยง’ ให้กับพอร์ตการลงทุนได้อีกด้วย เพราะเป็นสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ลงทุนอื่นค่อนข้างน้อย
“กองทุนรวม” เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างผลตอบแทนให้ “ชนะเงินเฟ้อ” ได้ ซื่งจะช่วยรักษาอำนาจซื้อของเงินคุณ พร้อมทั้งตอบโจทย์การสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวให้กับเงินของคุณ และนอกจากการเลือกลงทุนในกองทุนประเภทใดประเภทหนึ่งแล้ว เรายังสามารถใช้กองทุนรวมช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดย “การจัดพอร์ตการลงทุน” (Asset Allocation) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เช่นกัน
>> สนใจเปิดบัญชีกองทุนรวม: คลิกเลย!!
คำเตือน: ผลตอบแทนในอดีต มิได้รับประกันถึงผลตอบแทนในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน