“เงิน” เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 เลยก็ว่าได้ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อจับจ่ายใช้สอยและตอบสนองความต้องการของเรา
ซึ่งในปัจจุบัน การที่จะได้เงินมา มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ
ในบทความนี้จึงขอพาทุกคนไปรู้จักวิธีสร้าง Passive Income ด้วยหุ้นปันผล เราจะต้องหาอย่างไร พร้อมจับมือทำจริง สำหรับนักลงทุนมือใหม่ไม่ควรพลาด !
Passive Income คืออะไร ?
Passive Income เป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนมักจะได้ยินกันอยู่บ่อยในยุคปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนต่างต้องการ เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพย์สินหรือเงินทองทำงานแทนเรา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าลิขสิทธิ์ เงินปันผล
ในโลกของการลงทุน หุ้นปันผล เป็นอีก 1 วิธีในการสร้าง Passive Income เพราะสามารถสร้างรายได้ให้กับนักลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง
แต่เนื่องจากในตลาดหุ้น มีหุ้นหลายตัวให้เลือกลงทุน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงต้องกรองหุ้นปันผลที่มีพื้นฐานดีเข้าพอร์ต
ไอเดียค้นหาหุ้นปันผล สร้าง Passive Income
ในตลาดหลักทรัพย์มีหุ้นให้เลือกลงทุนอยู่มากมาย และหุ้นปันผลเป็นอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนหุ้นคุณค่า หรือ Value Investor เป็นอย่างมาก ซึ่งมีวิธีในการคัดกรองที่แตกต่างตามมุมมองของนักลงทุนแต่ละคน
สำหรับนักลงทุนคนใดที่กำลังหาไอเดียในการหาหุ้นปันผลเข้าพอร์ตลงทุนสำหรับสร้าง Passive Income ในบทความนี้ได้นำ 4 Checklist เป็นตัวตั้งต้นมาฝากกัน ได้แก่
1.คัดหุ้นจาก SETHD
ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีหุ้นอยู่ในตลาด 831 ตัว การจะนั่งหาทีละตัว จะต้องอาศัยเวลาในการหาที่ค่อนข้างนาน วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถหากลุ่มหุ้นได้ คือ ดัชนีของหุ้น ซึ่งในตลาดหุ้นไทยมีอยู่ด้วยกันมากมาย และหนึ่งในนั้น มีดัชนีที่รวมหุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูงอย่างต่อเนื่อง และมีมูลค่าตลาด (Market Capitalization) สูง นั่นคือ ดัชนี SETHD
2.เช็กประวัติเงินปันผล
หุ้นบางตัว ถึงแม้จะมีการจ่ายปันผลที่สูงในบางครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนควรให้ความสนใจ คือการเช็กนโยบายการจ่ายปันผลในอดีต ประกอบกับ Dividend Payout Ratio ซึ่งหากธุรกิจใดที่มีค่านี้สูง ยิ่งมีการจ่ายปันผลที่สูงเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของหุ้นนั้น ๆ และเป็นผลดีกับผู้ถือหุ้น
3.มีผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง
อีกอัตราส่วนหนึ่งที่เราควรใช้ในการดูว่าหุ้นนั้นจ่ายปันผลสูงมากน้อยแค่ไหน นั่นคือ Dividend Yield ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดได้ดี เพราะสามารถบอกให้เรารู้ได้ว่า หากซื้อหุ้นที่ราคาหนึ่ง จะได้รับเงินปันผล คิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของราคาหุ้นที่จ่ายไปนั่นเอง คำนวณง่าย ๆ โดยนำอัตราเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายมาคูณ 100 แล้วหารด้วยราคาหุ้น และควรมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด
4.ธุรกิจมีความแข็งแกร่ง มั่นคง
บางครั้งการมองแค่ Dividend Yield อาจจะนำมาเป็นเครื่องชี้วัดว่า หุ้นนี้เป็นหุ้นปันผลที่ดีไม่ได้เสมอไป เพราะการจ่ายปันผลเป็นการนำกำไรของบริษัทออกมาจ่าย ซึ่งอาจทำให้บริษัทเสียโอกาสในการนำเงินนี้ไปลงทุนต่อยอดเพิ่ม ดังนั้นควรดูข้อมูลอื่น ๆ ประกอบอย่าง ความแข็งแกร่งของธุรกิจ สามารถดูได้ในหลากหลายมิติ ซึ่งวิธีในการเช็กความแข็งแกร่งที่ง่ายที่สุด คือ ดูจากอัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งสามารถดูได้จาก
-Net Profit Margin สูง เพราะหากธุรกิจไม่มีกำไร ก็ไม่สามารถจ่ายปันผลได้
-D/E ต่ำ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ธุรกิจมีหนี้ในสัดส่วนที่เยอะ จะเหลือกำไรเพื่อจ่ายเงินปันผลได้น้อย หรือไม่สามารถนำไปจ่ายได้
เคล็ด (ไม่) ลับ หาหุ้นปันผลง่าย ๆ ด้วย SETSMART
Link : https://www.setsmart.com/ssm/login
หลังจากที่เราได้ไอเดียในการหาหุ้นปันผลเข้าพอร์ตเพื่อสร้าง Passive Income แล้ว เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เราจะมาหาหุ้นปันผลง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ SETSMART ใน 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนถัดมา จะเป็นการคัดหุ้นปันผลจากหุ้นทุกตัวที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้เหลือเฉพาะหุ้นปันผลที่มีประวัติการจ่ายสูง โดยวิธีการคัดใน SETSMART สามารถคัดได้โดย…
2.จากแถบ “ดัชนี/กลุ่มอุตสาหกรรม/หมวดอุตสาหกรรม” ให้คลิก Dropdown ช่อง “ทั้งหมด” และเลือก “SETHD”
3.กำหนดเงื่อนไขในการคัดกรองหุ้นปันผลตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็น
จากนั้น ให้กด “ค้นหา” ระบบจะคัดกรองหุ้นตามคุณสมบัติที่เราตั้งไว้
แต่อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวเป็นเพียงไอเดียตัวอย่างในการคัดหุ้นเท่านั้น นักลงทุนสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสไตล์การลงทุน และอย่าลืมประเมินมูลค่าที่เหมาะสม ก่อนตัดสินใจลงทุน
สุดท้ายนี้หากนักลงทุนสนใจเริ่มต้นลงทุนในหุ้นกลุ่มต่าง ๆ และต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เชิงลึก ตลาดหลักทรัพย์ฯ นักลงทุนสามารถสมัครใช้บริการ SETSMART ได้เพียงในราคา 250 บาทต่อเดือน คลิกที่นี่
นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถค้นหาข้อมูลหุ้นที่น่าสนใจแบบครบทุกมิติจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ คลิกที่นี่
Disclaimer : ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่ปรากฏนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยการอิงกับไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Based) หรือกระแส (Trend) ซึ่งรวบรวมมาจากข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่รับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวรวมทั้งไม่ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายจากการนำข้อมูลที่ปรากฏนี้ไปใช้ในทุกกรณี