ที่ผ่านมามักจะได้ยินนักลงทุนตั้งคำถามเสมอว่า “ควรซื้อ SSF และ RMF ตอนไหนดี” คำตอบ คือ ควรเริ่มซื้อเลย เนื่องจากว่าการซื้อ SSF และ RMF เป็นการลงทุนระยะยาว และจะขายออกไม่ได้ถ้ายังไม่ถึงเวลาขาย พูดง่ายๆ ถึงจะซื้อตอนสิ้นปีนี้ หรือปีหน้าก็ไม่มีสิทธิขายออก ดังนั้น หากนักลงทุนสามารถซื้อ SSF และ RMF ได้ในลักษณะทยอยลงทุนแบบสม่ำเสมอ หรือ Dollar Cost Average (DCA) ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
(รายได้ – เงินออม = รายจ่าย)
4. มีเงินน้อยก็ลงทุนได้ การลงทุนแบบ DCA เหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นลงทุน มีเงินลงทุนไม่มาก เพราะแค่ระดับร้อยบาทก็ลงทุนได้
การทยอยลงทุนแบบสม่ำเสมอ เป็นการลงทุนโดยการใส่เงินเข้าไปในแต่ละงวดด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันๆ เช่น ลงทุนจำนวน 1,000 บาททุกเดือน ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับการลงทุนระยะยาวในกองทุนรวม SSF และ RMF โดยเฉพาะนักลงทุนที่ค่อนข้างระมัดระวังในการลงทุน หรือผู้ที่ไม่มีเงินลงทุนเป็นก้อนมากพอที่จะลงทุนครั้งเดียว ไม่สามารถประเมินตลาดได้ และไม่มั่นใจว่าควรเข้าไปลงทุนในช่วงใด
DCA อย่างไรให้เหมาะสม
ถึงแม้ว่าจะสามารถซื้อ SSF ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และซื้อ RMF ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่เมื่อนำมารวมกับเงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น ต้องพิจารณาก่อนว่า หลังจากหักวงเงินลดหย่อนรวมกลุ่มเกษียณอื่นๆ แล้ว สามารถซื้อ SSF และ RMF ได้เท่าไหร่
ตัวอย่าง
ปี 2564 นาย ก. ได้รับเงินเดือน 35,000 บาท (รวมทั้งปี 420,000 บาท) หักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอัตรา 10% ต่อเดือน หรือ 3,500 บาท (รวมทั้งปี 42,000 บาท) และซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญด้วยทุนประกัน 1 ล้านบาท โดยมีเบี้ยประกันประมาณ 20,000 บาทต่อปี
จากตัวอย่าง นาย ก. สามารถซื้อ SSF ปี 2564 ได้สูงสุด 126,000 บาท (คิดเป็น 30% ของเงินได้พึงประเมินปี 2564) และซื้อ RMF ได้สูงสุด 126,000 บาท (คิดเป็น 30% ของเงินได้พึงประเมินปี 2564) หมายความว่า นาย ก. สามารถซื้อ SSF ในลักษณะทยอยลงทุนได้ 10,500 บาทต่อเดือน และซื้อ RMF ได้ 10,500 บาทต่อเดือนเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อนำมารวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วก็ไม่เกิน 500,000 บาท
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนาย ก. มีเงินเดือน 35,000 บาท หากแบ่งมาซื้อ SSF และ RMF เต็มจำนวนที่ซื้อได้สูงสุด คงไม่เหลือเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ดังนั้น จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมที่สามารถแบ่งเงินมาลงทุนได้ เช่น ซื้อ SSF เดือนละ 1,000 บาท และ RMF เดือนละ 1,000 บาท ทุกเดือน จากนั้นจึงวางแผนเพิ่มเงินลงทุนเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นต่อไป
มองเป็นการเก็บเงินระยะยาว
จะว่าไปแล้ว SSF และ RMF เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมให้คนไทยออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ ส่วนสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเรื่องของแรงจูงใจให้ออมเงิน ด้วยเหตุนี้ SSF และ RMF จึงมีเงื่อนไขที่เข้มงวดพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานพอสมควร คือ ต้องถือไม่ต่ำกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อจึงจะขายได้ และหากทำผิดเงื่อนไขก็จะมีบทลงโทษด้วย
ดังนั้น การซื้อ SSF และ RMF จึงเป็นการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ และควรเริ่มต้นลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อมีโอกาส เพราะข้อดีอยู่ตรงที่ว่าจะได้ทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีและยังได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (Investment Return) ในระยะยาว ที่สำคัญสามารถทยอยลงทุนด้วยจำนวนเงินที่น้อย จึงเป็นการเก็บเงินแบบน้ำซึมบ่อทราย นั่นคือ ค่อยๆ สะสมไป และยิ่งลงทุนแบบทยอยลงทุนทุกเดือนจะรู้สึกว่าไม่เป็นภาระกับเงินในกระเป๋า เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้ว เมื่อเห็นเงินที่ลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะรักการออมและการลงทุนโดยอัตโนมัติ
ปัจจุบันการวางแผนภาษีสามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนสมัยก่อน เพียงเลือกใช้ตัวช่วยดีๆ นั่นคือ โปรแกรม “วางแผนประหยัดภาษี” ก็สามารถวางแผนภาษีได้ด้วยตนเอง เพราะโปรแกรมจะช่วยคำนวณและวางแผนลดหย่อนภาษีให้เรา สามารถใช้งานได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่
และสำหรับผู้ที่สนใจ อยากจะเรียนรู้สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขต่างๆ ในการลดหย่อนภาษี เพื่อให้สามารถวางแผนภาษีและเพิ่มเงินออมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “วางแผนภาษี สไตล์มนุษย์เงินออม” ได้ฟรี!!! >> คลิกที่นี่
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุนรวม SSF & RMF แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ลองมาทำความรู้จักกองทุนทั้ง 2 แบบเข้าใจง่าย และเจาะลึกมากขึ้น ทั้งในแง่ภาพรวมของกองทุน กลยุทธ์การลงทุน ตลอดจนเทคนิคการประหยัดภาษีอย่างฉลาด ด้วย “คู่มือ SSF&RMF แฝดคู่ใหม่ใช้ลดหย่อนภาษี” ดาวน์โหลดและอ่านฟรี!! >> คลิกที่นี่
หรือ ถ้าสนใจเปิดบัญชีกองทุน >> คลิกที่นี่
หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน