การคัดเลือกหุ้นตัวแรก หรือหุ้นตัวถัดไป เพื่อกระจายการลงทุนตามหลักการ Asset Allocation เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนสงสัยว่า จะเริ่มต้นคัดหุ้นอย่างไรให้เหมาะสมกับตัวเรา ในบทความนี้จะมาแชร์ไอเดียในการหาหุ้นผ่านค่า “Beta” โดยจะพาไปทำความรู้จักตั้งแต่ความหมาย ประเภทของหุ้น โดยแบ่งตามค่าดังกล่าว และการนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุน ซึ่งเป็นองค์ประกอบ หรือจุดเริ่มต้นในการศึกษาหุ้นตัวนั้น ๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน
เป็นค่าที่บอกว่าหุ้นนั้น มีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโดยรวม เช่น AAA มีค่า Beta เท่ากับ 1.04 เท่า แปลว่า ถ้า SET Index บวก 1% หุ้น AAA จะบวก 1.04% เป็นต้น ซึ่งหุ้นแต่ละตัวจะมีค่า Beta ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความผันผวนและทิศทางเมื่อเทียบกับตลาดหุ้น
เราสามารถใช้ค่า Beta แบ่งกลุ่มหุ้นได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.หุ้นที่มีความเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับตลาด
หุ้นประเภทนี้ เมื่อตลาดมีทิศทางเป็นบวก หุ้นก็จะปรับตัวเป็นบวก แต่ในทางตรงกันข้าม หากตลาดปรับตัวลง หุ้นก็จะปรับตัวลงด้วย แต่จะปรับมากกว่าหรือน้อยกว่าตลาด ให้เราดูที่ค่า Beta โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
2.หุ้นที่ไม่มีความสัมพันธ์กับตลาดและมีทิศทางคนละทางกับตลาด
เป็นหุ้นอีกประเภทที่มีการเคลื่อนไหวในคนละทิศทางกับดัชนีตลาดหุ้น หรือไม่มีความสัมพันธ์กับตลาดหุ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่หาได้ค่อนข้างยาก โดยสามารถแบ่งเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
โดยเราสามารถหาค่า Beta ของหุ้นแต่ละตัวได้จากเว็ปไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ คลิก ง่าย ๆ ใน 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.พิมพ์ชื่อหุ้นที่ต้องการทราบค่า Beta ในช่อง “ค้นหาหลักทรัพย์, ข่าว, เนื้อหา”
2.เลื่อนไปที่ “ข้อมูลสำคัญ” ของหุ้นที่เราสนใจ จะพบค่า Beta ของหุ้นนั้น ๆ
หลังจากที่เรารู้ความหมายและลักษณะของหุ้นแต่ละกลุ่มโดยแบ่งออกเป็นค่าต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว หลาย ๆ คนอาจมีข้อสงสัยว่า เราจะเลือกหุ้นโดยใช้ค่า Beta มาปรับเข้ากับการเลือกหุ้นเข้าพอร์ตอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเด็น คือ
1.ใช้ในการเลือกหุ้นที่ตรงกับแนวทางการลงทุนของเรา
2.ใช้ในการบริหารความเสี่ยงพอร์ตลงทุนโดยรวม
สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นหลายตัว แต่พอร์ตหุ้นในพอร์ตเป็นหุ้นที่ความผันผวนสูง การกระจายลงทุนด้วยการเพิ่มสัดส่วนในหุ้นที่มีค่า Beta ต่ำจะช่วยให้ภาพรวมของพอร์ตมีความผันผวนที่ต่ำลงได้
แต่อย่างไรก็ตาม ค่า Beta เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินใจในการคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ต และค่าดังกล่าว เป็นค่าที่นำข้อมูลของหุ้นและดัชนีในอดีตมาใช้ในการคำนวณ จึงควรใช้ปัจจัยอื่น ๆ ในการวิเคราะห์ร่วมด้วย เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการลงทุน
สุดท้ายนี้หากนักลงทุนสนใจเริ่มต้นลงทุนในหุ้นกลุ่มต่าง ๆ และต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เชิงลึก ตลาดหลักทรัพย์ฯ นักลงทุนสามารถสมัครใช้บริการ SETSMART ได้เพียงในราคา 250 บาทต่อเดือน คลิกที่นี่
นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถค้นหาข้อมูลหุ้นที่น่าสนใจแบบครบทุกมิติจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ คลิกที่นี่
Disclaimer : ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่ปรากฏนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยการอิงกับไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Based) หรือกระแส (Trend) ซึ่งรวบรวมมาจากข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่รับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวรวมทั้งไม่ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายจากการนำข้อมูลที่ปรากฏนี้ไปใช้ในทุกกรณี