“รู้มั้ยว่า เป็นมนุษย์เงินเดือนก็สบายตอนแก่ได้อย่างน่าอิจฉาเช่นเดียวกัน”
สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนจะได้รับจากการทำงาน นอกจากเงินเดือน โบนัส และการขึ้นเงินเดือนเป็นประจำทุกปี ยังมีเรื่องของสวัสดิการที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้อีกมาก ซึ่งสวัสดิการเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่งคั่งและความสุขในวัยเกษียณให้เราได้โดยไม่ต้องลำบากลำบนหรือเคร่งเครียดตลอดเวลา
คือ ผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับเพิ่มเติมนอกจากเงินเดือน ขณะเดียวกันก็ช่วยลดรายจ่ายในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย โดยเฉพาะรายจ่ายสำคัญอย่างค่ารักษาพยาบาล โดยบางสวัสดิการเป็นช่องทางการออมที่สำคัญ แต่มนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจจะยังไม่ทราบและไม่เข้าใจในสิทธิประโยชน์มากเพียงพอ
ดังนั้น หากลองทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการอย่างเต็มสิทธิ จะช่วยสร้างความมั่งคั่งและความสุขในวัยเกษียณให้แก่มนุษย์เงินเดือนได้ไม่ยาก วันนี้มาลองทำความเข้าใจ “3 สวัสดิการแสนดี เพื่อวัยเกษียณสุขของมนุษย์เงินเดือน” กัน!!!
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
เป็นกองทุนที่มนุษย์เงินเดือนควรให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มเข้าทำงาน เพราะเป็นแหล่งเงินออมชั้นดีที่เราสามารถสะสมเงินลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอทุกเดือน แถมนายจ้างยังใส่เงินสมทบเพื่อให้เรามีเงินออมไว้ใช้ในยามเกษียณอีกด้วย
เงินก้อนนี้ จะถูกนำไปลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อสร้างผลตอบแทนเป็นผลประโยชน์จากเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้าง ที่สำคัญ คือ เงินลงทุนและผลประโยชน์ทั้งหมดจะได้รับการยกเว้นภาษี ณ วันที่เราสิ้นสมาชิกภาพจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยเหตุเกษียณอายุ โดยมีเงื่อนไขว่า... จะต้องมีอายุเกษียณของบริษัทเกิน 55 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากกว่า 5 ปี
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานราชการนั้น ก็มีสวัสดิการรองรับวัยเกษียณผ่านการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เช่นเดียวกัน โดยมีรายละเอียดและผลประโยชน์ที่จะได้รับดังนี้
กองทุนประกันสังคม
มนุษย์เงินเดือนทุกคนน่าจะคุ้นเคยกับการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน แต่เงินที่จ่ายไปนั้นไม่ได้สูญเปล่า เพราะเป็นหลักประกันพื้นฐานให้กับชีวิต ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร เงินชดเชยรายได้กรณีว่างงาน เป็นต้น
แต่รู้หรือไม่ว่า... ยังมีอีกส่วนหนึ่งซึ่งเหมือนเป็นเงินออม ที่ประกันสังคมแบ่งไว้ให้ผู้ประกันตนอย่างเราๆ ได้ใช้ยามเกษียณด้วย เงินส่วนนั้นเรียกว่า “เงินสมทบกรณีชราภาพ” โดยผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ และถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือนขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งมีเงื่อนไขและผลประโยชน์ทดแทนดังนี้
กรณีชราภาพแบบบำนาญ
สมมติว่า... เราทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาโดยตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี (240 เดือน) ปัจจุบันมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ก็จะได้รับเงินบำนาญตามเงื่อนไขต่อไปนี้
เราจะได้รับเงินบำนาญตามจำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบโดยมีวิธีคำนวณ คือ
= 15 ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%
= 5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (1.5% (ปรับเพิ่ม) x 5 ปี) = 7.5%
รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี = 20% + 7.5% = 27.5%
เราจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% x 15,000 บาท
= 4,125 บาท/เดือน ตลอดชีวิต
กรณีชราภาพแบบบำเหน็จ
ค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ตามมาตรา 118 “การเกษียณอายุไม่ได้เป็นการเลิกจ้างโดยสมัครใจ” แต่เพราะเราอายุเกินข้อกำหนดในการทำงาน จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่เกษียณอายุมีสิทธิได้รับประโยชน์ในเรื่องการชดเชยรายได้ด้วย โดยมีเงื่อนไขตามกฎหมายดังนี้
จะเห็นว่า... สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของมนุษย์เงินเดือนนั้นมีมากมาย ตั้งแต่การนำเงินไปลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม และยังมีกฎหมายแรงงานคุ้มครองเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างในวันเกษียณอายุอีกด้วย และนี่คือข้อดีของการเป็นมนุษย์เงินเดือน เผื่อใครสนใจทำงานจนถึงวันเกษียณเพื่อรับสิทธิประโยชน์เหล่านี้
สำหรับใครที่อยากรู้เทคนิคการเพิ่มเงินออม และวิธีการสะสมความมั่งคั่งในระยะยาวเพื่อเป้าหมายเกษียณ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน” ฟรี!!! >> คลิกที่นี่