การลงทุนในธีมอีสปอร์ต Game Over หรือแค่ต้องกดปุ่มเพื่อ Continue

โดย ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย)
3 Min Read
30 กันยายน 2564
3.39k views
Inv_การลงทุนในธีมอีสปอร์ต Game Over_Thumbnail
Highlights
  • ธีมอีสปอร์ตเป็นหนึ่งในธีมแห่งอนาคต เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็สามารถรับความผันผวนได้สูง

  • การลงทุนใน E-Sports สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุนรวม ETF ที่เน้นลงทุนในอุตสาหกรรม E-Sports โดยมี 3 กองทุนที่โดดเด่น ได้แก่ กองทุน HERO, ESPO และ NERD

พูดถึงการลงทุนในธีมอีสปอร์ต (E-Sports) ช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนหลายท่านบ่นว่าต้องเจอกับทั้งเรื่องร้อน ๆ เมื่อเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ (Reopening) พร้อมกับเรื่องหนาว ๆ อย่างการที่ทางการจีนออกเกณฑ์ควบคุมธุรกิจเกมออนไลน์อย่างหนักหน่วง ทำให้หลายคนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าอนาคตการลงทุนธีม Online Gaming และ E-Sports นี้เรียกว่า Game Over ไปแล้วหรือไม่

 

การชะลอตัวของธุรกิจเป็นเรื่องจริงที่หลีกเลี่ยงยาก

จากข้อมูลของ NPD Group ยอดขายเกมในสหรัฐฯ ลดต่ำลงตั้งแต่ช่วงต้นปีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ช่วง Reopening การจะหวังให้ธีมมีการประยุกต์ใช้สูงเหมือนช่วง Lockdown ไม่ใช่เรื่องง่าย การชะลอตัวนี้เป็นแนวโน้มระยะกลางที่นักลงทุนควรต้องระวังต่อเนื่องในปี 2021 ถึงช่วงต้นปี 2022 เป็นอย่างน้อย

 

ส่วนในฝั่งเอเชีย การกำกับควบคุมไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อจำกัดของผู้เล่น หรือเวลาในการเล่นเกมของทางการจีน จะเข้ามากระทบรายได้ของธุรกิจต่อจากนี้เป็นต้นไป ดังนั้น อนาคตของธีมในระยะสั้นจึงไม่สดใสเหมือนในอดีต

 

แต่ในระยะยาว คำถามที่แท้จริงคือจะมีการบริโภคหรือความบันเทิงอื่น ๆ ที่สามารถเข้ามาแทนที่ได้หรือไม่ และนักลงทุนมีวิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมแล้วหรือยัง

มองไปในอนาคต ธีมอีสปอร์ตเป็นหนึ่งในธีมใหญ่ของธีมวิวัฒนาการการบริโภค (Consumer Evolution) ซึ่งธีมนี้มีความโดดเด่นด้านการตอบรับจากสังคมสูง ดังนั้นความเสี่ยงที่แท้จริงของธีมนี้ จึงมีอยู่ 3 รูปแบบ

 

  1. ผู้บริโภคกลับไปให้ความสำคัญกับกีฬารูปแบบเดิมมากขึ้น ประเด็นนี้ แม้จะน่ากังวลแต่โอกาสอาจไม่ได้สูงอย่างที่คิด เพราะเมื่อมนุษย์เข้าใจและได้ใช้เทคโนโลยีแล้ว ส่วนใหญ่มักไม่ย้อนกลับไปสู่พฤติกรรมรูปแบบเก่า 100% มีความเป็นไปได้มากกว่าที่ธุรกิจ E-Sports จะหาทางร่วมกับธุรกิจกีฬารูปแบบเดิมเพื่อสร้างแนวทางการเล่นกีฬารูปแบบใหม่ ๆ ต่อไปจากนี้
  2. ผู้กำหนดนโยบายมีการควบคุมหนักต่อเนื่องจนภาคธุรกิจไม่สามารถทนต่อไปได้ ความเสี่ยงนี้ถือว่าใหญ่ที่สุดของธุรกิจ แต่นักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการการกระจายการลงทุนไปในประเทศต่าง ๆ หรือกระจายไปนอกธุรกิจที่เป็น Video Games โดยตรง
  3. รูปแบบของความบันเทิงเปลี่ยนไปเร็วขึ้นไปอีก ประเด็นนี้เป็นความเสี่ยงเฉพาะของธีม Consumer Evolution ทั้งหมด เพราะแทบทุกกิจกรรมไม่ได้มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ส่วนใหญ่ไม่ได้มีต้นทุนในการจัดตั้งธุรกิจหรือเกมใหม่ที่สูง จึงทำให้ทุกธุรกิจเป็นทั้ง Disruptor และ Innovator และมีความเสี่ยงในการถูกแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปพร้อมกัน กรณีนี้นักลงทุนต้องปรับตัวด้วยการกระจายการลงทุนไปในธุรกิจ Hardware หรือ Media แทนที่ E-Sports หรือ Video Games โดยตรงเพื่อเพิ่ม Barrier of Entry ของกลุ่มการลงทุน

 

สำหรับการลงทุนเมื่อพูดถึง E-Sports ก็ต้องรู้จักสามกองทุนรวม ETF ที่โดดเด่น ได้แก่ HERO, ESPO และ NERD

HERO หรือ Global X Video Games & Esports ETF

  • บริหารโดย Global X Management Co. บลจ.สัญชาติอเมริกันในกลุ่มการเงิน Mirae Asset Financial Group มีความโดดเด่นด้านการบริหาร Thematic Growth ETF ปัจจุบันมี ETF กว่า 32 ธีม
  • HERO เป็น Passive ETF ซื้อขายที่ตลาด Nasdaq ลงทุนตามดัชนี Solactive Video Games & Esports Index ประกอบด้วย 30-40 บริษัทที่มีรายได้มาจาก Video Games และ E-Sports ซึ่งมีทั้งผู้ผลิต Software Hardware ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงบริการ Streaming หรือจัดแข่งขัน E-Sports โดย Solactive จะจัดสัดส่วนตาม Market Cap. และปรับองค์ประกอบทุกครึ่งปี (ม.ค. / ก.ค.)
  • ปัจจุบัน HERO มีการลงทุนในอุตสาหกรรมสื่อสาร 75% เทคโนโลยี 17% และ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยราว 8% โดยบริษัทที่ลงทุนอยู่ในสหรัฐอเมริกา 29% ญี่ปุ่น 26% เกาหลีใต้ 12% จีน 10% และสิงคโปร์ 8%
  • เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ชอบตามเทรนด์ เพราะเป็นธีมที่มีการขึ้นลงตามวัฏจักรเศรษฐกิจ
  • การลงทุนอยู่ในเอเชียเป็นส่วนใหญ่จึงต้องระวังเรื่องของแรงกดดันจากการควบคุมของภาครัฐในระยะสั้น

 

ESPO หรือ VanEck Video Gaming and eSports ETF

  • บริหารโดย Van Eck Associates Corp. บลจ.สัญชาติอเมริกัน หนึ่งในผู้นำด้านการบริหาร ETF ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น Strategic Equity และ Natural Resources ปัจจุบันมี Thematic ETF ที่บริหารอยู่ 8 กองทุน
  • ESPO เป็น Passive ETF ลงทุนอ้างอิงดัชนี MVIS Global Video Gaming and eSports Index ประกอบด้วย 25-30 บริษัทที่มีรายได้มาจาก Video Games และ E-Sports ซึ่งมีทั้งผู้ผลิต Software Hardware ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงบริการ Streaming หรือจัดแข่งขัน E-Sports โดย Solactive จะจัดสัดส่วนตาม Market Cap. และปรับองค์ประกอบทุกไตรมาส (ม.ค. / เม.ย. / ก.ค. / ต.ค.)
  • ปัจจุบัน ESPO มีการลงทุนในอุตสาหกรรมสื่อสาร 58% เทคโนโลยี 33% และ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยราว 9% โดยบริษัทที่ลงทุนอยู่ในสหรัฐอเมริกา 47% ญี่ปุ่น 17% จีน 16% สิงคโปร์ 8% และเกาหลีใต้ 4%
  • สัดส่วนการลงทุนในสหรัฐอเมริกามากที่สุดเมื่อเทียบกับทั้งสามกองทุน จึงทำให้เป็น ETF ที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวและปริมาณความต้องการ Hardware และ Software ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด
  • Concentrate ที่สุดในทั้งสาม ETF จึงต้องระวังผลกระทบจากข่าวรายบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มี Market Cap. ใหญ่

 

NERD หรือ The Roundhill BITKRAFT Esports & Digital Entertainment ETF

  • บริหารโดย Roundhill Investments บลจ.สัญชาติอเมริกัน มีความเชี่ยวชาญในการสร้าง Thematic ETF โดยเฉพาะกลุ่ม E-Sports, Streaming, Pro-Sports, ไปจนถึง Metverse
  • NERD เป็น Passive ETF อ้างอิงดัชนี The Roundhill BITKRAFT Esports Index เรียกได้ว่าเป็น Pure-Play E-Sports ETF แรกของโลก ประกอบด้วยอย่างต่ำ 25 บริษัทที่มีรายได้มาจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Video Games บริการ Streaming บริการ Media ผลิต Hardware หรือจัดแข่งขัน E-Sports โดย Roundhill Investments ปรับองค์ประกอบทุกไตรมาส (มี.ค. / มิ.ย. / ก.ย. / ธ.ค.)
  • ปัจจุบัน NERD มีการลงทุนในอุตสาหกรรมสื่อสาร 62% เทคโนโลยี 33% และ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยราว 4% โดยบริษัทที่ลงทุนอยู่ในสหรัฐอเมริกา 27% จีน 16% เกาหลีใต้ 14% ญี่ปุ่น 8% และสวีเดน 8%
  • มีการลงทุนที่กระจายตัวไปทั่วโลกมากที่สุดเมื่อเทียบกับกองทุนอื่น และเลือกที่จะกระจายการลงทุนไปในธุรกิจสื่อสารที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรม E-Sports มากกว่าที่จะลงทุนเฉพาะ Software / Hardware ที่เกี่ยวข้อง
  • เนื่องจากมีการลงทุนในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยน้อยกว่า ETF อื่น จึงมี Earning

 

โดยสรุป ผมยังเชื่อว่าการลงทุนในธีมวิวัฒนาการของผู้บริโภคด้าน Video Games และ E-Sports แค่รอกดปุ่มเพื่อไปต่อ (Continue) และยังเป็นหนึ่งในธีมแห่งอนาคตที่เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถรับความผันผวนได้สูง

 

นักลงทุนสามารถเลือกได้ว่าจะลงทุนในนโยบายที่ครอบคลุมหลายกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ E-Sports หรือลงทุนในอุตสาหกรรมเฉพาะที่ปรับฐานจากความกังวลของตลาดระยะสั้นได้จาก ETF ข้างต้น

 

อย่างไรก็ดี ผมมองว่านักลงทุนควรเริ่มลงทุนด้วยสัดส่วนต่ำ เช่น 5-10% ก่อน และติดตามความสัมพันธ์กับพอร์ตการลงทุนโดยรวมที่เรามีอยู่ เพราะธีม Consumer Evolution มีความเกี่ยวข้องกับวัฏจักรเศรษฐกิจสูง แม้จะเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ แต่ถ้าไม่ระวังให้ดีก็อาจกลายเป็นธีมที่ทำให้พอร์ตการลงทุนของเรา Game Over ได้เช่นกัน

 

หมายเหตุ : ชื่อกองทุนรวม ETF ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงการให้ความรู้เท่านั้น มิได้มีเจตนาชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน


สำหรับนักลงทุนหรือผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุนรวม ETF แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร สามารถเรียนรู้ลักษณะพื้นฐาน ผลตอบแทนและความเสี่ยง สิทธิประโยชน์ทางภาษี และวิธีซื้อขายกองทุน ETF พร้อมเทคนิคการลงทุนอย่างมืออาชีพ ผ่าน e-Learning หลักสูตร “รอบรู้ลงทุน ETF” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่

แท็กที่เกี่ยวข้อง: