"เงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ ของกินของใช้มีราคาแพงขึ้นนั่นเอง"
เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนคงทราบกันดีว่า สถานการณ์เงินเฟ้อในทุกวันนี้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาพุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี ในขณะที่ในไทย อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี ส่งผลให้ข้าวของเครื่องใช้ อาหาร หรือสินค้าอื่นๆ มีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าขนมที่ได้รับจากผู้ปกครองหรือรายได้จากงานพิเศษ จึงอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
น้องๆ หลายคน เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เงินเฟ้อที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันก็อาจรู้สึกตกใจ และยังไม่รู้ว่าจะรับมือกับปัญหานี้อย่างไรดี? ก่อนอื่นจึงต้องมาทำความรู้จักกับ “เงินเฟ้อ” กันก่อนว่าคือ สถานการณ์ที่ราคาสินค้าหรือบริการ เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ด้วยเงินจำนวนเท่ากัน กำลังซื้อของคนจะลดลงตามไปด้วย
เงินเฟ้อ เกิดจากอะไรบ้าง?
ผลกระทบของเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อทำให้ค่าของเงินลดลง ดังนั้น หากจะซื้อของเท่าเดิมก็ต้องใช้เงินเยอะขึ้น แต่หากมีเงินเท่าเดิมก็จะซื้อของได้น้อยลง สมมติเช่น หากย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ถ้าน้องๆ มีเงินอยู่ 80 บาท จะซื้อข้าวผัด 1 จาน กับ น้ำอัดลมได้อีก 1 แก้ว แต่เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เงินเฟ้อ ในปัจจุบันเงิน 80 บาทของน้องๆ อาจซื้อได้แค่ข้าวผัด 1 จานเท่านั้น
อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูงยิ่งทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงที่ได้รับจากการลงทุนต่างๆ มีค่าลดลง เช่น หากได้รับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตรา 1.5% ต่อปี แต่หากราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมา 2% แสดงว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ได้รับจะติดลบหรือเท่ากับ -0.5% ต่อปี
วิธีจัดการกับเงินเฟ้อ
หากเราออมเงินแล้วเก็บไว้เฉยๆ ไม่นำไปลงทุนต่อยอด เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น แน่นอนว่ากำลังซื้อของเงินก้อนนี้จะต้องลดลงอย่างแน่นอน แต่หากเราเลือกที่จะต่อสู้กับสถานการณ์เงินเฟ้อ ด้วยการนำเงินออมไปลงทุนเพิ่มมูลค่า ก็จะช่วยลดผลกระทบเรื่องอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ตัวอย่างสินทรัพย์ที่มักจะถูกแนะนำให้ลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ คือ ทองคำ หุ้นกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์เงินเฟ้อ แต่สินทรัพย์เหล่านี้ก็มีความเสี่ยงในระดับหนึ่ง แต่หากเรายังรับความเสี่ยงได้ต่ำ ช่องทางลงทุนที่ทุกคนเริ่มได้ไม่ยากในภาวะแบบนี้ คือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เพราะในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ธนาคารกลางมักจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามไปด้วยเพื่อสู้กับเงินเฟ้อ ในช่วงสถานการณ์ไม่แน่นอนเช่นนี้ การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นซึ่งมีความผันผวนน้อยกว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะยาว จึงนับเป็นอีกทางเลือกที่ดีในการรับมือกับสถานการณ์เงินเฟ้อ
วางแผนหางานพิเศษ เพื่อสร้างรายได้เสริม
ในช่วงเวลาที่ไม่ได้มีคลาสเรียนหรือในช่วงปิดเทอม มาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการค้นหาตัวเองดูกันว่าเราสนใจหรือถนัดสิ่งไหนเป็นพิเศษ แล้วมองหางานเสริมที่เหมาะกับตัวเรา นอกจากจะช่วยฝึกทักษะการทำงานให้กับเราแล้ว ยังได้รายได้พิเศษมาเพิ่ม ช่วยสร้างฐานเงินลงทุนไว้ตั้งแต่วันนี้
วางแผนการใช้จ่ายเงิน ซื้อเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
เมื่อน้องๆ ได้รับเงินมาจากคุณพ่อคุณแม่ ให้เริ่มวางแผนทำรายรับ-รายจ่ายทันที ลองคำนวนกันให้ดีๆ ว่าในแต่ละเดือนต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ตั้งเป้าหมายการออมเงินในแต่ละเดือนให้ชัดเจนด้วย เมื่อวางแผนเรื่องการใช้เงินแล้ว ก็ต้องมาปรับพฤติกรรม ลดการช้อปปิ้งออนไลน์แบบรัวๆ ด้วยเห็นอะไรก็กดลงตะกร้าไปหมด แบบนี้ขอให้เลิกโดยด่วน ช้อปเฉพาะของที่จำเป็นเท่านั้น ถ้าทำได้ตามที่วางแผนไว้ เมื่อถึงสิ้นเดือนน้องๆ ก็จะมีเงินเหลือเก็บแน่นอน
คงจะเห็นกันแล้วใช่มั้ยว่าเงินเฟ้อ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับทุกคนอีกต่อไป การรู้จักที่จะลงทุนเพิ่มค่าเงินออม เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อจึงเป็นเรื่องที่น้องๆ ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น และสำหรับน้องนักศึกษาที่อยากเริ่มต้นลงทุนเพิ่มค่าเงินออมต่อสู้่กับเงินเฟ้อ อาจเริ่มต้นกับช่องทางลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น โดยหากเริ่มต้นออมเงินพร้อมเข้าร่วมโครงการ “AOM YOUNG” ก็มีสิทธิประโยชน์มากมายรออยู่
✔ เริ่มต้นลงทุนเพียง 100 บาท
✔ เงินออมงอกเงย มีเงินเก็บไปเติมเต็มความฝัน
✔ น้องๆ ผู้กู้ยืม กยศ. นับชั่วโมงจิตสาธารณะ 1 ชม. ทุกการออม 1 เดือน
สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดโครงการ “AOM YOUNG” ออมเงินผ่านกองทุนรวมเพื่อประโยชน์ดีๆ ได้ที่: www.setinvestnow.com/aomyoung