เงินเฟ้อ นอกจากจะกระทบต่อชีวิตประจำวันของคนจำนวนมาก เพราะเป็นสภาวะที่ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้น ทำให้มูลค่าเงินในกระเป๋าลดลง แต่รู้ไหมว่า? อัตราเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลงทุน และมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นอีกด้วย
นั่นเพราะอัตราเงินเฟ้อคำนวณมาจากตัวเลขดัชนี CPI หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งระบบในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้นราคาสินค้า ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ราคาที่ดิน ค่าจ้างแรงงาน ค่ารักษาพยาบาล กำไรของบริษัทจดทะเบียน อัตราดอกเบี้ย รวมถึงนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก
ซึ่งในปัจจุบันไทยนั้นเผชิญเงินเฟ้อกันอย่างเห็นได้ชัดทุกภาคส่วน เริ่มมาตั้งแต่ราคาผักชีที่เพิ่มสูงขึ้น ตามมาด้วยราคาเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ น้ำมันและอีกมากมายจน ร้านอาหารส่วนใหญ่ต้องปรับขึ้นราคาส่งผลให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตของคนไทยสูงขึ้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่โลกเผชิญกับการแพร่ระบาด COVID-19 ถือเป็นช่วงที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดต่ำลงทั่วโลก เนื่องจากเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงถดถอยและอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง โดยประเทศไทยเอง ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ติดลบติดต่อกันอย่างยาวนาน ตั้งแต่ช่วงดือนมีนาคม 2020 ถึงดือนมีนาคม 2021
แต่อย่างไรก็ดี ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อ ณ ปัจจุบัน เริ่มกลับมาปรับเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง!! เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เงินเฟ้อขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน และขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี ถือเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจนถึงปัจจุบันตามกราฟรูปด้านล่าง
อัตราเงินเฟ้อประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2021 - ธันวาคม 2021
ที่มา : TRADEINGECONOMICS
ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อตลาดหุ้น
ถ้าว่ากันตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ การเกิดเงินเฟ้ออ่อน ๆ ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อภาพรวมตลาดหุ้น เพราะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตไปข้างหน้า
แต่กรณีที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นรวดเร็วจนเกินไป อาจส่งผลให้ธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอเงินเฟ้อ และยังส่งผลกระทบในทางลบต่อตลาดหุ้นด้วย เนื่องจากการเพิ่มดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้นตามนั่นเอง ซึ่งทำให้สเน่ห์ในหุ้นหลาย ๆ ลดลงไป
อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อย่อมมีผลต่อหุ้นแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมไม่เท่ากันอยู่แล้ว คำถามคือแล้วหุ้นกลุ่มไหนบ้างที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ ?
หุ้นแบบไหนมักได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ
หุ้นวัฏจักรที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ยางมะตอย ยางพารา ฯลฯธรรมชาติของหุ้นกลุ่มนี้คือราคาจะปรับขึ้นลงตามวัฏจักรเศรษฐกิจ เมื่อใดที่เศรษฐกิจดีธุรกิจก็จะดีตามไปด้วย แต่หากเศรษฐกิจซบเซา ผลประกอบการของบริษัทก็จะซบเซาลงตามภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน
เป็นเพราะว่าเงินเฟ้อมีความสัมพันธ์โดยตรงกับราคาขายสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งส่งผลดีต่อตัวเลขรายได้รวมจาการขายสินค้าและอัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) ที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยนักลงทุนสามารถใช้เครื่องมือ SETSMART สำรวจงบการเงินล่าสุดและย้อนหลัง 5 ปี ของบริษัทจดทะเบียนที่สนใจ ได้ง่าย ๆ ที่เมนู Financial Statement หรือดาวน์โหลดงบการเงินฉบับเต็มเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแบบละเอียดยิ่งขึ้น
อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น จะเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น จะเป็นการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ และส่งผลต่อให้ค่าเงินของประเทศแข็งค่าขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ที่ประกอบธุรกิจนำเข้า ก็จะได้รับประโยชน์จากต้นทุนการนำเข้าสินค้าที่ต่ำลง พูดง่าย ๆ คือใช้เงินซื้อสินค้าเท่าเดิม แต่ได้ของในปริมาณที่มากขึ้น
ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น จะสะท้อนไปที่อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) ของบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้า รวมถึงอาจมีรายการกำไรหรือขาดทุนพิเศษจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย ซึ่งเราสามารถใช้ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินจาก SETSMART เปรียบเทียบหุ้นที่อยู่ในธุรกิจใกล้เคียงกัน เพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน
หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์
เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ธนาคารจะได้ประโยชน์จากยอดสินเชื่อที่มีโอกาสเติบโตขึ้น เพราะภาคธุรกิจเริ่มขยายตัวทั้งในด้านการลงทุน การผลิต และการจ้างงาน
ขณะเดียวกันเงินเฟ้อนั้นมีผลต่อดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งส่งผลโดยตรงมายังธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากรายได้หลักของธนาคารมาจากดอกเบี้ยในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นเมื่อมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้ธนาคารมีช่องว่างปรับดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้น เพื่อเพิ่มส่วนต่างของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin)
SETSMART มีการสรุปข้อมูลรายได้ดอกเบี้ยสุทธิของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ย้อนหลัง 5 ปี โดยเลือกดูข้อมูลได้ที่เมนู Financial Statement ของบริษัทที่สนใจ แล้วเลือกในส่วนของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ รวมทั้งตัวเลขอื่น ๆ ที่น่าสนใจของกลุ่มธนาคาร อาทิ รายได้จากค่าธรรมเนียม และกำไร (ขาดทุน) สุทธิจากเงินลงทุน เป็นต้น
หุ้นกลุ่มธุรกิจประกันชีวิต
นักลงทุนทราบกันดีอยู่แล้วว่า Bond Yield หรือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับเงินเฟ้อ ดังนั้นกลุ่มที่มีการลงทุนในพันธบัตร จะได้ประโยชน์จากผลตอบแทนที่สูงขึ้น และหนึ่งในนั้นคือธุรกิจประกัน เพราะมีการนำเบี้ยประกันของลูกค้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน ซึ่งส่วนมากก็จะอยู่ในสินทรัพย์ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงมากนักอย่างพันธบัตรและหุ้นกู้
โดยนักลงทุนสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนของธุรกิจประกันชีวิต ผ่านตัวเลขผลกำไร (ขาดทุน) จากการลงทุน จากเมนู Financial Statement บน SETSMART ได้เช่นกัน
สุดท้ายนี้สิ่งสำคัญคือนักลงทุนควรหมั่นติดตามข้อมูล และสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ปรับมุมมองการลงทุนได้ทันท่วงที โดยสามารถเข้าอ่านบทวิเคราะห์หุ้นรายตัวที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ รวบรวมไว้ได้ที่นี่ คลิก
สามารถสมัครใช้บริการ SETSMART ได้ที่เว็บไซต์ www.setsmart.com เพียง 250 บาทต่อเดือน เครื่องมือการลงทุนที่เป็นตัวช่วยคัดกรองหุ้นรายตัวที่น่าสนใจ ปัจจัยพื้นฐานดี “สะดวก” สามารถดาวน์โหลดผ่าน MS Excel ได้ทุนที่ “ครบถ้วน” ด้วยข้อมูลหุ้น อนุพันธ์และกองทุนรวมแบบ Real time และย้อนหลัง “ง่าย” ใช้งานผ่าน Internet ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านเว็บไซต์ คลิก
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน