ผลตอบแทนและความเสี่ยงของ DR มีอะไรบ้าง? และคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือเปล่า? เราสามารถพิจารณาได้ดังนี้
ผู้ที่ถือ DR จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเสมือนถือครองหลัก
ทรัพย์ต่างประเทศนั้นๆ โดยตรง โดยแบ่งผลตอบแทนออกเป็น 2 ส่วน
ผู้ที่ถือ DR จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเสมือนถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นๆ โดยตรง โดยแบ่งผลตอบแทนออกเป็น 2 ส่วน
กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่นักลงทุนจะได้รับหากสามารถขาย DR ได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตอนที่ซื้อมา แต่หากทิศทางราคาไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ก็มีโอกาสขาดทุนเช่นกัน
โดยผู้ถือ DR มีโอกาสได้รับเงินปันผลหรือสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เมื่อไหร่ที่หุ้นแม่หรือ ETF ประกาศจ่ายเงินปันผล เราก็จะได้รับเงินปันผลเช่นเดียวกัน แต่ก็มีเงื่อนไขเล็กน้อย คือ เงินปันผลที่เราจะได้รับนั้น จะถูกหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามที่ระบุไว้ในสัญญารับฝาก (ถ้ามี) เราจึงต้องศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ให้ชัดเจน จะได้ไม่พลาดเมื่อคิดจะเริ่มลงทุน DR
ขึ้นชื่อว่าการลงทุนแล้ว ย่อมต้องมีเรื่อง “ความเสี่ยง” ให้ต้องคอยระวัง ซึ่งความเสี่ยงของ DR ก็เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น ที่บางครั้งเราอาจจะคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคตผิด ทำให้เราขาดทุนจากราคาตลาดที่ลดต่ำลงมากว่าต้นทุนราคาที่เข้าซื้อ
และถึงแม้ว่าการลงทุนใน DR นักลงทุนจะทำการซื้อขายโดยใช้เงินสกุลบาท แต่โดยทั่วไปแล้ว ราคา DR ควรจะใกล้เคียงกับราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ปรับค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจาก 1 DR เทียบเท่ากับหุ้นต่างประเทศ 1 หุ้น หรือ ETF ต่างประเทศ 1 หน่วย นักลงทุนจึงต้องพิจารณาถึง “ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน” ควบคู่ไปกับการติดตามราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบในการลงทุน DR
ทั้งนี้ ราคา DR อาจจะแตกต่างจากราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการซื้อและความต้องการขาย (Demand & Supply) ของ DR ในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงสภาวะแวดล้อมภายในประเทศอื่นๆ อีกด้วย
ด้วยการกระจายสัดส่วนการลงทุนไปยังต่างประเทศมากขึ้น แถมยังสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น ข้อดีเยอะแบบนี้ คงต้องมีติดพอร์ตไว้บ้างแล้ว