การลงทุนอย่างยั่งยืนเป็นเทรนด์การลงทุนในโลกยุคใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพิจารณาธุรกิจที่จะลงทุนแบบรอบด้าน เพราะธุรกิจทุกวันนี้ได้รับผลกระทบจากสารพัดปัญหาและปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในการทำธุรกิจ การลงทุนจึงควรพิจารณาเรื่องการบริหารความเสี่ยง (และโอกาส) ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับความสามารถในการแข่งขันและผลประกอบการทางการเงิน ความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อปรับตัวให้อยู่รอดและเติบโตได้ ความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการกำกับดูแลกิจการและได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ (ไม่ใช่เพียงแค่ในกลุ่มผู้ถือหุ้นและลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพนักงาน คู่ค้า และผู้คนในสังคมอีกด้วย) จึงเรียกได้ว่า เป็นการลงทุนที่มองรอบด้าน คือ คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ควบคู่ไปกับผลการดำเนินงานทางการเงิน การลงทุนอย่างยั่งยืนจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปในหลายเรื่อง เช่น ลงทุนยาก ให้ผลตอบแทนต่ำ เหมาะกับนักลงทุนโลกสวย ฯลฯ ซึ่งวันนี้เราจะมาไขความเข้าใจผิดกัน!!
1. เป็นแค่เทรนด์ระยะสั้น
การลงทุนอย่างยั่งยืนไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ระยะสั้น แต่ได้รับความสนใจมานานหลายสิบปีแล้ว กองทุนรวม Pax World Fund ที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและนับเป็นกองทุนด้านความยั่งยืนแห่งแรกของโลกมีมาตั้งแต่ปี 1972 แต่จุดเปลี่ยนสำคัญ คือ ในปี 2006 นักลงทุนสถาบันจากทั่วโลกได้ร่วมกันลงนามรับ Principles for Responsible Investment (PRI) ซึ่งเป็นหลักการที่มุ่งเน้นการลงทุนอย่างรับผิดชอบที่ริเริ่มโดยหน่วยงานในกลุ่มองค์การสหประชาชาติ ในปี 2020 มีนักลงทุนสถาบันที่ไปลงนามและยึดถือปฏิบัติตามหลักการ PRI แล้วกว่า 3,000 แห่ง คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมกันกว่า 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี 2015 ที่มีนักลงทุนกลุ่มนี้ประมาณ 1,500 แห่งและมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมกันกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว!
ทุกวันนี้ เม็ดเงินลงทุนในตลาดทุนทั่วโลกยังไหลเข้ากองทุนรวมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Funds) อย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นปี 2020 ขนาดมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมประเภทนี้เติบโตถึง 1.652 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 29% จากไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน
เทรนด์การลงทุนอย่างยั่งยืนดูไม่มีทีท่าจะแผ่วลง แต่จะมีบทบาทมากขึ้นอีก ด้วยความสนใจของนักลงทุนรุ่นใหม่ ในปี 2019 The Morgan Stanley Institute for Sustainable Investing ได้สำรวจนักลงทุนกลุ่ม Millennials ในสหรัฐอเมริกา พบว่า 95% ให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน ขณะที่ในปี 2020 DeVere Group สำรวจนักลงทุนกลุ่ม Millennials ทั่วโลกจำนวน 1,125 คน พบว่า 77% ให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืนเช่นกัน ซึ่งต้องยอมรับว่านักลงทุนรุ่นใหม่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การลงทุนอย่างยั่งยืนเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
2. ให้ผลตอบแทนต่ำ
บางคนอาจเข้าใจไปว่าการลงทุนอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องของนักลงทุนโลกสวย ลงทุนแล้วต้องได้ผลตอบแทนต่ำ แต่เมื่อดูจากสถิติ จะพบว่าการลงทุนอย่างยั่งยืนอาจช่วยเพิ่มโอกาสด้านผลตอบแทนในระยะยาว และลดความเสี่ยงและความผันผวนจากการลงทุนได้
ในการเปรียบเทียบผลตอบแทนของดัชนี MSCI All Country Word Index (ACWI) และ MSCI Emerging Markets (EM) แบบที่ไม่ได้คำนึงถึงความยั่งยืน กับแบบที่คำนึงถึงความยั่งยืนคือ MSCI ACWI ESG Leaders และ MSCI EM ESG Leaders พบว่า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวผลตอบแทนของดัชนีที่ดูเรื่องความยั่งยืนดูจะได้ผลตอบแทนมากกว่า
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบดัชนี MSCI ACWI และ MSCI ACWI ESG Leaders ในเชิง Standard Deviation และ Sharpe Ratio จะเห็นว่า ดัชนีที่คำนึงถึงความยั่งยืนมีความเสี่ยงต่ำกว่าและมีผลตอบแทนสูงกว่าเล็กน้อย เมื่อเทียบกับดัชนีคู่เทียบที่ไม่ได้คำนึงถึงความยั่งยืน (ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว)
หรือหากดูจากสถิติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กราฟแสดงข้อมูลเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของดัชนี SET และ SET100 ที่ไม่ได้เน้นเรื่องความยั่งยืน กับดัชนี SETTHSI ที่เน้นคัดหุ้นที่คำนึงถึงความยั่งยืน พบว่าดัชนี SETTHSI ก็มีทิศทางการเคลื่อนไหวเหนือ SET และ SET100 เล็กน้อย
จริง ๆ แล้ว มีผลิตภัณฑ์หลากหลายพร้อมให้นักลงทุนเลือกลงทุนอย่างยั่งยืนได้ ไม่ว่าจะเป็น
4. ซับซ้อนและลงทุนยาก
การลงทุนอย่างยั่งยืนไม่ได้ซับซ้อนและลงทุนยากอย่างที่หลายคนเข้าใจ ทุกวันนี้มีข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่นักลงทุนสามารถนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และการตัดสินใจลงทุนได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนเอง ซึ่งปัจจุบันมีอัตราการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนเพิ่มขึ้นมากตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลและกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแล บริษัทจดทะเบียนไทยเองก็ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้บริการข้อมูล (Data Providers) ทั่วโลกที่คอยทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนเพื่อให้นักลงทุนได้ใช้ประโยชน์ เช่น
ที่สำคัญ ยังมีผู้ประเมินข้อมูลด้านความยั่งยืน (Raters) นับร้อยแห่งทั่วโลกที่ทำหน้าที่ประเมินหรือให้คะแนนบริษัทจดทะเบียน โดยดูจากข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อเป็นตัวช่วยนักลงทุนในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รวบรวมข้อมูลผลการประเมินด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทยไว้ให้นักลงทุนสามารถดูข้อมูลได้ฟรีที่ >> คลิกที่นี่
5. เหมาะกับนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม
การลงทุนอย่างยืนไม่ได้เหมาะเฉพาะกับนักลงทุนคนรุ่นใหม่กลุ่ม Millennials เท่านั้น แต่นักลงทุนกลุ่มอื่น ๆ ก็ให้ความสนใจมากเช่นกัน The Great British Retirement Survey 2020 พบว่า 50% ของนักลงทุนวัยเกษียณในอังกฤษ ให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน โดย 19% ได้ลงทุนอยู่แล้ว และอีก 31% สนใจจะเริ่มลงทุนอย่างยั่งยืนมากขึ้น ในขณะที่ผลสำรวจของ Bank of America พบว่า นักลงทุนกลุ่ม Generation X ก็สนใจลงทุนอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษาของ KPMG พบว่า นักลงทุนกลุ่มหลักที่มุ่งเน้นลงทุนอย่างยั่งยืนคือนักลงทุนสถาบัน ซึ่งสอดคล้องกันกับทิศทางในบ้านเราที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และนักลงทุนสถาบันกว่า 30 แห่ง (ทั้งที่เป็นบริษัทประกันและบริษัทจัดการลงทุน) ได้ประกาศความร่วมมือที่จะลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบอีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจ ทำความรู้จักหุ้นยั่งยืนมากขึ้น เพื่อหาโอกาสในการลงทุน สามารถรับชมห้องเรียนนักลงทุน Live! หลักสูตร “รอบรู้ลงทุนหุ้น ESG ฉบับมือใหม่” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่