ปัจจัยที่มีผลต่อราคา DW

ราคา DW มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีอัตราทด (Gearing) นักลงทุนจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ

“6 ปัจจัยที่มีผลต่อราคาของ DW” ก่อนเริ่มลงทุน เริ่มจาก... 

1
ราคาของสินค้าอ้างอิง

ราคาสินค้าอ้างอิงจะส่งผลโดยตรงต่อราคาของ DW นั่นเพราะตัวสินค้าอ้างอิงถูกซื้อขายบนกระดาน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคา DW เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าอ้างอิงจะส่งผลต่อราคา DW ทั้งสองประเภท ดังนี้

img-dw-3-01
2
ราคาใช้สิทธิ

ราคาใช้สิทธิ หรือ Exercise Price จะถูกกำหนดก่อนการซื้อขาย DW ตัวนั้นๆ โดยการเลือกราคาใช้สิทธิสูงหรือต่ำ จะส่งผลต่อราคา DW ดังนี้

img-dw-3-02

สาเหตุเนื่องมาจาก... ถ้าเราเลือก Call DW ที่มีราคาใช้สิทธิสูง จะทำให้ Call DW ณ วันหมดอายุมีโอกาสที่ราคาหุ้นอ้างอิงจะต่ำกว่าราคาใช้สิทธิมาก (Out-of-the-Money) และถ้าเราเลือก Put DW ที่ระดับราคาใช้สิทธิสูง จะทำให้ Put DW ณ วันหมดอายุมีโอกาสที่ ราคาหุ้นอ้างอิงจะต่ำกว่าราคาใช้สิทธิมาก (In-the-Money)

แต่โดยทั่วไปราคาใช้สิทธิมักไม่มีผลกระทบต่อราคา DW เนื่องจาก DW แต่ละตัวมีการกำหนดราคาใช้สิทธิเอาไว้อยู่แล้ว กรณีที่เราเลือกรุ่นของ DW ที่ระดับราคาใช้สิทธิใด ราคาใช้สิทธินั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงจนกระทั่ง DW หมดอายุ ยกเว้นกรณีที่สินค้าอ้างอิงนั้นๆ มีการเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิมหรือจ่ายปันผล จึงจะมีการปรับสิทธิของ DW

img-dw-3-03
3
ความผันผวนของราคาสินค้าอ้างอิง
img-dw-3-03

ความผันผวนของราคาสินค้าอ้างอิงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อราคา DW พูดง่ายๆ คือ ยิ่งราคาสินค้าอ้างอิงซิ่งแค่ไหน ราคา DW ก็ยิ่งจะซิ่งแรงกว่ามากเท่านั้น ทั้งในฝั่งของ Call DW หรือ Put DW

ดังนั้น เมื่อความผันผวนของราคาสินค้าอ้างอิงสูงขึ้น ราคาของทั้ง Call DW และ Put DW จะสูงขึ้น เนื่องจากมีโอกาสที่ราคาสินค้าอ้างอิงจะแกว่งขึ้นไปสูงกว่าราคาใช้สิทธิ มีความน่าจะเป็นที่นักลงทุนใน DW จะได้ผลตอบแทนมากกว่า เมื่อเทียบกับสินค้าอ้างอิงที่มีความผันผวนน้อย ดังนั้น ความผันผวนที่สูงขึ้นจะมีผลให้ราคา DW สูงตามไปด้วย ขณะที่ถ้าค่าความผันผวนของราคาสินค้าอ้างอิงลดลง ราคาของ Call DW และ Put DW จะลดลงตามไปด้วย

แต่ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถทราบค่าความผันผวนล่วงหน้าได้ ผู้ออก DW ในบ้านเราจึงคาดการณ์ความผันผวนออกมาเป็นค่า Implied Volatility และใช้ในการกำหนดราคา DWที่จะขาย ซึ่งค่า Implied Volatility นี้จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการป้องกันความเสี่ยงของผู้ออกค่ายนั้นๆ

img-dw-3-04
4
อายุคงเหลือ
img-dw-3-04

เมื่อเป็นเรื่องของสิทธิในการซื้อหรือการขาย แน่นอนว่า... ต้องมีช่วงระยะเวลาโปรโมชัน ไม่สามารถใช้สิทธินั้นได้ตลอดไป DW จึงมีวันหมดอายุ โดยอายุคงเหลือของ DW จะมีผลต่อราคา Call DW และ Put DW ไปในทิศทางเดียวกัน คือ เมื่ออายุคงเหลือลดลง จะส่งผลให้ราคาทั้ง Call DW และ Put DW ปรับตัวลดลง ดังนั้น DW ยิ่งเวลาเหลือเยอะ ก็ยิ่งดี

5
อัตราดอกเบี้ย (Interest)

ในทางทฤษฏีอัตราดอกเบี้ยถือเป็นค่าเสียโอกาส เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น ค่าเสียโอกาสในการซื้อสินค้าอ้างอิงโดยตรงก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น นักลงทุนจึงยินดีจะจ่ายค่าซื้อ Call DW ในราคาแพงขึ้น ทำให้ Call DW มีราคาสูงขึ้น แต่หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวลดลง ราคา Call DW จะลดลงตามไปด้วย ส่วน Put DW จะสวนทางกับ Call DW ... สรุปแล้วอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลต่อราคา DW ดังนี้

img-dw-3-05
6
การจ่ายปันผลของสินค้าอ้างอิง

อย่างที่บอกไปแล้วว่า... ราคาสินค้าอ้างอิงจะส่งผลต่อราคาของ DW ดังนั้น เมื่อมีสินค้าอ้างอิงมีการจ่ายเงินปันผล ราคาสินค้าอ้างอิงจะปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาของ DW ลดลงตามไปด้วย แต่โดยปกติผู้ออก DW จะมีการปรับสิทธิ DW เพื่อให้ราคา DW ไม่เปลี่ยนแปลง หากมีการจ่ายปันผล


ทั้ง 6 ปัจจัยนี้อยู่ในสูตรการคำนวณราคา DW ซึ่งผู้ออกแต่ละค่ายจะมีเครื่องมือช่วยในการคำนวณค่าเหล่านี้ และเปิดเผยให้นักลงทุนทราบอยู่แล้วนักลงทุนอย่างเราไม่ต้องมาคำนวณเองให้ยุ่งยาก

 หน้าที่เราแค่ต้องรู้ว่าแต่ละตัวมันหมายถึงอะไร แบบไหนที่เรียกว่าดี แบบไหนที่เรียกว่าต้องหนีให้ไกล จะได้ไม่โดนใครเค้าหลอก ... แค่นี้ก็พอ