3 เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุนใน DR

แม้ DR จะมีลักษณะคล้ายหุ้น แต่ก็มีข้อแตกต่างในบางเรื่องที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม เช่น หลักทรัพย์ที่สามารถนำมาออกเป็น DR ได้ ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และการส่งคำสั่งซื้อขาย เป็นต้น การทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจลงทุนได้ดียิ่งขึ้น

หลักทรัพย์ที่สามารถนำมาออกเป็น DR ได้

img-dr-13
img-checkหุ้นหรือหน่วยลงทุน
หุ้นหรือหน่วยลงทุน เช่น ETF, REIT, Infra Fund, Infra Trust ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ ก.ล.ต. ยอมรับ
  
img-checkหุ้นที่มีการซื้อขายในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
โดยหุ้นดังกล่าวต้องมีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง 15 วันทำการไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท

ค่าธรรมเนียม

ในการซื้อขาย DR จะมีตัวกลางที่เราเรียกว่า “Market Maker” ซึ่งเป็นผู้ที่นำคำสั่งซื้อจากนักลงทุนที่เข้าซื้อ DR ไปดำเนินการซื้อหุ้นในต่างประเทศ ดังนั้น DR จึงมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

img-dr-14

ค่าธรรมเนียมซื้อขายหรือค่าคอมมิชชั่น

เหมือนกับการซื้อขายหุ้นทั่วไป

img-dr-15

ค่าธรรมเนียมที่ผู้ออกอาจเรียกเก็บ

ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่จ่ายสิทธิประโยชน์ เช่น เงินปันผล หรือ เก็บตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญารับฝาก DR ดังนั้น เราต้องอ่านและศึกษาข้อมูลอย่างรอบครอบก่อนที่จะซื้อ DR


วิธีการและเงื่อนไขการส่งคำสั่งซื้อขาย DR

img-dr-16
img-checkส่งคำสั่งซื้อขายเหมือนหุ้น โดยจะได้จับคู่คำสั่งซื้อขายตามหลัก Price Then Time Priority
img-checkราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุดในแต่ละวัน ไม่เกิน 30 % ของราคาปิดวันทำการก่อนหน้า
img-checkหน่วยการซื้อขายขั้นต่ำ 1 Board Lot เท่ากับ 1 DR
img-checkช่วงราคาซื้อขาย (Tick Size) เหมือนหุ้นสามัญ