3 เคล็ดลับสร้างพอร์ต ถอดรหัสเซียนหุ้น

การลงทุนในตลาดหุ้นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เพราะตลาดหุ้นนั้นมีปัจจัยที่เข้ามากระทบมากมาย ทั้งเรื่องราวของเศรษฐกิจโลกที่จะเข้ามากระทบกับบริษัท ทำให้ราคาพร้อมจะผันผวนตลอดเวลา ไม่นับปัจจัยเฉพาะตัว ที่บางบริษัทแข็งแกร่งฝ่าความผันผวนได้อย่างสบาย ในขณะที่บางบริษัทไม่แข็งแรงพอก็จะล้มพับไปได้ง่ายๆ

มือใหม่ที่อยากที่ประสบความสำเร็จในการลงทุน ก็ต้องทำการบ้านมากขึ้น แต่จริงๆ แล้วมีเคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยผ่อนแรงเราได้เยอะ ก็คือ ลองเริ่มต้นจากการศึกษาแนวทาง หรือประสบการณ์ของนักลงทุนมือเก๋าที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี จนประสบความสำเร็จได้อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ ซึ่งเราสามารถเรียนรู้จุดเด่นและจุดผิดพลาดจากประสบการณ์ของ พวกเขา เพื่อปรับมาใช้กับการลงทุนของเราในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น

โดยหากเราลองถอดรหัสดูก็จะพบ 3 วิธีที่เหล่าเซียนลงทุนมักจะมีเหมือนกัน ก็คือ
ic-checkการค้นพบสไตล์การลงทุนที่ใช่
ic-checkลงทุนในเวลาที่เหมาะสม
ic-checkหมั่นทบทวนแผนการลงทุนสม่ำเสมอ
img-newinvest-9
1
ค้นหาสไตล์ลงทุนที่เหมาะกับเรา

สไตล์การลงทุนของแต่ละบุคคลนั้นต่างกัน เพราะอุปนิสัยและการใช้ชีวิตของทุกคนไม่เหมือนกัน ความเชี่ยวชาญก็ไม่เท่ากัน ดังนั้น การค้นหารูปแบบการลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นักลงทุนชื่อดังหลายคนต่างค้นพบสไตล์การลงทุนที่เข้ากับตัวเอง 

อย่างคุณปู่วอเร็น บัฟเฟตต์ ปรมาจารย์การลงทุนแห่งยุคสมัย ต้นแบบการลงทุนตามแนวคิด “การลงทุนเน้นคุณค่า” (Value Investing) จนประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน พบว่าการปรับการลงทุนที่เหมาะกับตัวเองจะทำให้เราไม่เบื่อและมีโฟกัสที่ชัดเจนมากขึ้น สร้างความหลงไหลในการลงทุนได้ง่าย ทำให้เราไม่รู้สึกขัดแย้งกับสิ่งที่ชื่นชอบและทำได้นาน อีกทั้งการมีโฟกัสที่ชัดเจน จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จจากการลงทุนได้ด้วย

2
ซื้อหุ้นที่ใช่ ในจังหวะที่เหมาะ

แค่รู้สไตล์การลงทุนที่เหมาะสมแบบรู้ลึกรู้จริงแล้ว ก็ยังไม่พอ เรายังต้องรอจังหวะที่เหมาะสมด้วย เพราะแม้ว่าเราจะเรียนรู้วิธีการลงทุนจากอาจารย์ที่เก่งเพียงใด แต่หากมองสถานการณ์การลงทุนไม่ออกก็ไม่มีประโยชน์ ยกตัวอย่างการลงทุนแบบนักลงทุนที่เน้นคุณค่า ทั้งวอเร็น บัฟเฟตต์ หรือแม้แต่ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ก็เลือกที่จะรอคอยจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม 

ดร.นิเวศ เริ่มลงทุนด้วยเงินทุน 10 ล้านบาท ในช่วงปี 2540 โดยเห็นโอกาสที่หุ้นบางตัวมีราคาลดลงมาเยอะมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ค่อยได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเพราะกำไรและเงินปันผลไม่ได้ลดลง ดร.นิเวศน์ จึงกำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อหุ้นในขณะนั้น ดังนี้

img-newinvest-10

การเลือกหุ้นแบบนี้ ทำให้ได้หุ้นที่มีความเสี่ยงเฉพาะตัวลดลงมาก 

และเมื่อรวมกันเป็นพอร์ตลงทุน ความเสี่ยงของพอร์ตก็ต่ำ เงินปันผลที่ได้รับก็สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ถ้ายังไม่ขายหุ้นออกไป แม้ไม่ทำงานประจำก็น่าจะพออยู่ได้จากรายได้เงินปันผล และเมื่อเศรษฐกิจกลับมาดี หุ้นเหล่านี้ก็น่าจะมีราคาสูงขึ้นในภายหลัง 


หรือหากเป็นนักลงทุนแนวเทคนิค ก็จะสนใจพฤติกรรมราคาของหุ้น โดยเฉพาะกราฟราคาหุ้น (Chart) โดยจะอาศัยข้อมูลราคาหุ้นในอดีต ปริมาณการซื้อขาย พร้อมทั้งใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคและอินดิเคเตอร์ (Indicator) ต่างๆ ในการทำนายทิศทางราคาหุ้น โดยต้องประเมินสถานการณ์และเลือกรูปแบบการซื้อขาย ที่เหมาะสม ในแต่ละช่วงของภาวะตลาด เพื่อกำหนดจุดเข้าซื้อและจุดขายออกอย่างมีวินัย ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสการลงทุนที่ดีได้

3
ทบทวนแผนลงทุนสม่ำเสมอ

เมื่อตั้งต้นด้วยแผนการลงทุนที่ดีแล้ว แต่เราก็จะปล่อยทิ้งๆ ขว้างๆ ไม่ได้ ต้องหมั่น “ทบทวนแผนการลงทุน อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนที่เราเคยใช้ในอดีต อาจใช้ไม่ได้ในภาวะปัจจุบัน 

แต่ไม่ว่าผลตอบแทนพอร์ตลงทุนของเราจะเป็นบวกหรือลบ ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจว่า ตัวเองไม่เก่ง หรือตัดสินใจเลือกหลักทรัพย์ผิดพลาดไป เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องดูอีกด้วย วิธีการหนึ่งที่จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า... คุณมีฝีมือ พอใช้ได้หรือไม่นั้น ต้องเปรียบเทียบกับ “เกณฑ์มาตรฐาน” หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “Benchmark” นั่นเอง

ดังนั้น การพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบก่อนลงทุนและทบทวนแผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนและช่วยลดความวิตกกังวลในการลงทุนลงได้ ทีนี้ก็เหลือแค่... เราต้องหมั่นค้นหาบริษัทหรือการลงทุนใหม่ๆ ด้วย เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสการลงทุนที่เกิดขึ้นตลอดเวลา