รู้หรือไม่ ประกันชีวิต คือเครื่องมือบริหารความเสี่ยงชั้นเลิศ

“ประกันชีวิต” หนึ่งในเครื่องมือบริหารความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทน รวมทั้งการคุ้มครองตอนเจ็บไข้ได้ป่วย และเป็นทุนสำรองสำหรับคนที่อยู่ข้างหลัง เพียงเราเจียดเงินสัก 10% ของรายได้ เราอาจได้สิ่งที่คุ้มค่าเมื่อยามจำเป็น

ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจซื้อประกันของท่านจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าบางครั้งประกันชีวิต อาจจะเป็นที่พึ่งใบสุดท้ายของเราเลยก็ได้ เพราะอนาคตไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเรา และเมื่อมาถึงช่วงเวลานั้น เราอาจจะเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของประกันชีวิตเลยทีเดียว

เพราะอะไรนะหรือ! ชีวิตคนเราไม่แน่นอน ทุกการดำเนินชีวิตย่อมแขวนอยู่บนเส้นด้ายตลอดเวลา ในวันที่เรายังไม่เจอเรื่องร้ายๆ ประกันชีวิต อาจไร้คุณค่าสำหรับเรา หรืออาจคิดว่า... มันคือภาระ ทำไมเราต้องจ่าย? แต่หากวันไหนเจ็บไข้ได้ป่วยแบบไม่ทันตั้งตัว เมื่อนั้นแหละ จะรู้ซึ้งถึงคุณค่าของประกันขึ้นมาทันที แถมเราอาจไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินเองสักกะบาทเลยด้วยซ้ำ

 เราลองมา “วางแผนประกัน” ดูไหม? 

บางทีอาจจะไม่เลวร้ายอย่างที่คิดก็ได้ ทั้งการทำให้ตัวเราเอง หรือทำให้คนที่เรารัก เผื่อเป็นทุนสำรองในอนาคต เงินส่วนนี้จะช่วยประหยัดภาษีได้มากเลย

img-planning-7-1

แต่ก่อนอื่นเลย อันดับแรกต้องดูว่าเรามีภาระอะไรบ้างทั้งค่าใช้จ่ายและหนี้สินต่างๆ
หลายคนมักจะมีปัญหาการบริหารจัดการเงิน อย่าว่าแต่การจะออมเงินเลย แค่จะใช้ชีวิตให้ถึงปลายเดือนนั้นก็ยากแล้ว แถมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเงินของเราหายไปไหนหมด ดังนั้น การวางแผนการใช้จ่าย คือ สิ่งที่ต้องทำอันดับแรก โดยการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของแต่ละวัน เพื่อให้เราเห็นว่านิสัยการใช้เงินของเราเป็นอย่างไร และเงินรั่วไหลตรงไหน เมื่อเรารู้ว่ามีรูรั่วที่จุดใด ก็จะสามารถวางแผนปิดรูรั่วนั้นได้ ทำให้มีเงินเหลือออมมากยิ่งขึ้น
วิธีทำประกันแบบไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระ ก็คือ ให้ทำแบบพอดีๆ มีกำลังส่งไปตลอด เพราะการทำประกันอาจต้องใช้ระยะเวลานาน และถือเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาว จึงต้องคำนวณรายรับรายจ่ายของเราดูว่าในแต่ละเดือนหรือปีนั้น มีกำลังส่งค่าเบี้ยประกันได้เท่าไหร่ แต่ถ้าลองเจียดเงินสัก 10% ของรายได้มาทำประกัน ก็ถือว่าไม่มากเกินไปแล้วล่ะ เมื่อมีรายได้มากขึ้นค่อยทยอยซื้อประกันเพิ่มขึ้น

แต่...เดี๋ยวก่อน นอกจากปัญหาจ่ายค่าเบี้ยเกินกำลังแล้ว ยังมีอีกประเด็นก็คือ
ซื้อประกันไม่ตรงกับความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนเอง 

img-planning-7-2

ดังนั้น เราก็ควรถามตัวเองว่า ความต้องการของเรานั้นมีอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นข้อๆ เพราะไม่มีใครบอกได้ว่าประกันแบบไหนที่จะเหมาะกับเรามากที่สุด... นอกจากตัวเราเอง
ยกตัวอย่างง่ายๆ บางคนไม่เน้นผลตอบแทนคืน แต่ขอให้ตอนเจ็บไข้ได้ป่วยได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ก็ควรซื้อประกันสุขภาพ บางคนเน้นจะได้ผลตอบแทนมากๆ ไม่เน้นเรื่องของการคุ้มครองซักเท่าไหร่ ก็อาจจะซื้อประกันควบการลงทุน (Unit Linked) ในขณะที่บางคนนึกถึงคนที่อยู่ข้างหลังมาก ก็ควรซื้อประกันที่มีความคุ้มครองสูง จึงไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัวสำหรับผู้ทำประกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการ และคิดว่าเหมาะสมกับเราที่สุดอย่างแท้จริง 

img-planning-7-2

และสุดท้ายก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อประกัน ตรงนี้สำคัญมาก ขอย้ำสิบรอบ อย่าลืม!!! ศึกษารายละเอียดในกรมธรรม์อย่างรอบคอบ จะได้รู้เงื่อนไขของประกันที่เลือกว่าให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง และเราจะได้รับประโยชน์มากน้อยแค่ไหน