แม้เราจะเป็นมือเก๋าในตลาดหุ้น แต่เมื่ออยากเข้ามาลองลงทุนตลาด TFEX อาจต้องเริ่มเรียนรู้กันใหม่ เพราะมีหลายสิ่งที่แตกต่างกับการลงทุนในตลาดหุ้นอย่างสิ้นเชิง
อย่างเรื่องบัญชีซื้อขายอนุพันธ์ นักลงทุนรู้หรือไม่... ว่าเราไม่สามารถใช้บัญชีหุ้นในการซื้อขายอนุพันธ์ได้ แต่ต้อง “เปิดบัญชีซื้อขายอนุพันธ์” กับบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ที่เป็นบริษัทสมาชิกของ TFEX
นอกจากนั้น เราต้องเตรียมเงินประกันให้พร้อม โดยกรณีซื้อหรือขายฟิวเจอร์สต้องวางเงินส่วนหนึ่งก่อนจะส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งเราเรียกว่า “เงินหลักประกันขั้นต้น” (Initial Margin) โดยโบรกเกอร์จะเป็นผู้กำหนดว่านักลงทุนจะต้องวางหลักประกันขั้นต้นเป็นจำนวนเท่าไร
ส่วนการซื้อขายออปชัน ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องวางเงินประกันขั้นต่ำก่อนซื้อ เพราะผู้ซื้อสามารถจำกัดผลขาดทุนได้ จึงไม่มีความเสี่ยงว่าจะผิดสัญญา แต่ในฝั่งของผู้ขายถือว่ามีความเสี่ยงที่จะผิดสัญญา เพราะหากผู้ซื้อขอใช้สิทธิเมื่อไหร่ ผู้ขายต้องยอมจำใจให้ผู้ซื้อใช้สิทธิ ซึ่งผู้ขายจะขาดทุน ทำให้ผู้ขายออปชันมีแนวโน้มที่จะไม่ทำตามสัญญามากกว่าผู้ซื้อ ดังนั้น ผู้ขายออปชันจึงต้องวางเงินประกันขั้นต้นก่อนการขายในระดับที่โบรกเกอร์กำหนด
จากนั้นก่อนส่งคำสั่งซื้อหรือขาย เราต้องทราบว่า...
ต้องการ “ซื้อ” หรือ “ขาย” อนุพันธ์ “ประเภทใด” | |
ต้องการซื้อหรือขายสัญญาที่สิ้นสุดอายุ “เดือนไหน” | |
ต้องการซื้อหรือขายสัญญาที่สิ้นสุดอายุ “เดือนไหน” | |
ต้องการซื้อหรือขายที่ “ราคา” เท่าใด | |
ต้องการซื้อหรือขาย “จำนวน” กี่สัญญา |
การส่งคำสั่งซื้อขาย เราต้องคาดการณ์ราคาสินค้าอ้างอิงว่าจะมีแนวโน้มทิศทางราคาแบบไหน ดังนั้น นักลงทุนจะต้องเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจการลงทุนต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอ้างอิงนั้นได้ เพื่อให้สามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ ควรวิเคราะห์ด้วยว่าทิศทางดังกล่าวจะมีความผันผวน มากน้อยแค่ไหน และจะเกิดขึ้นในระยะเวลาใด จะได้มีทางหนีทีไล่ได้ทันเวลา
เมื่อส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบซื้อขายของ TFEX แล้ว ระบบจะทำการจับคู่คำสั่งซื้อขายและจะยืนยันรายการซื้อขายให้โบรกเกอร์ทราบ โบรกเกอร์จะคำนวณเงินกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันทำการ (Mark to Market) จนกว่านักลงทุนจะปิดสถานะ โดยคำนวณจาก “ราคาที่ใช้ชำระราคาประจำวัน” (Daily Settlement Price) ซึ่งจะทำให้เงินประกันเพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกวัน
สมมติว่าปัจจุบัน คือ วันที่ 2 พ.ค. 6X ผู้ลงทุนซื้อ SET50 Futures
ที่ครบกำหนดเดือน ส.ค. 6X จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 1,000 จุด (IM = 10,000 บาท MM = 7,000 บาท)
สมมติว่าปัจจุบัน คือ วันที่ 2 พ.ค. 6X ผู้ลงทุนซื้อ SET50 Futures ที่ครบกำหนดเดือน ส.ค. 6X จำนวน 1 สัญญา ที่ราคา 1,000 จุด (IM = 10,000 บาท MM = 7,000 บาท)
หากเงินประกันลดลงจนต่ำกว่าระดับ
“หลักประกันรักษาสภาพ”
โบรกเกอร์จะ “เรียกเก็บเงินประกันเพิ่มขึ้น” (Margin Call) ให้เท่ากับ “เงินประกันขั้นต้น” (Initial Margin) แต่หากนักลงทุนไม่สามารถวางเงินประกันได้ทันตามเวลาที่กำหนด โบรกเกอร์ก็จะปิดสถานะของนักลงทุนทันที (Force Sell)
เมื่อราคาที่เราถือสถานะอยู่ถึงระดับที่เราพอใจ หรือมีผลขาดทุนจนไม่สามารถยอมรับได้และไม่สามารถวางเงินประกันเพิ่มเติมได้แล้ว นักลงทุนสามารถ “ปิดสถานะ” (Offset Position) ก่อนที่สัญญาจะหมดอายุ ด้วยการซื้อหรือขายสัญญาเดิมในทิศทางตรงกันข้าม เช่น นักลงทุนถือสถานะ Long อยู่ ให้เปิดสถานะ Short ในซีรีย์เดียวกัน ก็จะสามารถปิดสถานะนั้นได้ทันที
การซื้อขายอนุพันธ์จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักลงทุนที่เข้าใจหลักการตัดสินใจลงทุน และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ดังนั้น นักลงทุนจึงควรจะศึกษาและทำความเข้าใจอนุพันธ์แต่ละประเภทให้ดีก่อนเริ่มลงทุน พร้อมพิจารณาสถานะทางการเงินของตนเองว่ามั่นคงเพียงพอสำหรับรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด และเลือกกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เพียงเท่านี้... อนุพันธ์ก็จะช่วยสร้างกำไรให้เราในทุกสภาวะตลาดได้แล้ว