ปัจจุบันนักลงทุนกำลังอยู่ในช่วงที่โลกไม่สงบ ทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงมากขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2565 ด้วยสาเหตุจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวเร็วพร้อมกันทั่วโลก ความเสี่ยงในยุโรปที่กำลังเผชิญกับวิกฤติพลังงาน เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวอย่างมาก และปัญหาอุปทานคอขวดมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้
สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้บรรยากาศการลงทุนมีความท้าทายและยากมากขึ้น โดยนักลงทุนที่มีความหวาดกลัวช่วงอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นก็จะชะลอการลงทุน ขณะที่นักลงทุนบางกลุ่มพยายามลงทุนในประเทศที่มีปัญหาน้อยหรือได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด
คำถามที่ตามมา คือ ตลาดหุ้นไทยยังลงทุนได้หรือไม่ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โลกที่มีความไม่แน่นอนและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเงินเฟ้อโลกที่สูงขึ้น ธนาคารกลางของแต่ละประเทศส่วนใหญ่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เงินบาทอ่อนค่า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบแบบ “เฉี่ยว ๆ” ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยสามารถค่อย ๆ ปรับขึ้นได้ ขณะที่เงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและเริ่มเห็นการปรับลดลง ที่สำคัญคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวประมาณ 3% สะท้อนได้ว่าภาวะเศรษฐกิจและการเงินของไทยกำลังผ่านจุดต่ำสุด
เช่นเดียวกันกับตลาดหุ้น โดยประเมินว่าตลาดหุ้นไทยได้ทำจุดต่ำสุดไปแล้วที่ 1,533.37 จุด (เดือนกรกฎาคม 2565) ซึ่งหากมองโลกในแง่ดี หมายความว่า ราคาตลาดปัจจุบันในภาพรวมอาจไม่มีการปรับตัวลดลงกว่าจุดนี้อีก แต่ด้วยสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนและการฟื้นตัวยังไม่เต็มที่ ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยในระยะกลางมีความยืดหยุ่น (Resilient) และเล็งเห็นแนวโน้ม Upside เล็กน้อย รวมถึงงบดุลของบริษัทจดทะเบียนยังไม่ขยายตัว ธนาคารในประเทศมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง และ Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบทางอ้อมที่ภาวะเศรษฐกิจเป็นขาลงและช่วยจำกัด Downside Risk ได้
หากพูดถึงความโดดเด่นของตลาดหุ้นไทย คือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน โดยกำไรของบริษัทจดทะเบียนไทยครึ่งปีแรกของปี 2565 เติบโต 8% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนหน้า และเชื่อว่ารายได้จะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 3 ปีของนี้ซึ่งมาจากฐานที่ต่ำ ส่วนความกังวลให้จับตากับแรงกดดันต่อกำไรขั้นต้น (มาร์จิ้น) ซึ่งมีสาเหตุมาจากต้นทุนที่สูงขึ้นและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง แต่ในภาพรวมประเมินว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนปีนี้จะเติบโตประมาณ 15.8% จากปีก่อนหน้า
จุดเข้าซื้อ คือ ไตรมาส 4 ปี 2565
ประเมินว่าไตรมาส 3 ปีนี้เป็นช่วงของจุดต่ำสุด โดยดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงต่ำสุดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นปัจจัยลบต่าง ๆ เริ่มคลี่คลายจึงทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น ช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้จึงเป็นจุดที่ควรเริ่มสะสมหุ้น โดยจุดที่น่าเข้าซื้อ คือ ดัชนีหุ้นไทยระดับ 1,550 จุด
จากสถิติของตลาดหุ้นไทยพบว่า ในช่วงปี 2533 – 2562 ไตรมาส 4 เป็นไตรมาสที่แข็งแกร่งที่สุดของแต่ละปี โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 4.1% ขณะที่ไตรมาส 1 – 3 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 1.9%, 2.5% และ -2.1% ตามลำดับ แม้ว่าตลาดหุ้นจะเผชิญกับภาพรวมของเศรษฐกิจมหภาคที่อ่อนแอ แต่ราคาหุ้นได้สะท้อนนโยบายการเงินแบบตึงตัวไปค่อนข้างมากแล้วและสะท้อนการเติบโตของกำไรที่ชะลอตัวไปบ้างแล้ว รวมถึงดัชนีหุ้นไทยได้ปรับฐานลงมาแล้วประมาณ 2% และตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานลงมาแล้วประมาณ 20%
ทั้งนี้ แม้ว่า Upside มีจำกัด แต่ควรเข้าลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และกลุ่มหุ้นเชิงรับที่อิงกับเศรษฐกิจในประเทศที่มีโมเมนตัมแข็งแกร่ง ในขณะที่กลุ่มหุ้นที่กำไรมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งและงบดุลแข็งแรงอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565
ลักษณะเด่นของหุ้น 4 ประการที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนได้ดี
โดยลักษณะเด่นของหุ้น 4 ประการที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดในไตรมาส 4 ของปีนี้ ได้แก่
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
สำหรับนักลงทุนและผู้ที่สนใจอยากคัดกรอง “หุ้น” ด้วยตนเอง สามารถสมัครใช้บริการ SETSMART ได้ที่เว็บไซต์ www.setsmart.com เพียง 250 บาทต่อเดือน เมื่อเทียบกับข้อมูลที่จะได้รับ เช่น ภาวะการซื้อขาย เทรนด์นักลงทุนต่างชาติ หรือข้อมูลหุ้น อนุพันธ์ และกองทุนรวม ครบจบในเว็บเดียว ก็ถือว่าคุ้มค่ามากเลย!!!
และนักลงทุนมือใหม่หรือผู้ที่สนใจ ค้นหาหุ้นดี น่าลงทุนด้วย Stock Screening เพื่อให้ได้หุ้นดี โดนใจ โดยไม่ต้องใช้เวลาค้นหานาน สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “Stock Screening” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่