การสร้างครอบครัวเป็นความฝันของใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแต่งงาน หรือมีลูก แต่ก็ต้องยอมรับว่าชีวิตคู่ไม่ได้อาศัยแค่ความรักและความเข้าใจเท่านั้นที่จะครองชีวิตคู่ให้ยาวนาน การวางแผนการเงินของครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
เมื่อเราเติบโตมาในระดับหนึ่ง เชื่อว่าทุกคนต้องมีแนวคิดในการสร้างครอบครัวเข้ามาในหัวบ้างแหละ แต่ประเด็นเหล่านี้คิดแล้วก็ปวดหัว เพราะหลายๆ คนไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ซึ่งการสร้างครอบครัวให้มั่นคงไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน ย่อมเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อวัยรุ่นอย่างเรามาก และยิ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน ยิ่งคิดหนักไปใหญ่ เพราะรายรับกับรายจ่ายแทบจะไม่ต่างกันเลย
ชีวิตวัยรุ่นอย่างเรา เมื่อเที่ยวจนรู้สึกอิ่มตัวแล้ว ก็เริ่มมองหาอะไรที่มั่นคง ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน หรือแม้กระทั่ง “การแต่งงาน” ซึ่งถือเป็นความฝันอันของใครหลายๆ คน แต่การที่จะร่วมกันฝ่าฝันอุปสรรค หรือครองชีวิตคู่ให้ยาวนาน ต้องยอมรับกันว่า... ชีวิตคู่ไม่เพียงต้องอาศัยความรักและความเข้าใจเท่านั้น แต่การวางแผนการเงินเพื่อสร้างอนาคตที่มั่นคงให้ครอบครัวก็สำคัญเช่นกัน
แน่นอนชีวิตหลังแต่งงาน คู่สามีภรรยาคงจะใช้ชีวิตทางการเงินแบบลงเรือลำเดียวกัน ทุกคู่มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบภาระต่างๆ ร่วมกัน ทั้งค่าใช้จ่ายทุกอย่างภายในบ้าน รวมถึงแผนการเงินที่จะเตรียมตัวเพื่อรองรับเจ้าตัวน้อยที่จะเกิดขึ้นแน่นอนในอีกไม่นาน เพื่อให้เขาลืมตาออกมาได้สุขสบาย เพราะฉะนั้นเราก็มี “5 เทคนิคสร้างบัญชีครอบครัว” ที่จะช่วยให้เริ่มต้นชีวิตครอบครัวได้อย่างดี
5 เทคนิคสร้างบัญชีครอบครัว ที่จะช่วยให้เริ่มต้นชีวิตครอบครัวได้อย่างดี
ที่เราจะต้องจัดทำประมาณการรายจ่ายในแต่ละเดือน ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายจิปาถะ ว่าแต่ละฝ่ายต้องออกเงินกันคนละเท่าไหร่ หรือใครดูแลส่วนไหน โดยเปิดบัญชีกองกลางขึ้นมาเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
ซึ่งเราควรสำรองเงินเป็นหลักประกันของครอบครัว โดยครอบคลุมค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3 – 6 เดือน เผื่อไว้ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างฉุกเฉิน เช่น ตกงาน เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ซ่อมแซมบ้านหรือรถยนต์ เป็นต้น ทางที่ดีควรเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือกองทุนตลาดเงินซึ่งมีสภาพคล่องสูงสามารถถอนออกมาใช้ได้ภายใน 1 - 2 วัน
เพื่อสร้างความมั่งคงอีกระดับหนึ่ง เราก็ควรจะจัดสรรเงินออมซัก 10% ของเงินเดือน เพื่อมาต่อยอดการสร้างผลตอบแทนให้กับครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ กองทุนรวมต่างๆ หรือหุ้น เพื่อสะสมเงินในระยะยาว
ซึ่งเราควรเริ่มจากคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ข้าวของเครื่องใช้ ค่าอาหารเด็ก ของเล่น พี่เลี้ยงเด็ก รวมถึงค่าใช้จ่ายในการศึกษาในระดับสูงสุดที่ต้องการ โดยเราอาจพิจารณาการออมและการลงทุนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น... เงินฝากประจำ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่ได้รับเงินคืนแน่นอนตามที่กำหนดไว้ หรือหากรับความเสี่ยงได้สูง ก็อาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมหุ้นหรือหุ้น เพื่อสร้างผลตอบแทนรอวันเจ้าตัวน้อยเติบโตขึ้นมา
ถ้าพูดถึงการมีลูก พ่อแม่ทุกคนก็อยากให้ลูกเกิดมาบนครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ และร่ำเรียนสูงๆ ในโรงเรียนที่ดีและมีชื่อเสียง ดังนั้น ในการตั้งเป้าหมายการมีลูกเราควรกำหนดว่า ต้องการมีลูกจำนวนกี่คนและเมื่อไหร่ จะได้วิเคราะห์ดูว่าช่วงไหนที่เราควรจะมีลูก รวมทั้งสำรวจค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องดูว่าตลอดช่วงชีวิตที่ลูกยังอยู่กับเราจนกว่าเขาจะโตพอที่จะดูแลตัวเองได้ ทั้งช่วงก่อนวัยเรียนไปจนถึงช่วงที่เรียนหนังสือ เป็นต้น และควรหมั่นออมเงินอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อในอนาคตจะได้มีทุนสำรองให้ลูกได้เรียนในระดับที่หวัง
ซึ่งบัญชีนี้ ไม่ว่าจะหนุ่มๆ หรือสาวๆ ก็ต้องอยากมีเป็นของตัวเองบ้าง เพราะทุกคนย่อมมีสิ่งที่ตัวเองชอบ มีสิ่งที่อยากได้ จึงควรแยกบัญชีที่ใช้จ่ายในเรื่องส่วนตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้ง ซื้อเครื่องสำอาง หรือปาร์ตี้กับเพื่อนฝูง เป็นต้น
หากเรามีการวางแผนการเงินที่ดี ก็มั่นใจได้ว่า...
เราจะมีครอบครัวที่มีความเข้มแข็งและมั่นคงในระยะยาว เพราะหากเกิดอุบัติเหตุทางการเงินขึ้นในอนาคต คนที่วางแผนการเงินดีก็จะสามารถฟันฟ่าอุปสรรคได้ดีกว่าคนที่ไม่มีการวางแผนการเงินให้กับครอบครัวอย่างแน่นอน