วางแผนสร้างเงินล้านแรก

“เงินล้านใครๆ ก็อยากได้” 

แต่การจะเก็บเงินให้ได้ล้านแรก หลายคนมองว่ามันช่างยากซะเหลือเกิน แค่คิดว่าต้องเก็บเงิน ก็เกิดอาการท้อในใจ ดูเหมือนจะทำไม่ได้ ทั้งที่ความจริงแล้วการเก็บเงินล้าน หากวางแผนให้ดีก็ไม่ยากอย่างที่คิด ยิ่งถ้ามีตัวช่วยย่นระยะเวลาในการเก็บเงินของเราให้เร็วขึ้น ยิ่งมีโอกาสเป็นจริงได้แน่นอน

วิธีการที่เราจะเพิ่มพลังเงินออมให้งอกเงยให้ไปสู่เป้าหมาย
เงินล้านที่ต้องการได้เร็วขึ้นมีอยู่ 2 วิธี คือ

img-planning-3-01
1
วางแผนจัดสรรเงินออมให้มากขึ้น เพื่อให้เราบรรลุ เป้าหมายได้เร็วขึ้น

วิธีนี้ฟังดูเหมือนง่าย แต่เวลาต้องทำจริงช่างยากลำบากซะเหลือเกิน เพราะการที่เราจะเก็บเงินออมให้มากขึ้นได้ ก็เท่ากับเราต้องไปลดค่าใช้จ่ายบางอย่างให้น้อยลง เช่น จากเดิมเราเก็บเงินได้ 2,000 บาทต่อเดือน ถ้าจะเก็บไปให้ถึง 1 ล้านบาท เราจะใช้เวลาเก็บเงินทั้งหมดประมาณ 42 ปี แค่เห็นตัวเลขนี้ กว่าจะมีเงินล้านได้ ก็ดูต้องใช้เวลายาวนานเกินทน 

แต่ถ้าหากเราออมเงินมากขึ้น เช่น สามารถเพิ่มเงินออมเป็น 5,000 บาท หรือใครมีการเก็บออมที่เยอะขึ้นถึง 10,000 บาท ก็ย่อมทำให้ไปถึงเป้าหมายเงินล้านได้เร็วขึ้น ซึ่งจำนวนเงินออมจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารรายรับรายจ่ายของแต่ละคน ใครเงินเดือนเยอะและเก็บออมได้มากก็ย่อมไปสู่เป้าหมายได้เร็วกว่าคนอื่น

img-planning-3-02
2
เพิ่มผลตอบแทนให้เงินงอกเงยด้วยการลงทุน

เพื่อให้เห็นภาพว่าการวางแผนสร้างเงินล้านด้วยการลงทุนนั้นน่าสนใจขนาดไหน ลองมาดูจากตัวอย่างกัน

สมมติเราจะเก็บเงินวันละ 120 บาท หรือเดือนละ 3,600 บาท แล้วนำเงินนี้ไปลงทุนแบบ DCA ใน 3 ทางเลือก คือ

เงินฝากธนาคารที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 0.75% ต่อปี
กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 4.00% ต่อปี 
กองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนประมาณ 8.00% ต่อปี 

ตั้งแต่เริ่มต้นทำงานเป็นระยะเวลา 15 ปี มาดูกันว่าผลตอบแทนของทางเลือกไหนจะทำให้เราไปถึงเงินล้านเร็วที่สุด 

img-planning-3-02
img-planning-3-03

หมายเหตุ : อัตราผลตอบแทนที่ใช้เป็นเพียงอัตราผลตอบแทนสมมติ และคำนวณเงินออมแบบทบต้นต่อปี

เปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยการ DCA ในทางเลือกต่างๆ เดือนละ 3,600 บาท ระยะเวลา 15 ปี

จากกราฟจะเห็นว่าการลงทุนใน “กองทุนรวมหุ้น” ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนรวมตราสารหนี้และเงินฝากธนาคาร ซึ่งถ้าเราลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทน 8% ต่อปี จะทำให้เรามีเงิน 1 ล้านบาทได้ไม่ยากเย็นนัก

แต่อย่าลืมว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง” ระหว่างทางที่ลงทุนอาจมีทั้งช่วงที่กำไรและขาดทุน ดังนั้น เราต้องเข้าใจความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และเดินหน้าลงทุนในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ... เมื่อเรามีรายได้มากขึ้น ก็ควรจะแบ่งมาออมและลงทุนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป้าหมายเงินล้านเป็นจริงได้เร็วที่สุด