วันนี้เห็นหุ้นอะไรบ้าง ระหว่างเดินทางมาทำงาน?

โดย SET
5 Min Read
24 มิถุนายน 2565
4.868k views
SET-investHow_PhotoAlbum_หุ้นที่พบเจอ_01
In Focus

มาสำรวจกันว่าระหว่างที่เราเดินทางมาทำงาน จะเจอหุ้นตัวไหนอยู่รอบตัวบ้าง โดยจะพาทุกคนมาตามรอยชีวิตหนุ่มออฟฟิศที่ใช้ชีวิตทำงานใจกลางเมือง มาดูกันเลย!

          หลังจากที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมา Work From Home กันเป็นปีๆ ซึ่งช่วงนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายขึ้น มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ คงเริ่มเตรียมตัวกลับมาใช้ชีวิตการทำงานที่ออฟฟิศกันตามปกติแล้ว วันนี้เลยอยากจะมาสำรวจกันว่าระหว่างที่เราเดินทางมาทำงาน จะเจอหุ้นตัวไหนอยู่รอบตัวบ้าง โดยจะพาทุกคนมาตามรอยชีวิตหนุ่มออฟฟิศที่ใช้ชีวิตทำงานใจกลางเมือง มาดูกันเลย

  1. เดินทางด้วยรถไฟฟ้า

มนุษย์ออฟฟิศจำนวนมากในกรุงเทพฯ นิยมเดินทางมาทำงานด้วยรถไฟฟ้าเป็นหลัก สำหรับผู้ให้บริการรถไฟฟ้าในไทย ก็มีให้นึกถึง 2 เจ้า นั่นคือหุ้น BTS ของบีทีเอสกรุ๊ป และหุ้น BEM ของบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ซึ่งเป็นหุ้นในหมวดอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS)

ขณะเดียวกันระหว่างที่อยู่ในสถานีรถไฟฟ้านั้น หากลองมองบรรยากาศรอบตัว จะเจอป้ายโฆษณามากมาย ซึ่งบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้าน (OOH) เช่น หุ้น VGI และ PLANB

 

ต้องรู้อะไรก่อนลงทุนหุ้นขนส่งมวลชน

  1. จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้า

ยอดผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของผู้ให้บริการรถไฟฟ้า อย่างที่จะเห็นกันว่าเมื่อมีการล็อคดาวน์ จากการระบาดของโควิด-19 ผู้ใช้รถไฟฟ้าบางตา ทำให้รายได้รวมของหุ้นรถไฟฟ้าลดลงอย่างมาก และแน่นอนว่าจำนวนผู้โดยสาร ยังกระทบต่อธุรกิจอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะการใช้สื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้า

  1. แผนการขยายโครงการใหม่ในอนาคต

จำนวนสถานีหรือเส้นทางสายต่างๆ ที่มีแผนจะเปิดในอนาคต รวมถึงการเปิดประมูลโครงการใหม่ ๆ ของภาครัฐ จะเป็นโอกาสสร้างการเติบโตของกับหุ้นกลุ่มนี้ได้ โดยส่งผลบวกต่อรายได้และกำไรในระยะยาว แต่ในระยะแรกจะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อลงทุนไปก่อน

SET-investHow_PhotoAlbum_หุ้นที่พบเจอ_02
  1. ขับรถส่วนตัวขึ้นทางด่วน

แต่หากวันไหนที่มีธุระต้องออกประชุมข้างนอก ก็อาจจะนำรถยนต์คู่ใจออกมาใช้บ้าง ซึ่งการจราจรที่ค่อนข้างหนาแน่นในกรุงเทพ แน่นอนว่าต้องมีบางวันแน่ ๆ ที่ได้ใช้บริการขึ้นทางด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงรถติด ซึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีหุ้นและกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางด่วน เช่น BEM, DMT และ TFFIF

 

ต้องรู้อะไรก่อนลงทุนหุ้นทางด่วน

  1. ปริมาณรถยนต์ที่มาใช้บริการทางด่วน

ส่วนใหญ่แล้วผู้ให้บริการทางด่วนในประเทศไทย รูปแบบรายได้จะมาจากโครงการสัมปทาน โดยรับส่วนรายได้ตามสัญญาที่ทำกับภาครัฐ ยิ่งมีปริมาณการเดินทางของผู้ใช้บริการเยอะเท่าไหร่ บริษัทก็จะมีรายได้ที่มากขึ้น

  1. สัญญาสัมปทาน

อย่างที่บอกในข้อที่แล้วว่ารายได้ของบริษัททางด่วนมาจากสัปทานจากภาครัฐ เพราฉะนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาให้ดีว่าแต่ละโครงการได้รับส่วนแบ่งหรือผลตอบแทนอย่างไร และมีระยะเวลาของสัมปทานกำหนดไว้นานแค่ไหน

  1. กระแสเงินสดในมือ

กระแสเงินสดเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในการทำธุรกิจ และเป็นเงินทุนสำหรับรองรับโอกาสเติบโตในอนาคต เนื่องจากธรรมชาติของธุรกิจนี้ จะต้องมีการเข้าประมูลงานใหม่อยู่เสมอ

SET-investHow_PhotoAlbum_หุ้นที่พบเจอ_03
  1. แวะเข้าปั๊มเติมน้ำมัน

ก่อนจะถึงที่ทำงาน น้ำมันรถใกล้จะหมด เราอาจจะมีการแวะเข้าปั๊มน้ำมันกันสักหน่อย โดยหุ้นปั๊มน้ำมันก็มีให้เลือกเยอะทีเดียว ทั้ง หุ้น OR ของปั๊ม PTT Station, หุ้น BCP ปั๊มบางจาก, หุ้น PTG ปั๊มพีทีจี, หุ้น ESSO ปั๊มเอสโซ่ รวมถึงหุ้น SUSCO ของปั๊มน้ำมันซัสโก้

 

ต้องรู้อะไรก่อนลงทุนหุ้นปั๊มน้ำมัน

  1. ปริมาณการเดินทาง

ยิ่งคนเดินทางสัญจรเยอะเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อรายได้ของธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน 

  1. ค่าการตลาดน้ำมัน

ต้นทุนอย่างหนึ่งที่สำคัญของปั๊มน้ำมัน คือ ราคาน้ำมันที่รับมาจากโรงกลั่น ซึ่งส่วนต่างระหว่างราคาขายน้ำมันหน้าปั๊มกับราคาหน้าโรงกลั่น จะเรียกว่า “ค่าการตลาดน้ำมัน” เปรียบเสมือนกำไรขั้นต้นของธุรกิจนี้ก็ว่าได้

  1. 3. การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์กับธรกิจ Non-oil

ปัจจุบันธุรกิจปั๊มน้ำมันมีการแข่งขันที่ดุเดือด และการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียวก็ให้อัตรากำไรที่ต่ำ จึงจะเห็นว่าหลายสถานีหันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจ Non-oil เพื่อเพิ่มอัตรากำไรให้ดีขึ้น เช่น ร้านกาแฟ มินิมาร์ท คาร์แคร์ หรือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่ภายในปั๊มให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

SET-investHow_PhotoAlbum_หุ้นที่พบเจอ_04
eOpen Banner for investHow-01-01
  1. แวะซื้อกาแฟและอาหารเช้า

ก่อนจะขึ้นไปทำงาน ขาดไม่ได้เลยที่จะต้องแวะไปซื้อกาแฟไว้ดื่มสักแก้ว หรือซื้อมื้อเช้าเบา ๆ เอาไว้รองท้องแก้หิวสักหน่อย ซึ่งก็หุ้นร้านกาแฟ&ร้านอาหารให้ได้เลือกหลากหลาย อาทิ Café Amazon (หุ้น OR), Inthanin (หุ้น BCP), True Coffee (หุ้น TRUE), 7-11 (หุ้น CPALL), S&P (หุ้น SNP), The Coffee Club (หุ้น MINT), au bon pain (หุ้น MUD) เป็นต้น

 

ต้องรู้อะไรก่อนลงทุนหุ้นร้านอาหาร

  1. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

หรือมักเรียกสั้นๆ ว่า SG&A (Selling, General & Administrative Expense) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายและการบริหาร เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ตรงนี้จะเป็น 1 ในส่วนสำคัญที่จะบอกว่ากิจการสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ดีแค่ไหน

  1. ต้นทุนขายและการให้บริการ

คือ ต้นทุนของสินค้าหรือบริการที่ขาย เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ซึ่งหากบริษัทสามารถบริหารต้นทุนได้ดี ก็จะสะท้อนไปถึงอัตราในการทำกำไรนั่นเอง

  1. การเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม

ตรงนี้เราสามารถดูได้จากตัวเลข SSSG (Same Store Sales Growth) ว่ามีการเติบโตขึ้นหรือไม่ หากเติบโตก็แปลว่าบริษัทมีความสามารถในการเพิ่มยอดขาย โดยที่ไม่ต้องพึ่งต้นทุนเพื่อขยายสาขาใหม่

SET-investHow_PhotoAlbum_หุ้นที่พบเจอ_05

 5.เดินขึ้นตีกสำนักงาน

 

เมื่อจัดการภารกิจต่าง ๆ เรียบร้อย ก็ถึงเวลาต้องขึ้นไปทำงานกันแล้ว ซึ่งจะเห็นว่าในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกลุ่มกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนในอาคารสำนักงานชั้นนำมากมาย อาทิ B-WORK, BOFFICE, GVREIT, CPNREIT เป็นต้น

 

ต้องรู้อะไรก่อนลงทุนกองทุน REIT อาคารสำนักงาน

  1. อัตราเงินปันผล

กอง REIT มักจะให้อัตราเงินปันผลตอบแทนสูงและสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี

  1. ประเภทของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์

กอง REIT จะแบ่งรูปแบบการลงทุนเป็น 2 ประเภท คือ

- Freehold เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เปรียบเสมือนเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยตรง

- Leasehold เป็นการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีวันที่หมดอายุ

โดยกองที่ยกตัวอย่างข้างต้นทั้ง B-WORK, BOFFICE, GVREIT, CPNREIT เป็นประเภท Leasehold

SET-investHow_PhotoAlbum_หุ้นที่พบเจอ_06

สุดท้ายนี้หากนักลงทุนสนใจเริ่มต้นลงทุนในหุ้นกลุ่มต่าง ๆ และต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เชิงลึก ตลาดหลักทรัพย์ฯ นักลงทุนสามารถสมัครใช้บริการ SETSMART ได้เพียงในราคา 250 บาทต่อเดือน คลิกที่นี่

นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถค้นหาข้อมูลหุ้นที่น่าสนใจแบบครบทุกมิติจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ คลิกที่นี่

Disclaimer : ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่ปรากฏนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยการอิงกับไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Based) หรือกระแส (Trend) ซึ่งรวบรวมมาจากข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ฯ”) อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่รับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าวรวมทั้งไม่ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนใด ๆ ในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายจากการนำข้อมูลที่ปรากฏนี้ไปใช้ในทุกกรณี

ปุ่ม erc
ปุ่ม setsmart
แท็กที่เกี่ยวข้อง: