Checklist 6 เรื่องต้องรู้ สำหรับมือใหม่

ก่อนที่เราจะก้าวสู่สนามการลงทุน ขอแนะนำให้เช็คความพร้อมของตัวเองด้วย 6 ทริคง่ายๆ ที่นักลงทุนมือใหม่อย่างเราๆ ต้องเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ความฝันการมีเงิน 1 ล้านบาทได้เร็วขึ้น ทั้งการรู้จักตนเอง รู้จักทางเลือกลงทุน วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและเทคนิค สร้างพอร์ตและจัดทำคัมภีร์ลงทุน ลงมือทำตามแผน และติดตามและทบทวนแผนการลงทุนสม่ำเสมอ

img-newinvest-1
1
รู้จักตนเอง
img-newinvest-1

สำหรับคนที่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง จับต้นชนปลายไม่ถูก เราลองมาเริ่มจาก “รู้จักตัวเอง” ให้ลึกซึ้งขึ้น ลองถามตัวเองว่า... เรามี เป้าหมายการลงทุนอะไร? ต้องการใช้เงินมากน้อยแค่ไหน? และ ต้องการบรรลุเป้าหมายเมื่อไหร่?

จากนั้นก็ค่อยพิจารณา เงื่อนไขการลงทุนว่าเราอายุเท่าไหร่ ชอบ สนใจ ถนัด สินทรัพย์ประเภทไหน มีประสบการณ์ลงทุนมั้ย มีเงินลงทุนมากน้อยแค่ไหน ต้องการผลตอบแทนรูปแบบใด เท่าไหร่ มีเวลาติดตามข่าวสารด้านการลงทุนมั้ย และที่สำคัญ... เมื่อมันขาดทุน เราจะยอมรับได้มากน้อยแค่ไหน แต่หากได้กำไร จะเพิ่มวงเงินลงทุนหรือไม่ 

img-risk
bt-risk

ประเด็นสำคัญ คือ ต้องรู้ตัวว่าเรา “ยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน?  เพราะจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีว่าทางเลือกลงทุนแบบไหนและสัดส่วนการลงทุนแบบใดที่จะเหมาะกับเรามากที่สุด เช่น ถ้ารับความเสี่ยงได้ต่ำ (Conservative) แสดงว่ายอมรับความผันผวนได้น้อย หรือแทบจะไม่ได้เลย ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่จึงมุ่งไปที่การพยายามรักษาเงินลงทุนให้ปลอดภัยที่สุด

แต่หากรับความเสี่ยงได้ปานกลาง (Moderate) แสดงว่ายอมรับความผันผวนได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนเกินไปเพื่อแลกกับการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ขณะที่หากรับความเสี่ยงได้สูง (Aggressive) แสดงว่าไม่กังวลกับความผันผวน เพราะหวังจะได้รับผลตอบแทนที่สูง รวมถึงโอกาสที่เงินลงทุนจะเติบโตด้วย
 

img-risk
bt-risk
2
รู้จักทางเลือกลงทุน

เมื่อเราเริ่มรู้จักตัวเองมากขึ้น ก็ต้องทำความรู้จักกับสิ่งที่เราจะลงทุนด้วย เพราะนอกจาก “เงินฝากธนาคาร” ก็ยังมีอีกหลายทางเลือกมาก แต่เพื่อไม่ให้ปวดหัวจนเกินไป เรายังไม่ต้องทำความรู้จักกับทางเลือกทั้งหมดของโลกในตอนนี้ก็ได้ แค่ตั้งต้นจากทางเลือกลงทุนหลัก 6 ประเภท ดังนี้ 

img-newinvest-op-1
img-newinvest-op-6
img-newinvest-op-4
img-newinvest-op-2
img-newinvest-op-3
img-newinvest-op-3
img-newinvest-op-5
img-newinvest-3
3
วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและเทคนิค
img-newinvest-3

ไม่ว่าเราจะลงทุนในทางเลือกลงทุนหรือสินทรัพย์อะไรก็ตาม เราก็ควรเข้าใจ ปัจจัยพื้นฐาน”  ที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะราคาจะขึ้นลงตามปัจจัยที่มากระทบ ซึ่งเราสามารถใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมากำหนดกรอบการลงทุนให้แคบลง ด้วยวิธีง่ายๆ คือ ดูภาพรวมเศรษฐกิจว่าปัจจุบันเป็นอย่างไรและมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตหรือไม่ จะส่งผลกระทบกับแต่ละสินทรัพย์หรือแต่ละอุตสาหกรรมในเชิงบวกหรือเชิงลบอย่างไร เพื่อค้นหาสินทรัพย์ที่น่าสนใจลงทุน เราจะได้มาวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของสินทรัพย์นั้นๆ ว่า ถ้าเราลงทุนไปแล้ว มีโอกาสจะได้กำไรในอนาคตหรือไม่นั่นเอง

หลังจากค้นพบสินทรัพย์ที่น่าสนใจลงทุนแล้ว ก็ต้องนำราคาตลาดของสินทรัพย์ดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์นั้น เพื่อดูว่า... ราคาสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น หรือ ราคาต่ำเหมาะสมที่จะลงทุน และใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ “ปัจจัยเทคนิค” เป็นตัวช่วยกำหนดจุดซื้อ-จุดขาย เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการลงทุน 

4
สร้างพอร์ตและจัดทำคัมภีร์ลงทุน
img-newinvest-4
bt-port

ถึงแม้เราเริ่มรู้จักทางเลือกลงทุนและรู้จักวิธีวิเคราะห์มากขึ้น ก็อย่าเพิ่งใจร้อนรีบลงทุนเลย เพราะการลงทุนที่ดี และประสบความสำเร็จจะต้องมี “การสร้างพอร์ตลงทุนที่เหมาะกับตนเอง” ซึ่งพอร์ตการลงทุนที่ดีนั้น ต้องกระจายความเสี่ยงได้อย่างสมดุล ไม่ใช้เงินจำนวนมากลงทุนในสินทรัพย์เดียวจนหมด แต่ก็ต้องไม่หลากหลายหรือกระจายจนเกินไป เพราะจะทำให้เราติดตามดูแลยาก 

รวมทั้ง ต้องมีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแผนลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์ได้ และ มีสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะกับเป้าหมาย โดยเราอาจแยกพอร์ตลงทุนตามเป้าหมาย เพื่อจะได้กำหนดสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระดับอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนนั้นๆ 

เมื่อมีแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนที่แน่นอนแล้ว อย่าลืม... เขียนคัมภีร์การลงทุนหรือ “นโยบายการลงทุน” ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับใช้เป็นกรอบในการตัดสินใจลงทุนด้วย ซึ่งควรปรับปรุงนโยบายการลงทุนให้เป็นปัจจุบันเสมอ

img-newinvest-4
bt-port
img-newinvest-6
bt-trade
5
ลงมือทำตามแผน
img-newinvest-6
bt-trade

และแล้วก็มาถึงช่วงเวลาที่เรารอคอย อันดับแรกเลยเราก็ต้อง “เปิดบัญชี” เพื่อใช้ในการซื้อหรือขายก่อน ซึ่งกรณีลงทุนหุ้น ETF ตราสารหนี้ DW หรืออนุพันธ์ ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “โบรกเกอร์” ส่วนการลงทุนในกองทุนรวม การเปิดบัญชีครั้งแรก ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละแห่ง หรือตัวแทนขายของ บลจ. แต่ครั้งถัดๆ ไป ก็จะซื้อขายสะดวกมากขึ้น เพราะซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้เลย

“แล้วจำนวนเงินลงทุนเริ่มต้นล่ะ... ต้องมีเท่าไหร่” 

อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับราคาและจำนวนของหุ้นที่เราต้องการลงทุน เช่น อยากได้หุ้นราคา 5 บาท โดยปกติแล้วต้องซื้อขั้นต่ำ 1 Board Lot หรือ 100 หุ้น ก็เท่ากับเราต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 500 บาท แต่ยังมีค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่เราต้องจ่ายให้กับโบรกเกอร์ด้วย หรือถ้าอยากทุนในกองทุนรวม ปัจจุบันเงินลงทุนขั้นต่ำในการซื้อกองทุนรวมน้อยมาก บางกองไม่มีขั้นต่ำในการลงทุนเลยด้วยซ้ำ นั่นหมายความว่า 1 บาทก็เริ่มต้นได้แล้ว แต่ถ้าจะให้ชัวร์อาจสอบถามจาก บลจ. ดูอีกทีก็ได้

6
ติดตามและทบทวนแผนการลงทุนสม่ำเสมอ
img-newinvest-8

เมื่อเริ่มลงทุนไปแล้ว เราต้องขยันเข้ามาติดตามผลกันหน่อยนะ อาจจะทุก 6 เดือน หรือ 1 ปีก็ได้ แล้วแต่ความสะดวก โดยดูว่าผลตอบแทนที่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้แล้วหรือยัง หากไม่ เราก็จะได้ “ปรับพอร์ตการลงทุน ได้ทันเวลาอันสมควรด้วย

img-newinvest-8