หากตั้งคำถามกับคนเกษียณป้ายแดงที่เริ่มเกษียณจากงานประจำว่ากังวลเรื่องอะไรมากที่สุด จะพบว่าคำตอบที่ได้มักจะคล้าย ๆ กัน คือ จะบริหารเงินหลังเกษียณอย่างไร ให้พอกิน พอใช้ ไปตลอดชีวิต นี่ยังไม่รวมถึงมรดกที่อาจต้องเหลือให้ลูกหลานหรือผู้ที่ดูแลเราจนวาระสุดท้ายของชีวิตอีกต่างหาก
สาเหตุสำคัญเป็นเพราะการเตรียมเงินสำหรับใช้ชีวิตหลังเกษียณที่ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากเราไม่รู้ว่าต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีกกี่ปี (ไม่รู้ว่าจะเสียชีวิตอายุเท่าไหร่) จึงไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมเงินไว้ใช้กี่ปีเพื่อให้เพียงพอ ดังนั้น หากไม่มีการบริหารจัดการเงินที่ดีอาจทำให้เผชิญเหตุการณ์ที่สุดแสนสลด คือ ใช้เงินหมด แต่ยังมีชีวิตอยู่
บทความนี้จึงรวบรวม 5 เทคนิคในการวางแผนใช้เงินสำหรับมือใหม่วัยเกษียณ ขอเรียกชื่อย่อเทคนิคสั้น ๆ ว่า RICHS ซึ่งย่อมาจาก
1. สำรวจแหล่งรายได้ (Source of Revenue – R)
ในวันที่เกษียณ “รายได้” เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มีกินมีใช้ไปตลอดชีวิต ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำในวันที่เกษียณ คือ สำรวจแหล่งรายได้หลังเกษียณอย่างเป็นระบบ เพื่อให้รู้ว่าเรามีทรัพย์สินอะไร อยู่ที่ไหน อย่างละเท่าไหร่ แล้วคำนวณว่าหลังเกษียณจะยังมีรายได้จากแหล่งใดบ้าง จากนั้นก็จัดสรรเงินที่มีอยู่เพื่อให้สามารถมีใช้ในแต่ละเดือนได้อย่างไม่ขัดสนและพอใช้ไปตลอดชีวิต โดยแบ่งออกเป็น
เงินได้รายงวด (ประจำเดือน/ประจำปี) สำหรับใช้ในแต่ละเดือนระหว่างเกษียณ หลัก ๆ ได้แก่
เงินก้อนหลังเกษียณ สำหรับสำรองใช้หลังเกษียณและเป็นที่มาของดอกผลจากการลงทุนด้วย ได้แก่
2. มุ่งเน้นการลงทุน (Focus on Investment – I)
ในวันที่เพิ่งเกษียณ ส่วนใหญ่จะมีทรัพย์สินจากการทำงานที่สะสมมาทั้งชีวิต แต่หากไม่มุ่งเน้นการนำทรัพย์สินนี้ไปลงทุนเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มูลค่าเงินในอนาคตอาจลดลงเรื่อย ๆ จากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น โดยขอยกตัวอย่างการบริหารเงินตาม “ช่วงเวลาใช้เงิน” ด้วยภาษากีฬาฟุตบอลเป็น กองหลัง : กองกลาง : กองหน้า
3. คำนวณรายจ่าย (Calculate Expense – C)
หลังจากสำรวจแหล่งรายได้และวางแผนการลงทุนเพื่อให้ได้ดอกผลจากการลงทุนเป็นรายได้เสริมแล้ว ถึงเวลามาคำนวณรายจ่าย โดยให้นึกถึงรายจ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามความเป็นจริงมากที่สุด และสามารถใช้ได้ในแต่ละเดือนอย่างไม่ขัดสน โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่
โดยทั่วไป จำนวนเงินที่ควรเผื่อไว้เป็นค่าใช้จ่าย ณ วันที่เกษียณ จะเท่ากับประมาณการค่าใช้จ่ายต่อปีหลังเกษียณ (70% ของรายจ่ายปีสุดท้ายก่อนเกษียณ) x จำนวนปีที่คาดว่าเราจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ เช่น นาย ก. มีค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณเดือนละ 30,000 บาท (หรือปีละ 360,000 บาท) หากจะเตรียมเงินไว้ใช้หลังเกษียณเป็นเวลา 30 ปี ควรเผื่อเงินไว้ใช้หลังเกษียณ (360,000 x 70%) x 30 ปี = 7,560,000 ล้านบาท
4. ใส่ใจสุขภาพ (Health is King – H)
การวางแผนใช้เงินหลังเกษียณ นอกจากเตรียมเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพหรือจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในช่วงหลังเกษียณแล้ว ควรใส่ใจสุขภาพ ซึ่งเป็นการใช้จ่ายเชิงป้องกันควบคู่กันไปด้วย
การที่ใส่ใจสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนเพียงพอ ไม่เครียด ทำจิตใจให้มีความสุข อาจลดการเจ็บป่วยและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้ด้วย เพราะสุขภาพเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เงินลดลงได้อย่างมาก ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเป็นเงินหลักล้านบาทได้หากไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพอ
นอกจากนี้ หากมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ลดลงแล้ว เงินก้อนที่เตรียมเผื่อสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอาจเหลือไปใช้เพื่อให้ชีวิตหลังเกษียณสะดวกสบายขึ้น
5. ใช้ชีวิตให้มีความสุข (Successful Life – S)
“เกิด แก่ เจ็บ ตาย” เป็นสัจธรรมที่ทุกคนหนีไม่พ้น และเมื่อแก่ตัวลงพร้อมเกษียณจากงานประจำ คนส่วนใหญ่จะคิดว่าการเกษียณมาพร้อมกับรายได้ประจำที่หายไป
หากถึงวันที่เกษียณแล้วยังมีชีวิตอยู่ คงเป็นคนที่โชคดีมากที่ยังได้ใช้ชีวิตชื่นชมโลกใบนี้และคงจะดียิ่งขึ้นไปอีก หากจะได้ใช้ชีวิตหลังเกษียณที่เหลืออยู่อย่างมีความสุข สมมติว่าเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีชีวิตอยู่ถึงอายุ 90 ปี จะมีเวลาใช้ชีวิตหลังเกษียณกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เลือกได้ว่าจะใช้ชีวิตเกษียณสุขหรือเกษียณทุกข์
ดังนั้น สิ่งที่ต้องเตรียมนอกจากสุขภาพทางการเงินและสุขภาพกาย ก็คือ การเตรียมจิตใจให้พร้อมสำหรับวัยเกษียณ เพื่อที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข
มาถึงตรงนี้ จะเกษียณอย่างมีคุณค่าหรือแก่ชราแล้วใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมาย ทางเลือกในการบริหารจัดการเงินหลังเกษียณ เป็นส่วนหนึ่งที่จะตอบคำถามนี้ได้
สำหรับมือใหม่วัยเกษียณหรือผู้ที่สนใจ เรียนรู้เทคนิคและวิธีการบริหารจัดการเงินหลังเกษียณ เพื่อเตรียมพร้อมก้าวสู่ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข สามารถเรียนรู้เพิ่มเติม ผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนการเงินหลังเกษียณ สไตล์วัยเก๋า” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่