หุ้นยั่งยืน (THSI)

โดย SET
3 Min Read
6 ธันวาคม 2565
1.336k views
SET ESG Academy_หุ้นยั่งยืน - Thailand Sustainability Investment (THSI)
Highlights

Thailand Sustainability Investment (THSI) “สร้างโอกาสการลงทุนด้วยหุ้นยั่งยืน” ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดทำ Thailand Sustainability Investment (THSI) หรือ รายชื่อหุ้นยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนตามแนวทางของการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Investment)

thsi_cover_02

หุ้นใน THSI จะถูกคัดเลือกจากบริษัทจดทะเบียนที่สมัครใจเข้าร่วมตอบแบบประเมินความยั่งยืนที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการประเมินจะครอบคลุมคำถามในมิติ ESG ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการทบทวนแบบประเมินทุกปีให้สอดคล้องกับบริบทและแนวโน้มด้านความยั่งยืน (Sustainability Trends) ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ

 

บริษัทที่อยู่ใน THSI ต้องมีผลคะแนนจากการตอบแบบประเมินความยั่งยืนอย่างน้อย 50% ในแต่ละด้าน ESG หรือ เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) และต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ผลการประเมินคุณภาพรายงานด้านบรรษัทภิบาล (Corporate Governance Reporting หรือ CGR) ผลประกอบการด้านกำไรสุทธิและส่วนของผู้ถือหุ้น ผลการกำกับดูแลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียนและการไม่สร้างผลกระทบด้าน ESG การเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C เป็นต้น โดยมีคณะทำงานเพื่อการลงทุนอย่างยั่งยืนที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และหน่วยงานในตลาดทุน เป็นผู้กลั่นกรองและคัดเลือกอย่างโปร่งใส

 

หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนถือได้ว่าเป็นบริษัทที่มีศักยภาพของการนำแนวคิดด้านความยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ มีการเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น (Emerging risks) อีกทั้งมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับและบริหารจัดการประเด็นต่างๆ ที่ชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global trends)

 

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดทำดัชนีความยั่งยืน SETTHSI Index โดยคัดเลือกหุ้นจากรายชื่อหุ้นยั่งยืน (THSI) ปีล่าสุดที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท มีสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อย (Free-float) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุนชำระแล้ว และมีจำนวนหุ้นซื้อขายไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของจำนวนหุ้นจดทะเบียนของบริษัท เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 9 ใน 12 เดือน

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการประเมินความยั่งยืน

thsi_cover_03
  1. สามารถนำแบบประเมินความยั่งยืนไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินธุรกิจให้ครอบคลุมประเด็นด้าน ESG เพื่อสร้างโอกาสและบริหารจัดการความเสี่ยงในกระบวนการดำเนินงาน
  2. ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้รับข้อแนะนำเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุงการบริหารจัดการธุรกิจให้ตอบสนองต่อประเด็นด้าน ESG ที่เกี่ยวข้อง
  3. สร้างโอกาสให้บริษัทเป็นที่สนใจจากผู้ลงทุนที่มีแนวคิดด้านการลงทุนอย่างยั่งยืน
  4. สร้างแรงจูงใจให้แก่บริษัทอื่นๆ ที่จะพัฒนาองค์กรตามแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป
thsi_cover_04
แท็กที่เกี่ยวข้อง: