ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทุกอุตสาหกรรมล้วนได้รับผลกระทบ อยู่ที่ว่าใครจะกระทบมากหรือน้อย ทาง ADVANC เองที่อยู่ในธุรกิจดิจิทัล ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่มีผลกระทบ เพราะมียอดการใช้งานเพิ่มขึ้น 30-40% แต่เอาจริง ๆ แล้ว เราก็โดนผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้เล็กน้อย เพราะรายได้ที่ลดลงประมาณ 5%
เหตุผลก็คือเราไม่สามารถเก็บเงินได้ตามยอดใช้งานที่สูงขึ้นได้ เนื่องจากกำลังซื้อคนอ่อนแอ เราจึงต้องปรับลดราคาแพ็กเกจเพื่อช่วยผู้บริโภค แสดงให้เห็นว่าโควิด-19 กระทบทุก sector จริง ๆ รวมทั้งธุรกิจเทเลคอมที่อยู่ใน sector ที่น่าจะเติบโตมาก ๆ
แต่โควิด-19 ก็มีข้อดีให้เห็น คือ เรื่องของ Digital Transformation ที่เป็นตัวเร่งให้เราต้องปรับตัว ซึ่งจะเป็นผลดีให้ธุรกิจมีความเข้มแข็งและดีขึ้นในระยะยาว โดยเราต้องนำแผนที่เคยวางไว้มาปรับใช้เร็วขึ้น เช่น การลงทุนในธุรกิจ 5G เป็นต้น เพราะจริง ๆ แล้ว ADVANC มองเรื่อง Transform มาตั้งแต่ 6 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ตอนที่ยังแข็งแกร่งมาก เป็นเบอร์ 1 ในธุรกิจเทเลคอมแบบที่ไม่มีใครมาเทียบ แต่วันนั้นผมตั้งเป้าว่าเราจะไม่เป็น Mobile Operator แต่จะเป็น Digital Service Provider เพราะมองเห็นโอกาสว่า Digital Service จะเป็นเทรนด์ในอนาคตแน่นอน
นอกจากนี้ Digital Platform จะคือหัวใจสำคัญ และเป็นเรื่องที่เราอยากทำให้สำเร็จมาก ๆ เพราะเห็นโมเดลความสำเร็จจาก Facebook และ Google หากทำได้จะมีรายได้เข้ามามหาศาล เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามูลค่าของอุตสาหกรรมอื่น ๆ สูงกว่าเทเลคอมถึง 13 เท่า ดังนั้นเราจึงมีแนวคิดอยากนำเทคโนโลยีตัวเองไปร่วมมือกับธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งจะไม่ใช่การเข้าไปกินรวบ แต่เป็นรูปแบบ Revenue Sharing ร่วมกัน
"สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจในปัจจุบัน เราจะทำแบบเดิมไม่ได้แล้ว Business Model แบบใหม่ เรียนรู้ Skill Set ใหม่ ๆ และสร้าง Ecosystem โดยจับมือกับคนเก่งในด้านนั้น นี่คือสิ่งที่เรากำลังจะมุ่งไปข้างหน้า หากทำสำเร็จเราจะโตกว่า 1 เท่าเลยทีเดียว”
สุดท้ายอยากฝากนักลงทุนและนักวิเคราะห์ว่า ADVANC เป็นหุ้นที่มีความมั่นคงแข็งแรง เป็น Dividend Yield Stocks อาจจะไม่ได้โตหวือหวา แต่เน้นความมั่นคงในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น เหตุผลที่เราเป็นแบบนี้มาตลอด เพราะเราโฟกัสและไม่เคยทิ้ง Core Business ของบริษัท เรามี Core Business ที่แข็งแรง ยังรักษาความเป็นผู้นำเอาไว้ได้ ขณะเดียวกันก็ไม่หยุดที่จะมองหาโอกาสเติบโตใหม่ ๆ โดยคาดว่าจะเติบโตมากกว่า GDP 2-3%
“แม้รายได้จะลด แต่เรายังมีอัตรากำไรที่ดูดีได้ เพราะการปรับธุรกิจให้ Lean ที่สุด”
(ณัฐนัย อนันตรัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน)
รางวัล BEST CEO กลุ่มตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ปี 2563)
จริง ๆ แล้ว ITEL ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากโควิด-19 เนื่องจากฐานลูกค้าหลักของเราเป็นองค์กร โรงแรม ห้างร้านต่าง ๆ ซึ่งล้วนเจอผลกระทบเต็ม ๆ เมื่อเป็นแบบนี้เราจึงตัดสินใจจะ support ลูกค้า ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายตรงนี้เพื่อให้ทุกคนก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน รายได้ของบริษัทจึงกระทบอยู่บ้าง
"บทเรียนที่ได้จากโควิด-19 คือเราต้อง Lean ธุรกิจตัวเอง เมื่อรายได้ลดลงก็ต้องคุมค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อที่จะรีดอัตรากำไรให้ดูดีขึ้นได้ ซึ่งผมเชื่อว่าในอนาคตจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวฟย่อย ๆ เพราะฉะนั้นบริษัทขนาดกลางอย่างเรา จึงต้องนำจุดแข็งเรื่องความเร็ว ความคล่องตัว และการเข้าถึงข้อมูลด้วยการใกล้ชิดลูกค้ามาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์”
เนื่องจากขนาดธุรกิจของ ITEL อยู่ที่ระดับพันล้าน ดังนั้นเราจึงต้องเดินกลยุทธ์การเติบโตแบบคนพันล้าน โดยวางเป้าหมายโตที่ประมาณปีละ 30-40% แล้วกลับมาทำงานแบบ Work Backward สำหรับ key to success ของเรานั้นลูกค้าที่เปรียบเสมือนทองคำ โดยเราเลือกที่เข้าไปเป็นพาร์ทเนอร์เพื่อช่วยกันโต และให้คำปรึกษาว่าจะเดินหน้าต่อไปยังไง หากสามารถหาวิธีการและเจอลูกค้าที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้เราเติบโตในระดับที่คาดหวังได้
ขณะเดียวกันสิ่งที่เราต้องหาเพิ่มก็คือ S-Curve ตัวถัดไป สิ่งที่มองไว้คือ Anti Drone และ Social Data ที่นำมาปรับใช้ในธุรกรรมเฉพาะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากำลังพัฒนาอยู่
ธุรกิจน้ำมันและก๊าซได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก เพราะ Demand การใช้น้ำมันหายไปเยอะมาก จากเดิมโลกเราใช้น้ำมันราว 100 ล้านบาเรล/วัน แต่ช่วงโควิด-19 ยอดใช้น้ำมันหายไปกว่า 30% เหลือประมาณ 70 ล้านบาร์เรล/วันเท่านั้น ทำให้ยอดขายของ ปตท.สผ. ลดลงประมาณ 10%
อีกทั้งช่วงเดือนแรกที่เกิดโควิด-19 ราคาน้ำมันดิบไหลลงมาเหลือเพียง 20 เหรียญ/บาร์เรล จากระดับ 60 เหรียญ/บาร์เรล ส่งผลให้กำไรสุทธิที่บริษัททำได้นั้นหายไปครึ่งนึงเลย แต่โชคดีตรงที่ ปตท.สผ. ดำเนินนโยบายแบบ Conservative ทำให้ฐานะทางการเงินเรามีความเข้มแข็ง เหลือเงินสดในมือเยอะ และสามารถบริหารสภาพคล่องได้ดี
และหากย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน เราเคยเจอวิกฤตแบบนี้มาเหมือนกัน นั่นคือวิกฤตราคาน้ำมัน เราจึงนำวิธีการรับมือครั้งนั้นมาปรับใช้แบบ "Doing old things in a new way" โดยให้ความสำคัญกับเรื่อง Digital Transformation และทำองค์กรให้ Lean
ทั้งนี้ โควิด-19 ก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสีย สิ่งนี้ได้สร้างโอกาสให้เราพอสมควร เพราะเราเคยมองไว้แล้วว่าในอีก 20-30 ปีข้างหน้า ธุรกิจ Oil & Gas อาจจะต้องถูก disrupt เราจึงเริ่มมองหาธุรกิจใหม่ ๆ อย่างเช่นการตั้งบริษัทเทคโนโลยีที่ชื่อว่า AI and Robotics Venture ซึ่งก่อนเกิดโควิด-19 มีพนักงานแค่ 20 คน แต่ปัจจุบันเติบโตจนมีพนักงานเพิ่มเป็น 100 คนแล้ว
"ความชัดเจนของการทำธุรกิจที่นอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซนั้นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะค่อย ๆ ปรับตัวกันไป ที่สำคัญคือเราจะปรับ Mindset ให้เป็นแบบ New Way of Working หมดเลย ไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันแล้ว เพื่อจะได้ Save Working Space ซึ่งเป็นการปรับวิธีการทำงานใหม่ๆ ให้เข้ากับบริษัท"
สำหรับเป้าหมายในช่วง 5 ปีข้างหน้า เราคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยที่ 5% และภายในปี 2568 ต้องบริหารต้นทุนให้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 25 เหรียญ/บาเรล แต่สิ่งที่ต้องกลับมาคิดทบทวนคือเราจะยังโตในธุรกิจนี้ไปเรื่อย ๆ หรือเปล่า เพราะน้ำมันและก๊าซกำลังประสบปัญหา High Risk Low Return ซึ่งการประเมินเบื้องต้นธุรกิจน้ำมันจะเข้าสู่จุดพีคในปี 2583 จากนั้นจะเริ่มดรอปลงเรื่อย ๆ สิ่งนี้ทำให้เราต้องเริ่มเตรียมตัว
ก่อนอื่นอยากจะชวนทุกคนย้อนไปดูว่าความจริงแล้วธุรกิจธนาคารผ่านวิกฤตมาแล้วหลายรอบ ไล่มาตั้งแต่วิกฤตฟองสบู่แตก วิกฤต Sub-Prime จนมาถึงโควิด-19 ซึ่งจะเห็นว่าทุกวิกฤตธนาคารจะร่วง พอหลังวิกฤตก็จะค่อย ๆ ฟื้น และทุกครั้งที่มีวิกฤตธนาคารจะได้บทเรียนเสมอว่าอะไรที่ทำให้ตัวเองพัง
ส่วนที่หลายคนบอกว่ารอ GDP ฟื้น ธุรกิจจะดีขึ้นเอง คำพูดนี้เป็นทั้งจริงและไม่จริง แต่ผมไม่อยากให้มองแค่ตรงนั้น เพราะสิ่งสำคัญกว่าของทุกธุรกิจคือคุณได้เลือก Business Model ถูกต้องไหม? Transform ตัวเองได้เร็วแค่ไหน? และคุณมี Focus ที่ชัดเจนหรือเปล่า? เลือกสิ่งที่จะไม่ทำเพื่อทำในสิ่งที่ควรทำ เพราะฉะนั้นแล้วใครที่มี Culture ในการเปลี่ยนตัวเองได้เร็วกว่า ก็จะเป็นแรงส่งให้ธุรกิจกลับมาเติบโตได้ดี
คำถามคือสำหรับธนาคาร The Right Business Model หน้าตาเป็นอย่างไร? ทีเอ็มบีและธนชาตเชื่อในเรื่องของความยั่งยืน และต้องทำให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้น เมื่อชีวิตลูกค้ายั่งยืน ธนาคารก็จะยั่งยืน เรามองเมกะเทรนด์ว่าคนไทยยังยึดติดว่าจะเกษียณด้วยเงินฝาก ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะภายใต้ New Normal ดอกเบี้ยเงินฝากเหลือนิดเดียว และคนไทยยังไม่ได้มีความรู้การลงทุนเพียงพอนัก อีกทั้งคนเราอายุยืนขึ้น คนแก่เยอะขึ้น แถมค่ารักษาพยาบาลยังแพงขึ้นอีก ธนาคารจึงต้องเข้าไปตอบโจทย์ลูกค้าในเรื่องนี้ให้ได้ นั่นคือการโฟกัสผลิตภัณฑ์ในด้านการลงทุน และความคุ้มครอง เพื่อทำให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดีและยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราต้องปรับคือเรื่อง mindset ของคน เพราะในอดีตพนักงานถูกฝึกมาให้ขายผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้คำแนะนำ ซึ่งวันนี้ลูกค้าแต่ละคนมี need & pain ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงต้องอาศัยข้อมูล digital มาช่วยให้เกิด impact ทางบวกต่อลูกค้า นอกจากนี้ หัวใจสำคัญของธุรกิจธนาคารนั้นต้องเปลี่ยนตัวเองจาก Banking as a Product มาเป็น Banking as a Service โดยสร้าง environment ดี ๆ ให้กับธุรกิจต่าง ๆ เคลื่อนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนที่ลดลง
"ผมเชื่อว่าหุ้นธนาคารยังมีสเน่ห์อยู่มาก และวันนี้ราคาก็ถูกลงมากแล้ว แต่ต้องเข้าใจว่าเราไม่ใช่หุ้นหวือหวา ธนาคารจะกลายเป็นหุ้นปันผล ที่ต้องถือลงทุนในระยะยาว" อนาคตของ TMB หลังจากยุค New Normal ธนาคารจะมีต้นทุนต่ำลงและต่อไปรายได้ของธนาคารจะมาจากรายได้บริการที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า จะมี synergy จากการรวมกิจการ
สุดท้ายนี้หากใครที่ต้องการอ่านบทวิเคราะห์หุ้นรายตัวแบบเจาะลึก คลิกที่นี่